สุดยอดวิศวกรรมน่าทึ่ง ตอน สะพานมีโย

ออกอากาศ18 มี.ค. 64

IMPOSSIBLE ENGINEERING: MILLAU VIADUCT

สะพานมีโยทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เป็นสะพานที่สูงที่สุดในโลก ทอดข้ามหุบเขาตาร์น ซึ่งลึกเป็นอันดับต้น ๆ ของยุโรป ด้วยความสูง 340 เมตร ทำให้สูงกว่าหอไอเฟลเกือบ 50 เมตร และเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ด้วยความที่ทอดข้ามหุบเหวลึก ทางรถวิ่งยาว 2 กิโลเมตรครึ่งทำให้มันเป็นสะพานขึงสายเคเบิลที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในโลก งานวิศวกรรมชิ้นเอกที่เปิดใช้ในปี 2004 นี้เป็นการเชื่อมต่อของเส้นทางถนนสายสำคัญระหว่างปารีสและชายฝั่งเมดิเตอเรเนียน

แต่การสร้างสะพานข้ามปากเหวของหุบเขาคดเคี้ยวที่เกิดจากแม่น้ำ บนความสูงที่ลมแรงเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเกือบตลอดเวลา เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ ไม่สามารถลองทำได้เลยถ้าไม่มีงานของวิศวกรผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต

ผู้เชี่ยวชาญของเราจะตามไปดูงานของ “บิดาแห่งวิศวกรรมโยธา” John Smeaton สูตรปูนขาวแข็งตัวในน้ำที่ใช้เป็นปูนฉาบประภาคารเอ็ดดี้สโตนในปี 1749 เป็นบรรพบุรุษของซีเมนต์ยุคใหม่ เราจะไปเยือนสะพานเซอร์กิลเบิร์ต โรเบิร์ต เซเวิร์น และพื้นถนนแอโรไดนามิกล้ำยุคที่ปฏิวัติการออกแบบสะพาน และไปศึกษานักเคมี Roy Plunket ผู้ค้นพบเทฟลอนในทศวรรษที่ 1950 ทำให้เกิดวัตถุไร้แรงเสียดทานในทางวิศวกรรม

ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 22.30 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

IMPOSSIBLE ENGINEERING: MILLAU VIADUCT

สะพานมีโยทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เป็นสะพานที่สูงที่สุดในโลก ทอดข้ามหุบเขาตาร์น ซึ่งลึกเป็นอันดับต้น ๆ ของยุโรป ด้วยความสูง 340 เมตร ทำให้สูงกว่าหอไอเฟลเกือบ 50 เมตร และเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ด้วยความที่ทอดข้ามหุบเหวลึก ทางรถวิ่งยาว 2 กิโลเมตรครึ่งทำให้มันเป็นสะพานขึงสายเคเบิลที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในโลก งานวิศวกรรมชิ้นเอกที่เปิดใช้ในปี 2004 นี้เป็นการเชื่อมต่อของเส้นทางถนนสายสำคัญระหว่างปารีสและชายฝั่งเมดิเตอเรเนียน

แต่การสร้างสะพานข้ามปากเหวของหุบเขาคดเคี้ยวที่เกิดจากแม่น้ำ บนความสูงที่ลมแรงเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเกือบตลอดเวลา เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ ไม่สามารถลองทำได้เลยถ้าไม่มีงานของวิศวกรผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต

ผู้เชี่ยวชาญของเราจะตามไปดูงานของ “บิดาแห่งวิศวกรรมโยธา” John Smeaton สูตรปูนขาวแข็งตัวในน้ำที่ใช้เป็นปูนฉาบประภาคารเอ็ดดี้สโตนในปี 1749 เป็นบรรพบุรุษของซีเมนต์ยุคใหม่ เราจะไปเยือนสะพานเซอร์กิลเบิร์ต โรเบิร์ต เซเวิร์น และพื้นถนนแอโรไดนามิกล้ำยุคที่ปฏิวัติการออกแบบสะพาน และไปศึกษานักเคมี Roy Plunket ผู้ค้นพบเทฟลอนในทศวรรษที่ 1950 ทำให้เกิดวัตถุไร้แรงเสียดทานในทางวิศวกรรม

ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 22.30 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย