ป้าย 1 ความทุกข์ของพ่อแม่ เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์เพียงลำพัง
เป็นความทุกข์ใจของหลาย ๆ ครอบครัว ในการเรียนออนไลน์ บางครอบครัวอาจประสบปัญหาสัญญาณเน็ตไม่ดี เรียนได้ไม่เต็มที่ บางทีก็ให้พ่อแม่ทำการบ้านให้ ไม่เข้าใจ ถามใครไม่ได้ บางบ้านไฟดับ แต่สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือปัญหาสุขภาพ ทั้งทางกาย และทางใจของเด็ก ความเครียดของพ่อแม่ ที่ไม่ได้อยู่กับลูก เพราะต้องออกไปทำงาน ทำให้เด็กต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง
ป้าย 2 เสียงสะท้อนผู้ประกอบการ หลังให้นั่งทานในร้าน กทม.
ฟังเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการร้านอาหารย่านแหล่งท่องเที่ยว ถนนเยาวราช ถนนสีลม หลังศบค.คลายล็อกให้ร้านอาหารเปิดให้บริการนั่งทานในร้านได้ พบประชาชนนั่งกินในร้านยังบางตา ส่วนใหญ่ยังคงให้ซื้อกลับบ้าน เนื่องจากยังกังวลการแพร่เชื้อ ขณะที่ร้านที่ให้กินในร้านยังต้องปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
ป้าย 3 วัดสุทธิวราราม จัดทำ Icon ใช้ดูอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19
วัดสุทธิฯ ร่วมกับ สสส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโลโก้สติกเกอร์ Icon สัญลักษณ์ ให้ผู้ติดเชื้อทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติ ที่เข้ารักษาอาการศูนย์พักค่อยที่วัด ประเมินอาการตนเอง เพื่อให้แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ได้ท่วงทันเวลา ไม่ให้เปลี่ยนสีเหลือง อีกทั้งแจกไฟล์ให้จังหวัดทั่วประเทศดาวน์โหลดนำไปใช้ได้ฟรีๆ
ป้าย 4 หมู่บ้านต้นแบบ ทำเกษตรสู้ภัยโควิด-19 จ.ฉะเชิงเทรา
สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ต่างจังหวัด เป็นเรื่องที่อาจจะควบคุมไม่ได้หากท้องถิ่นและลูกบ้านไม่ให้ความสำคัญ แต่ที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลับพบว่าที่นี่ได้กลายเป็นหมู่บ้านต้นแบบ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดจนเป็นหมู่บ้านปลอดเชื้อโควิด-19
ป้าย 5 ช่วยเหลือ 14 ชีวิตเก็บขยะขายประทังชีวิต จ.ปัตตานี
จังหวัดปัตานี ช่วยเหลือครอบครัวเก็บขยะขายประทัง 14 ชีวิต เก็บขยะขายเลี้ยงดดูคนในครอบครัวเพื่อให้อยู่รอด หลังมาสามารถออกขายของในตลาดได้เพราะถูกปิดเนื่องสถานการณ์โควิด-19
ติดตามรายละเอียดได้ในรายการ "วันใหม่วาไรตี้" วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2564 ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ป้าย 1 ความทุกข์ของพ่อแม่ เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์เพียงลำพัง
เป็นความทุกข์ใจของหลาย ๆ ครอบครัว ในการเรียนออนไลน์ บางครอบครัวอาจประสบปัญหาสัญญาณเน็ตไม่ดี เรียนได้ไม่เต็มที่ บางทีก็ให้พ่อแม่ทำการบ้านให้ ไม่เข้าใจ ถามใครไม่ได้ บางบ้านไฟดับ แต่สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือปัญหาสุขภาพ ทั้งทางกาย และทางใจของเด็ก ความเครียดของพ่อแม่ ที่ไม่ได้อยู่กับลูก เพราะต้องออกไปทำงาน ทำให้เด็กต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง
ป้าย 2 เสียงสะท้อนผู้ประกอบการ หลังให้นั่งทานในร้าน กทม.
ฟังเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการร้านอาหารย่านแหล่งท่องเที่ยว ถนนเยาวราช ถนนสีลม หลังศบค.คลายล็อกให้ร้านอาหารเปิดให้บริการนั่งทานในร้านได้ พบประชาชนนั่งกินในร้านยังบางตา ส่วนใหญ่ยังคงให้ซื้อกลับบ้าน เนื่องจากยังกังวลการแพร่เชื้อ ขณะที่ร้านที่ให้กินในร้านยังต้องปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
ป้าย 3 วัดสุทธิวราราม จัดทำ Icon ใช้ดูอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19
วัดสุทธิฯ ร่วมกับ สสส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโลโก้สติกเกอร์ Icon สัญลักษณ์ ให้ผู้ติดเชื้อทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติ ที่เข้ารักษาอาการศูนย์พักค่อยที่วัด ประเมินอาการตนเอง เพื่อให้แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ได้ท่วงทันเวลา ไม่ให้เปลี่ยนสีเหลือง อีกทั้งแจกไฟล์ให้จังหวัดทั่วประเทศดาวน์โหลดนำไปใช้ได้ฟรีๆ
ป้าย 4 หมู่บ้านต้นแบบ ทำเกษตรสู้ภัยโควิด-19 จ.ฉะเชิงเทรา
สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ต่างจังหวัด เป็นเรื่องที่อาจจะควบคุมไม่ได้หากท้องถิ่นและลูกบ้านไม่ให้ความสำคัญ แต่ที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลับพบว่าที่นี่ได้กลายเป็นหมู่บ้านต้นแบบ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดจนเป็นหมู่บ้านปลอดเชื้อโควิด-19
ป้าย 5 ช่วยเหลือ 14 ชีวิตเก็บขยะขายประทังชีวิต จ.ปัตตานี
จังหวัดปัตานี ช่วยเหลือครอบครัวเก็บขยะขายประทัง 14 ชีวิต เก็บขยะขายเลี้ยงดดูคนในครอบครัวเพื่อให้อยู่รอด หลังมาสามารถออกขายของในตลาดได้เพราะถูกปิดเนื่องสถานการณ์โควิด-19
ติดตามรายละเอียดได้ในรายการ "วันใหม่วาไรตี้" วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2564 ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live