ไข้ป่วงเป็นโรคที่คนไทยรู้จักมาตั้งแต่อดีต โดยคำว่า "ป่วง" เป็นภาษาท้องถิ่นที่แปลว่า ท้องเสียหรือท้องเดิน อาการของโรคนี้คือมีอาการอืด มีลมขึ้นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน และทรมานมาก ถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงหรือเป็นเวลานานอาจถึงแก่ชีวิตได้
ในประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของไข้ป่วงครั้งใหญ่ สาเหตุสำคัญมาจากการที่ผู้คนในสมัยนั้นใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่สุกเพียงพอ ทำให้ได้รับเชื้อโรคและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การรักษาโรคไข้ป่วงในสมัยโบราณปรากฏในตำราสมุนไพรพื้นบ้านหลายแห่ง เช่น ตำราที่วัดพระเชตุพน วัดราชโอรส และตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 หนึ่งในวิธีการรักษาคือการใช้ใบขี้เหล็กผสมกับปูนและน้ำสำหรับดื่ม เป็นการรักษาแบบพื้นบ้านก่อนที่การแพทย์แผนตะวันตกจะเข้ามาในประเทศไทย
????ชม #ละคร #หม่อมเป็ดสวรรค์ อีกครั้งทาง www.VIPA.me และ www.thaipbs.or.th/MhomPedSawan
ไข้ป่วงเป็นโรคที่คนไทยรู้จักมาตั้งแต่อดีต โดยคำว่า "ป่วง" เป็นภาษาท้องถิ่นที่แปลว่า ท้องเสียหรือท้องเดิน อาการของโรคนี้คือมีอาการอืด มีลมขึ้นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน และทรมานมาก ถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงหรือเป็นเวลานานอาจถึงแก่ชีวิตได้
ในประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของไข้ป่วงครั้งใหญ่ สาเหตุสำคัญมาจากการที่ผู้คนในสมัยนั้นใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่สุกเพียงพอ ทำให้ได้รับเชื้อโรคและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การรักษาโรคไข้ป่วงในสมัยโบราณปรากฏในตำราสมุนไพรพื้นบ้านหลายแห่ง เช่น ตำราที่วัดพระเชตุพน วัดราชโอรส และตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 หนึ่งในวิธีการรักษาคือการใช้ใบขี้เหล็กผสมกับปูนและน้ำสำหรับดื่ม เป็นการรักษาแบบพื้นบ้านก่อนที่การแพทย์แผนตะวันตกจะเข้ามาในประเทศไทย
????ชม #ละคร #หม่อมเป็ดสวรรค์ อีกครั้งทาง www.VIPA.me และ www.thaipbs.or.th/MhomPedSawan