ปี 2561 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้สำรวจข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ และพบข้อมูลว่ามีการนำเสนอข่าวการกระทำความรุนแรงจำนวน 623 ข่าว โดยนำเสนอข่าว "การฆาตกรรม" สูงเป็นอันดับหนึ่ง มีจำนวนมากถึง 384 ข่าว หรือ พูดง่าย ๆ ว่า "ข่าวฆาตกรรม" จะเกิดขึ้นเฉลี่ยวันละ 1 ข่าว นอกจากนี้งานวิจัยของคุณศิรัฐประภากรณ์ รัตนพานิช เรื่อง "กฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อมวลชนในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต" ศึกษาพบว่าสื่อมวลชนเน้นการนำเสนอ "ข่าวอาชญากรรม" ที่บอกรายละเอียดขั้นตอนของการประกอบอาชญากรรมแบบเจาะลึก เน้นการเปิดเผยโฉมหน้าของผู้กระทำผิดให้สาธารณชนได้รับรู้มากที่สุด นอกจากนี้ยังใช้ภาษาที่น่าตื่นเต้น ชวนให้ติดตาม ใน 365 วัน เรามีโอกาสรับรู้ข่าวอาชญากรรมลักษณะนี้อย่างน้อย 1 ข่าว และถ้าหากเราติดตามข่าวร้ายเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ๆ จะส่งผลต่อตัวเราหรือไม่ ไปรู้เท่าทันเรื่องนี้จากโฆษกกรมสุขภาพจิตด้วยกัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
ปี 2561 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้สำรวจข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ และพบข้อมูลว่ามีการนำเสนอข่าวการกระทำความรุนแรงจำนวน 623 ข่าว โดยนำเสนอข่าว "การฆาตกรรม" สูงเป็นอันดับหนึ่ง มีจำนวนมากถึง 384 ข่าว หรือ พูดง่าย ๆ ว่า "ข่าวฆาตกรรม" จะเกิดขึ้นเฉลี่ยวันละ 1 ข่าว นอกจากนี้งานวิจัยของคุณศิรัฐประภากรณ์ รัตนพานิช เรื่อง "กฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อมวลชนในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต" ศึกษาพบว่าสื่อมวลชนเน้นการนำเสนอ "ข่าวอาชญากรรม" ที่บอกรายละเอียดขั้นตอนของการประกอบอาชญากรรมแบบเจาะลึก เน้นการเปิดเผยโฉมหน้าของผู้กระทำผิดให้สาธารณชนได้รับรู้มากที่สุด นอกจากนี้ยังใช้ภาษาที่น่าตื่นเต้น ชวนให้ติดตาม ใน 365 วัน เรามีโอกาสรับรู้ข่าวอาชญากรรมลักษณะนี้อย่างน้อย 1 ข่าว และถ้าหากเราติดตามข่าวร้ายเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ๆ จะส่งผลต่อตัวเราหรือไม่ ไปรู้เท่าทันเรื่องนี้จากโฆษกกรมสุขภาพจิตด้วยกัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS