ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อาหารยามสงคราม

ออกอากาศ20 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

อาหารยามสงคราม

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ปลายจวักใช่เพียงแต่จะบอกเล่าเรื่องราวของอาหารแต่เพียงเท่านั้น ยังมีประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 หลายด้าน หลายแง่มุมที่นำมาร้อยเรียงและชูให้รสในละครปลายจวักมีความหลากหลายมากขึ้น เรื่องราวของการทำสงครามก็เช่นกัน จึงปรากฏให้เห็นว่าขณะที่แม่อ่อนกับแม่วาดมีหน้าที่ในห้องเครื่องแห่งพระบรมมหาราชวัง ด้านพ่อกล้าพี่ชายของเธอทั้งสองก็ต้องทำหน้าที่ชายชาตรีคือการออกรบ ชวนให้ตั้งคำถามตามมาว่าในยามปรกติสุข ทั้งชาวบ้านและชาววังต่างพร้อมสรรพด้วยข้าวปลาอาหารอันสมบูรณ์ แล้วในยามสงครามเล่า อาหารยามสงครามนั้นต่างจากอาหารยามสงบอย่างไร

วรรณคดีถือเป็นอีกเครื่องมือในการช่วยค้นหาคำตอบของความสงสัยดังกล่าวได้เช่นกัน ด้วยวรรณคดีนั้นเป็นเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่นำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าอันน่าสนุก หากต้องการศึกษาเรื่องอาหารยามสงคราม วรรณคดีสองเรื่องที่ควรค่าแก่การอ่านคือ ปาจิตกุมารกลอนอ่าน ซึ่งแต่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และวรรณคดีสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนในหลายช่วงที่มีการจัดเตรียมรบทัพจับศึก ทั้งสองเรื่องนี้แต่งในช่วงหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นช่วงเวลาสำคัญในการทำสงครามเพื่อก่อร่างสร้างบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ผู้แต่งจึงได้สัมผัสมาแล้วเป็นอย่างดีว่าอาหารยามสงครามนั้นเป็นเช่นไร

ในเรื่องปาจิตกุมารกลอนอ่าน ถ่ายทอดให้เห็นทั้งชนชั้นสูงและประชาชนธรรมดาว่ามีความเป็นอยู่ หรือจัดเตรียมอาหารอย่างไรในยามสงคราม โดยพบว่าชาวบ้านนั้นจัดเตรียมโดยการเตรียมข้าวสารใส่กระสอบ พร้อมปลาย่าง, พริก และเกลือ ซึ่งพริกกับเกลือนั้นถือเป็นเครื่องปรุงสำคัญที่หาได้ง่าย พกพาสะดวก จึงถือเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในยามสงคราม หากไม่มีอาหารใด ๆ เพียงมีข้าวสวยกับพริกและเกลือก็เพียงพอต่อการประทังชีวิตให้ผ่านพ้นไปในยามสงครามได้ ดังที่เสภาขุนช้างขุนแผนกล่าวไว้ในตอนที่ชาวล้านนาถูกกวาดต้อนมายังกรุงศรีอยุธยาว่า

“พริกกะเกลือเนื้อกวางเอาย่างไว้

บ้างเก็บไถ้ใส่ข้าวตากจัดหมากพลู”

ด้านขนมหวานที่นิยมรับประทานในยามสงครามจึงเป็นขนมที่พกพาสะดวกเช่นกันดังเช่นขนมกาละแมนั่นเอง

เหตุการณ์สำคัญที่แสดงให้เห็นการจัดเตรียมเสบียงอาหารในยามสงครามของชาวบ้านและชนชั้นสูงในปาจิตกุมารกลอนอ่านนั้นเป็นตอนที่พระสังฆราชอรพิมจะลาสึกเพื่อเดินทางกลับเมือง โดยตัวบทที่แสดงให้เห็นอาหารที่ชาวบ้านถวายนั้นกล่าวไว้ดังนี้

“...แล้วราชาสังฆราชประภาษสั่ง

บรรดาโยมที่มานั่งมีศักดิ์ศรี

แต่ข้าวของเอามาให้ในกระฎี

สารพันที่จะมีดูมูนมอ

บ้างถวายไกรผ้าเพลาหมาก

ทั้งข้าวตากใส่ไถ้ข้าวตูห่อ

บ้างตำกุ้งทอดน้ำมันให้ฉันพอ

บางคนก็มาถวายกระเทียมดอง

ที่ลางโยมเอาขนมมาถวาย

ทั้งส้มสูกลูกไม้สิ้นทั้งผอง

บั้นปั้นแป้งทำเป็นแท่งหินฝนทอง

ดูก่ายกองเกลื่อนกลาดดาษกระฎี”

สำหรับอาหารที่พระธิดาผู้เป็นชนชั้นสูงนำมาถวายในการจัดเตรียมเสบียงนั้น ก็จะมีความหรูหรา ราคาแพง และประณีตมากกว่าคนทั่วไป แต่ยังคงไม่ละเลยจากหลักการสำคัญคือเสบียงอาหารในยามสงครามจะต้องกินง่าย พกพาสะดวก ไม่เป็นอุปสรรคแก่การออกทัพไปทำสงคราม

“...ฝ่ายแม่นิ่มอรชรอมรแม่

เจ้ารู้แน่แจ้งว่าองค์พระนาถา

พระสังฆราชจะนิราศจากพารา

นางจัดหาสิ่งของให้มากมาย

เครื่องจันอับพลับจีนทั้งส้มจุก

ใส่สมุกจัดแต่งบรรจงถวาย

ขนมโก๋ทุเรียนกวนน้ำตาลทราย

ด้วยงามใจนิ่มขนิษฐ์คิดเถิงคุณ...”

นอกจากศึกษาผ่านวรรณคดีแล้ว เรื่องอาหารการกินยังสามารถศึกษาได้จากสารคดีหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์อันเป็นหลักฐานชั้นต้นที่ชาวต่างชาติเป็นผู้เขียน ดังเช่นหนังสือเล่าเรื่องกรุงสยามที่บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ เป็นผู้เขียนจึงทำให้รู้ได้ว่าอาหารที่ถือเป็นของวิเศษสำคัญของคนไทยในยามสงคราม นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เป็นต้นมา คือไข่เค็มนั่นเอง ไข่เค็มเป็นอาหารที่คนไทยรับวัฒนธรรมมาจากจีน เป็นการถนอมอาหารที่เหมาะแก่การพกพาในยามสงคราม ทำได้ง่าย แต่ก็ยังคงรสชาติแห่งความอร่อยล้ำ จึงเห็นได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ไม่มีการทำสงครามโดยรบร่าฆ่าฟันแล้วแต่ไข่เค็มก็ยังคงเป็นอาหารแห้งยอดนิยมของชาวไทย จะกินเล่นก็อร่อย จะกินคู่กับข้าวต้มหรือนำไปแปรรูป ดัดแปลงเป็นอาหารร่วมสมัยก็ถือว่าเยี่ยมยอดทั้งสิ้น

อาหารไทยทั้งในยามสงบและยามสงครามต่างล้วนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อศึกษาอาหารยามสงครามแล้ว ท่ามกลางมรสุมแห่งสงคราม จึงเกิดเป็นสัจธรรมเรื่องการปรับตัวให้เราได้เรียนรู้ ในภาวะเช่นนั้น การปรับตัวให้เข้ากับบริบท ความขัดสน หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องทรัพยากร วัตถุดิบ หรือกรรมวิธีต่าง ๆ สงครามจึงถือเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ทั้งทำให้ประชาชนได้เรียนรู้การปรับตัว และได้รู้ว่าในช่วงเวลาอันลำบากเช่นนี้การกินเพื่ออยู่ย่อมสำคัญยิ่งกว่าการอยู่เพื่อกิน


รายการอ้างอิง

  • ปาลเลอกัวซ์, ฌอง แบปติสต์. (2506). เล่าเรื่องกรุงสยาม, แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร. พระนคร: ก้าวหน้า.
  • วชิรญาณ. (2563). ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/-ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 พฤษภาคม 2563).
  • วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่ม ๒. (๒๕๓๓). กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
  • สุกัญญา สุจฉายา. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นบ้าน. สัมภาษณ์, 5 มีนาคม 2563.
  • สุกัญญา สุจฉายา, ศาสตราจารย์. (2561). สำรับอาหารไทย จากบ้านสู่วัง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

เรื่องเล่าจากละคร

อาหารยามสงคราม

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ปลายจวักใช่เพียงแต่จะบอกเล่าเรื่องราวของอาหารแต่เพียงเท่านั้น ยังมีประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 หลายด้าน หลายแง่มุมที่นำมาร้อยเรียงและชูให้รสในละครปลายจวักมีความหลากหลายมากขึ้น เรื่องราวของการทำสงครามก็เช่นกัน จึงปรากฏให้เห็นว่าขณะที่แม่อ่อนกับแม่วาดมีหน้าที่ในห้องเครื่องแห่งพระบรมมหาราชวัง ด้านพ่อกล้าพี่ชายของเธอทั้งสองก็ต้องทำหน้าที่ชายชาตรีคือการออกรบ ชวนให้ตั้งคำถามตามมาว่าในยามปรกติสุข ทั้งชาวบ้านและชาววังต่างพร้อมสรรพด้วยข้าวปลาอาหารอันสมบูรณ์ แล้วในยามสงครามเล่า อาหารยามสงครามนั้นต่างจากอาหารยามสงบอย่างไร

วรรณคดีถือเป็นอีกเครื่องมือในการช่วยค้นหาคำตอบของความสงสัยดังกล่าวได้เช่นกัน ด้วยวรรณคดีนั้นเป็นเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่นำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าอันน่าสนุก หากต้องการศึกษาเรื่องอาหารยามสงคราม วรรณคดีสองเรื่องที่ควรค่าแก่การอ่านคือ ปาจิตกุมารกลอนอ่าน ซึ่งแต่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และวรรณคดีสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนในหลายช่วงที่มีการจัดเตรียมรบทัพจับศึก ทั้งสองเรื่องนี้แต่งในช่วงหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นช่วงเวลาสำคัญในการทำสงครามเพื่อก่อร่างสร้างบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ผู้แต่งจึงได้สัมผัสมาแล้วเป็นอย่างดีว่าอาหารยามสงครามนั้นเป็นเช่นไร

ในเรื่องปาจิตกุมารกลอนอ่าน ถ่ายทอดให้เห็นทั้งชนชั้นสูงและประชาชนธรรมดาว่ามีความเป็นอยู่ หรือจัดเตรียมอาหารอย่างไรในยามสงคราม โดยพบว่าชาวบ้านนั้นจัดเตรียมโดยการเตรียมข้าวสารใส่กระสอบ พร้อมปลาย่าง, พริก และเกลือ ซึ่งพริกกับเกลือนั้นถือเป็นเครื่องปรุงสำคัญที่หาได้ง่าย พกพาสะดวก จึงถือเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในยามสงคราม หากไม่มีอาหารใด ๆ เพียงมีข้าวสวยกับพริกและเกลือก็เพียงพอต่อการประทังชีวิตให้ผ่านพ้นไปในยามสงครามได้ ดังที่เสภาขุนช้างขุนแผนกล่าวไว้ในตอนที่ชาวล้านนาถูกกวาดต้อนมายังกรุงศรีอยุธยาว่า

“พริกกะเกลือเนื้อกวางเอาย่างไว้

บ้างเก็บไถ้ใส่ข้าวตากจัดหมากพลู”

ด้านขนมหวานที่นิยมรับประทานในยามสงครามจึงเป็นขนมที่พกพาสะดวกเช่นกันดังเช่นขนมกาละแมนั่นเอง

เหตุการณ์สำคัญที่แสดงให้เห็นการจัดเตรียมเสบียงอาหารในยามสงครามของชาวบ้านและชนชั้นสูงในปาจิตกุมารกลอนอ่านนั้นเป็นตอนที่พระสังฆราชอรพิมจะลาสึกเพื่อเดินทางกลับเมือง โดยตัวบทที่แสดงให้เห็นอาหารที่ชาวบ้านถวายนั้นกล่าวไว้ดังนี้

“...แล้วราชาสังฆราชประภาษสั่ง

บรรดาโยมที่มานั่งมีศักดิ์ศรี

แต่ข้าวของเอามาให้ในกระฎี

สารพันที่จะมีดูมูนมอ

บ้างถวายไกรผ้าเพลาหมาก

ทั้งข้าวตากใส่ไถ้ข้าวตูห่อ

บ้างตำกุ้งทอดน้ำมันให้ฉันพอ

บางคนก็มาถวายกระเทียมดอง

ที่ลางโยมเอาขนมมาถวาย

ทั้งส้มสูกลูกไม้สิ้นทั้งผอง

บั้นปั้นแป้งทำเป็นแท่งหินฝนทอง

ดูก่ายกองเกลื่อนกลาดดาษกระฎี”

สำหรับอาหารที่พระธิดาผู้เป็นชนชั้นสูงนำมาถวายในการจัดเตรียมเสบียงนั้น ก็จะมีความหรูหรา ราคาแพง และประณีตมากกว่าคนทั่วไป แต่ยังคงไม่ละเลยจากหลักการสำคัญคือเสบียงอาหารในยามสงครามจะต้องกินง่าย พกพาสะดวก ไม่เป็นอุปสรรคแก่การออกทัพไปทำสงคราม

“...ฝ่ายแม่นิ่มอรชรอมรแม่

เจ้ารู้แน่แจ้งว่าองค์พระนาถา

พระสังฆราชจะนิราศจากพารา

นางจัดหาสิ่งของให้มากมาย

เครื่องจันอับพลับจีนทั้งส้มจุก

ใส่สมุกจัดแต่งบรรจงถวาย

ขนมโก๋ทุเรียนกวนน้ำตาลทราย

ด้วยงามใจนิ่มขนิษฐ์คิดเถิงคุณ...”

นอกจากศึกษาผ่านวรรณคดีแล้ว เรื่องอาหารการกินยังสามารถศึกษาได้จากสารคดีหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์อันเป็นหลักฐานชั้นต้นที่ชาวต่างชาติเป็นผู้เขียน ดังเช่นหนังสือเล่าเรื่องกรุงสยามที่บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ เป็นผู้เขียนจึงทำให้รู้ได้ว่าอาหารที่ถือเป็นของวิเศษสำคัญของคนไทยในยามสงคราม นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เป็นต้นมา คือไข่เค็มนั่นเอง ไข่เค็มเป็นอาหารที่คนไทยรับวัฒนธรรมมาจากจีน เป็นการถนอมอาหารที่เหมาะแก่การพกพาในยามสงคราม ทำได้ง่าย แต่ก็ยังคงรสชาติแห่งความอร่อยล้ำ จึงเห็นได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ไม่มีการทำสงครามโดยรบร่าฆ่าฟันแล้วแต่ไข่เค็มก็ยังคงเป็นอาหารแห้งยอดนิยมของชาวไทย จะกินเล่นก็อร่อย จะกินคู่กับข้าวต้มหรือนำไปแปรรูป ดัดแปลงเป็นอาหารร่วมสมัยก็ถือว่าเยี่ยมยอดทั้งสิ้น

อาหารไทยทั้งในยามสงบและยามสงครามต่างล้วนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อศึกษาอาหารยามสงครามแล้ว ท่ามกลางมรสุมแห่งสงคราม จึงเกิดเป็นสัจธรรมเรื่องการปรับตัวให้เราได้เรียนรู้ ในภาวะเช่นนั้น การปรับตัวให้เข้ากับบริบท ความขัดสน หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องทรัพยากร วัตถุดิบ หรือกรรมวิธีต่าง ๆ สงครามจึงถือเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ทั้งทำให้ประชาชนได้เรียนรู้การปรับตัว และได้รู้ว่าในช่วงเวลาอันลำบากเช่นนี้การกินเพื่ออยู่ย่อมสำคัญยิ่งกว่าการอยู่เพื่อกิน


รายการอ้างอิง

  • ปาลเลอกัวซ์, ฌอง แบปติสต์. (2506). เล่าเรื่องกรุงสยาม, แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร. พระนคร: ก้าวหน้า.
  • วชิรญาณ. (2563). ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/-ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 พฤษภาคม 2563).
  • วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่ม ๒. (๒๕๓๓). กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
  • สุกัญญา สุจฉายา. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นบ้าน. สัมภาษณ์, 5 มีนาคม 2563.
  • สุกัญญา สุจฉายา, ศาสตราจารย์. (2561). สำรับอาหารไทย จากบ้านสู่วัง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด
ละครบ้านชนะใจ

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย