เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้มอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้กับสื่อมวลชนกว่า 97 ผลงาน ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล ถูกคัดกรองมาแล้วว่าเป็นสื่อที่ปลอดภัยสำหรับผู้ชมทุกเพศทุกวัย และมีความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การมอบประกาศนียบัตร "รางวัลเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" ครั้งนี้ คัดเลือกจากสื่อ 10 ประเภท รวมทั้งหมด 683 ผลงาน
นิสิต นักศึกษาและอาจารย์จาก 24 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คือผู้ที่ร่วมกันคัดเลือกและประเมินเนื้อหาของสื่อ โดยใช้หลัก "บวก 6 ลบ 3 " นั่นก็คือ เนื้อหาต้องมีความปลอดภัย 3 ด้าน ไม่นำเสนอความรุนแรงด้านพฤติกรรม เรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสม หรือใช้ภาษาที่หยาบคาย และต้องมีความคิดสร้างสรรค์ 6 ด้านที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสังคมค่ะ
จากการใช้เกณฑ์นี้พิจารณา ทำให้ได้ผลงานที่เข้ารอบ "สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" จำนวน 97 ผลงาน ซึ่งรายการของไทยพีบีเอสได้รับคัดเลือก 9 ผลงาน ได้แก่ รายงานข่าว "อาหาร (ไม่) มั่นคงสู้วิกฤติ", สารคดีหอมกลิ่นสยาม, ละครเรื่องปลายจวัก, รายการภัตตาคารบ้านทุ่ง, รายการสถานีหุ่นหรรษา, รายการท้าให้อ่าน (The Reading Hero), รายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย, ไทยพีบีเอส Podcast และรายการมารีมาย มาเล่นกันเถอะ แต่กว่าคณะกรรมการจะตัดสินใจมอบรางวัลให้กับผลงานสื่อแต่ละชิ้น ทราบมาว่า นิสิต นักศึกษาและอาจารย์ทุกมหาวิทยาลัย ช่วยกันพิจารณาอย่างละเอียดเลยทีเดียว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งที่ร่วมคัดเลือกสื่อประเภทละครโทรทัศน์ ให้เข้ารับรางวัลนี้ซึ่งละครเรื่อง ปลายจวัก ของไทยพีบีเอส ก็ได้รับการเสนอชื่อเป็นลำดับแรกเลยเปิดบ้านไทยพีบีเอสจึงถือโอกาสนี้ สอบถามความคิดเห็นของน้อง ๆ นิสิต และอาจารย์ ที่มีต่อการผลิตละครของไทยพีบีเอส จะมีข้อเสนออะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปรับฟังกัน
ติดตามรายละเอียดได้ในรายการ "วันใหม่วาไรตี้" วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้มอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้กับสื่อมวลชนกว่า 97 ผลงาน ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล ถูกคัดกรองมาแล้วว่าเป็นสื่อที่ปลอดภัยสำหรับผู้ชมทุกเพศทุกวัย และมีความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การมอบประกาศนียบัตร "รางวัลเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" ครั้งนี้ คัดเลือกจากสื่อ 10 ประเภท รวมทั้งหมด 683 ผลงาน
นิสิต นักศึกษาและอาจารย์จาก 24 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คือผู้ที่ร่วมกันคัดเลือกและประเมินเนื้อหาของสื่อ โดยใช้หลัก "บวก 6 ลบ 3 " นั่นก็คือ เนื้อหาต้องมีความปลอดภัย 3 ด้าน ไม่นำเสนอความรุนแรงด้านพฤติกรรม เรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสม หรือใช้ภาษาที่หยาบคาย และต้องมีความคิดสร้างสรรค์ 6 ด้านที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสังคมค่ะ
จากการใช้เกณฑ์นี้พิจารณา ทำให้ได้ผลงานที่เข้ารอบ "สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" จำนวน 97 ผลงาน ซึ่งรายการของไทยพีบีเอสได้รับคัดเลือก 9 ผลงาน ได้แก่ รายงานข่าว "อาหาร (ไม่) มั่นคงสู้วิกฤติ", สารคดีหอมกลิ่นสยาม, ละครเรื่องปลายจวัก, รายการภัตตาคารบ้านทุ่ง, รายการสถานีหุ่นหรรษา, รายการท้าให้อ่าน (The Reading Hero), รายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย, ไทยพีบีเอส Podcast และรายการมารีมาย มาเล่นกันเถอะ แต่กว่าคณะกรรมการจะตัดสินใจมอบรางวัลให้กับผลงานสื่อแต่ละชิ้น ทราบมาว่า นิสิต นักศึกษาและอาจารย์ทุกมหาวิทยาลัย ช่วยกันพิจารณาอย่างละเอียดเลยทีเดียว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งที่ร่วมคัดเลือกสื่อประเภทละครโทรทัศน์ ให้เข้ารับรางวัลนี้ซึ่งละครเรื่อง ปลายจวัก ของไทยพีบีเอส ก็ได้รับการเสนอชื่อเป็นลำดับแรกเลยเปิดบ้านไทยพีบีเอสจึงถือโอกาสนี้ สอบถามความคิดเห็นของน้อง ๆ นิสิต และอาจารย์ ที่มีต่อการผลิตละครของไทยพีบีเอส จะมีข้อเสนออะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปรับฟังกัน
ติดตามรายละเอียดได้ในรายการ "วันใหม่วาไรตี้" วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live