20 ปี ที่ไทยเข้าร่วมอนุสัญญาแรมซาร์ พื้นที่ชุมน้ำจะเป็นอย่างไรบ้าง ภูมิภาค 3.0 สัปดาห์นี้ชวนติดตามเรื่องราวของความสมบูรณ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 3 ภาค
เริ่มต้นที่ภาคเหนือ ที่เวียงหนองหล่ม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ แอ่งกระทะที่มีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี ผู้คนรอบ ๆ ก็จะเข้ามาหาอยู่หากิน จับสัตว์น้ำ และอาชีพที่อยู่คู่กับเวียงหนองหล่มมายาวนาน อดีตเคยมีพื้นที่ขนาด 3 หมื่นกว่าไร่ บางส่วนถูกแปลงสภาพเพื่อการเกษตร ทำให้เหลือพื้นที่อยู่ประมาณ 12,000 ไร่ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อแหล่งอาหาร และวิถีดั้งเดิมชุมชนในพื้นที่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงพยายามที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเพื่อปกป้อง และฟื้นฟูเวียงหนองหล่มอย่างเหมาะสมต่อไป ติดตามกับทีม A Life Studio
ต่อด้วยภาคอีสาน กับป่าบุ่งป่าทาม อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่งทรัพยากรที่นี่เปรียบดังสวัสดิการสังคมที่ต้นทุนต่ำที่สุด แต่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด บนพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 142 หมู่บ้าน 21 ตำบล 8 อำเภอ และ 3 จังหวัด คุณสันติ ศรีมันตะ พาลงพื้นที่ไปที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง เรียนรู้ความผูกพันของชาวบ้านที่นี่ ที่หาอยู่หากิน และยังดูแลรักษาทรัพยากรของพวกเขาไปในตัว
ปิดท้ายกับภาคใต้ กับป่าพรุควนเคร็ง พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุม 3 จังหวัด นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลามีพื้นที่ประมาณ 195,545 ไร่ ด้วยความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ทำให้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เป็นแหล่งอาหารของคนเคร็ง และที่สำคัญเป็นแหล่ง พืชน้ำ "กระจูด" ที่สามารถสร้างรายได้หล่อเลี้ยงคนเคร็ง แต่ปัจจุบันป่าพรุถูกทำลายไปมากจากหลายสาเหตุ ส่งผลให้ชาวบ้านร่วมกันหาทางออก จะเป็นอย่างไรติดตามจาก ทีม นครมีเดีย
ติดตามได้ในรายการภูมิภาค 3.0 วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2561 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live
20 ปี ที่ไทยเข้าร่วมอนุสัญญาแรมซาร์ พื้นที่ชุมน้ำจะเป็นอย่างไรบ้าง ภูมิภาค 3.0 สัปดาห์นี้ชวนติดตามเรื่องราวของความสมบูรณ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 3 ภาค
เริ่มต้นที่ภาคเหนือ ที่เวียงหนองหล่ม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ แอ่งกระทะที่มีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี ผู้คนรอบ ๆ ก็จะเข้ามาหาอยู่หากิน จับสัตว์น้ำ และอาชีพที่อยู่คู่กับเวียงหนองหล่มมายาวนาน อดีตเคยมีพื้นที่ขนาด 3 หมื่นกว่าไร่ บางส่วนถูกแปลงสภาพเพื่อการเกษตร ทำให้เหลือพื้นที่อยู่ประมาณ 12,000 ไร่ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อแหล่งอาหาร และวิถีดั้งเดิมชุมชนในพื้นที่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงพยายามที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเพื่อปกป้อง และฟื้นฟูเวียงหนองหล่มอย่างเหมาะสมต่อไป ติดตามกับทีม A Life Studio
ต่อด้วยภาคอีสาน กับป่าบุ่งป่าทาม อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่งทรัพยากรที่นี่เปรียบดังสวัสดิการสังคมที่ต้นทุนต่ำที่สุด แต่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด บนพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 142 หมู่บ้าน 21 ตำบล 8 อำเภอ และ 3 จังหวัด คุณสันติ ศรีมันตะ พาลงพื้นที่ไปที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง เรียนรู้ความผูกพันของชาวบ้านที่นี่ ที่หาอยู่หากิน และยังดูแลรักษาทรัพยากรของพวกเขาไปในตัว
ปิดท้ายกับภาคใต้ กับป่าพรุควนเคร็ง พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุม 3 จังหวัด นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลามีพื้นที่ประมาณ 195,545 ไร่ ด้วยความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ทำให้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เป็นแหล่งอาหารของคนเคร็ง และที่สำคัญเป็นแหล่ง พืชน้ำ "กระจูด" ที่สามารถสร้างรายได้หล่อเลี้ยงคนเคร็ง แต่ปัจจุบันป่าพรุถูกทำลายไปมากจากหลายสาเหตุ ส่งผลให้ชาวบ้านร่วมกันหาทางออก จะเป็นอย่างไรติดตามจาก ทีม นครมีเดีย
ติดตามได้ในรายการภูมิภาค 3.0 วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2561 เวลา 13.00 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live