เมื่อปี 1980 มีชาวฝรั่งเศส นามว่าโปล เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) พาทีมนักผจญภัยมายังตะวันตกของประเทศจีน ณ ถ้ำมั่วเกาแห่งตุนหวง ดินแดนแห่งความฝันของเหล่านักแสวงโชค พวกเขาได้บันทึก ภาพถ่ายล้ำค่า เป็นภาพโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมกว่าหกพันหกร้อยชิ้น ที่ถูกฉกฉวยจากตุนหวง กลับมายังยุโรปพร้อมกับเขา
36 ปี ต่อมาในช่วงฤดูร้อน ภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำอุโมงค์เริ่มหลุดร่อน ภาพจิตรกรรมฝาผนังรัชสมัยถังตอนต้น ที่พรางตัวอยู่ข้างหลัง ได้ฉายแสงอีกครั้ง คูหานี้ถูกตีทะเบียนลำดับ 220 เป็นตัวแทนคัมภีร์เครื่องดนตรีแห่งตุนหวง เผยโลกดนตรีที่ยิ่งใหญ่ตระการตาเมื่อพันปี ลักษณะภาพของ เครื่องดนตรีมีความเก่าแก่ สืบทอดมาเป็น 10 รัชสมัย ยาวนานนับพันปี ได้เก็บรักษาศิลปดนตรีจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกเอาไว้
ปี 1980 เป็นต้นมาภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำมั่วเกาแห่งตุนหวง ได้ถูกค้นคว้าและวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญ จนเกิดโครงการ นำเครื่องดนตรีจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง มาทดลองประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีจริง เพราะภาพเครื่องดนตรีโบราณที่ปรากฏเหล่านั้น มีชนิด จำนวน มากมายหลากหลายกว่าที่ถ่ายทอดมา ในปัจจุบัน
ในปี 1992 สถาบันวิจัยตุนหวงได้เริ่มนำเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ชุดแรกก็ออกมา แต่ยังไม่ดีพอซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมากจนถึงฤดูใบไม้ร่วงในปี 2018 งานมหกรรมเส้นทางสายไหมวัฒนธรรม ตุนหวงครั้งที่ 3 ได้เปิดฉากขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมหาศาลจากทุกแวดวงในสังคม เครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์จากจิตรกรรมฝาผนังตุนหวงรุ่นที่ 4 จึงได้ถูกจัดแสดงอีกครั้ง ครอบคลุมดีด สี ตี เป่าทั้ง 4 ประเภท
ซึ่งในตอนนี้ จะอธิบายถึงประวัติความเป็นมาและขั้นตอนการผลิต เครื่องดนตรี ประเภท เครื่องดีด เช่น ผีผา หร่วน พิณโค้ง กู่ฉิน กู่เจิง เส้อ และ เครื่องเป่า เช่น ปี้ลี่ หรือก็คือ "ปี่" ชนิดหนึ่งนั่นเอง
ติดตามชมรายการมหัศจรรย์แดนมังกร ตอน เครื่องดนตรีโบราณแห่งศิลปะตุนหวง วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 23.00 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
เมื่อปี 1980 มีชาวฝรั่งเศส นามว่าโปล เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) พาทีมนักผจญภัยมายังตะวันตกของประเทศจีน ณ ถ้ำมั่วเกาแห่งตุนหวง ดินแดนแห่งความฝันของเหล่านักแสวงโชค พวกเขาได้บันทึก ภาพถ่ายล้ำค่า เป็นภาพโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมกว่าหกพันหกร้อยชิ้น ที่ถูกฉกฉวยจากตุนหวง กลับมายังยุโรปพร้อมกับเขา
36 ปี ต่อมาในช่วงฤดูร้อน ภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำอุโมงค์เริ่มหลุดร่อน ภาพจิตรกรรมฝาผนังรัชสมัยถังตอนต้น ที่พรางตัวอยู่ข้างหลัง ได้ฉายแสงอีกครั้ง คูหานี้ถูกตีทะเบียนลำดับ 220 เป็นตัวแทนคัมภีร์เครื่องดนตรีแห่งตุนหวง เผยโลกดนตรีที่ยิ่งใหญ่ตระการตาเมื่อพันปี ลักษณะภาพของ เครื่องดนตรีมีความเก่าแก่ สืบทอดมาเป็น 10 รัชสมัย ยาวนานนับพันปี ได้เก็บรักษาศิลปดนตรีจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกเอาไว้
ปี 1980 เป็นต้นมาภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำมั่วเกาแห่งตุนหวง ได้ถูกค้นคว้าและวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญ จนเกิดโครงการ นำเครื่องดนตรีจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง มาทดลองประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีจริง เพราะภาพเครื่องดนตรีโบราณที่ปรากฏเหล่านั้น มีชนิด จำนวน มากมายหลากหลายกว่าที่ถ่ายทอดมา ในปัจจุบัน
ในปี 1992 สถาบันวิจัยตุนหวงได้เริ่มนำเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ชุดแรกก็ออกมา แต่ยังไม่ดีพอซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมากจนถึงฤดูใบไม้ร่วงในปี 2018 งานมหกรรมเส้นทางสายไหมวัฒนธรรม ตุนหวงครั้งที่ 3 ได้เปิดฉากขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมหาศาลจากทุกแวดวงในสังคม เครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์จากจิตรกรรมฝาผนังตุนหวงรุ่นที่ 4 จึงได้ถูกจัดแสดงอีกครั้ง ครอบคลุมดีด สี ตี เป่าทั้ง 4 ประเภท
ซึ่งในตอนนี้ จะอธิบายถึงประวัติความเป็นมาและขั้นตอนการผลิต เครื่องดนตรี ประเภท เครื่องดีด เช่น ผีผา หร่วน พิณโค้ง กู่ฉิน กู่เจิง เส้อ และ เครื่องเป่า เช่น ปี้ลี่ หรือก็คือ "ปี่" ชนิดหนึ่งนั่นเอง
ติดตามชมรายการมหัศจรรย์แดนมังกร ตอน เครื่องดนตรีโบราณแห่งศิลปะตุนหวง วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 เวลา 23.00 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live