“ผี” มีจริงไหม แล้วถ้ามีผีจริง ผีจะถูกจัดว่าเป็นอะไร พลังงาน สสารมืด หรือมิติที่สูงกว่า เราจะพาทุกคนไปสำรวจแนวคิดเรื่องผี ผ่านมุมมองของ รศ. ดร.สิขรินทร์ อยู่คง รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน ม.นเรศวร พร้อมกับเจาะลึกหลักการทำงานของ “เครื่องมือจับผี” ในหนัง Ghostbusters ว่ามีความเป็นไปได้จริงแค่ไหน ?
ความลี้ลับของผีและวิญญาณผ่านมุมมองจากหลักฟิสิกส์วิทยาศาสตร์กับเรื่องราวของ Ghostbusters
แฟรนไชส์ภาพยนตร์ Ghostbusters โดยผู้กำกับ Ivan Reitman ที่ได้นำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจในการผสมผสานระหว่างปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอย่างผีเข้ากับหลักการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์พิเศษที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้ง "บริษัทกำจัดผี" ซึ่งมีการผสมผสานนวัตกรรม อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องมือจับผี Proton Pack, เครื่องวัดพลังงานจิต (PKE Meter) ที่ตรวจจับการแผ่รังสีของวิญญาณ คล้ายกับการค้นหาสสารมืด (Dark Matter) ในจักรวาล และกับดักผี (Ghost Trap) ที่ใช้หลักการของสนามพลังงานในการกักเก็บวิญญาณและยังมีการอ้างอิงแนวคิดทางฟิสิกส์เพื่อประกอบกับเรื่อง “ผี” ได้น่าสนใจ อย่างเช่น พื้นฐานของ Proton Decay หรือการสลายตัวของโปรตอน ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เสนอ
ว่าอนุภาคมูลฐานอย่างโปรตอนอาจไม่เสถียรและสามารถสลายตัวได้ ทำให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับวิญญาณซึ่งอาจอยู่ในมิติที่สูงกว่า (Higher Dimensions) ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้
ความสำเร็จของ Ghostbusters เริ่มต้นในปี 1984 ด้วยการผสมผสานระหว่างความตลก สยองขวัญ และแอคชั่น สร้างตัวละครที่จดจำได้ รวมถึงผีสุดน่ารักอย่าง "มาร์ชเมลโลว์แมน" จนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม นำไปสู่การสร้างภาคต่ออย่าง Ghostbusters II (1989), Ghostbusters: Afterlife (2021) และ Ghostbusters: Frozen Empire (2024) รวมถึงสื่อบันเทิงในรูปแบบอื่น ๆ
แฟรนไชส์นี้ไม่เพียงสร้างความบันเทิง แต่ยังกระตุ้นความสนใจของผู้ชมต่อการศึกษาปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าเรื่องของผีและวิญญาณสามารถถูกอธิบายและเข้าใจได้ผ่านมุมมองที่ทันสมัย ทำให้ Ghostbusters กลายเป็นตำนานภาพยนตร์ที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ดำเนินรายการ : สิปปกร ศรีศรุตวสนะ
Senior Producer : กานต์ธิดา คุณพาที
Producer : วงศกานต์ จิรัฐิติกานต์
Camera : ปรีชา บวมขุนทด , สมชาย เสียงใส
Lighting : วีระ บัวโพชน์
Sound : โชคชัย ปะวันเต
Graphic : ทศภูมิ เนตรทัศน์
Story : กรภัทร เวชวงศ์, จิราภพ ทวีสูงส่ง
“ผี” มีจริงไหม แล้วถ้ามีผีจริง ผีจะถูกจัดว่าเป็นอะไร พลังงาน สสารมืด หรือมิติที่สูงกว่า เราจะพาทุกคนไปสำรวจแนวคิดเรื่องผี ผ่านมุมมองของ รศ. ดร.สิขรินทร์ อยู่คง รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน ม.นเรศวร พร้อมกับเจาะลึกหลักการทำงานของ “เครื่องมือจับผี” ในหนัง Ghostbusters ว่ามีความเป็นไปได้จริงแค่ไหน ?
ความลี้ลับของผีและวิญญาณผ่านมุมมองจากหลักฟิสิกส์วิทยาศาสตร์กับเรื่องราวของ Ghostbusters
แฟรนไชส์ภาพยนตร์ Ghostbusters โดยผู้กำกับ Ivan Reitman ที่ได้นำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจในการผสมผสานระหว่างปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอย่างผีเข้ากับหลักการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์พิเศษที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้ง "บริษัทกำจัดผี" ซึ่งมีการผสมผสานนวัตกรรม อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องมือจับผี Proton Pack, เครื่องวัดพลังงานจิต (PKE Meter) ที่ตรวจจับการแผ่รังสีของวิญญาณ คล้ายกับการค้นหาสสารมืด (Dark Matter) ในจักรวาล และกับดักผี (Ghost Trap) ที่ใช้หลักการของสนามพลังงานในการกักเก็บวิญญาณและยังมีการอ้างอิงแนวคิดทางฟิสิกส์เพื่อประกอบกับเรื่อง “ผี” ได้น่าสนใจ อย่างเช่น พื้นฐานของ Proton Decay หรือการสลายตัวของโปรตอน ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เสนอ
ว่าอนุภาคมูลฐานอย่างโปรตอนอาจไม่เสถียรและสามารถสลายตัวได้ ทำให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับวิญญาณซึ่งอาจอยู่ในมิติที่สูงกว่า (Higher Dimensions) ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้
ความสำเร็จของ Ghostbusters เริ่มต้นในปี 1984 ด้วยการผสมผสานระหว่างความตลก สยองขวัญ และแอคชั่น สร้างตัวละครที่จดจำได้ รวมถึงผีสุดน่ารักอย่าง "มาร์ชเมลโลว์แมน" จนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม นำไปสู่การสร้างภาคต่ออย่าง Ghostbusters II (1989), Ghostbusters: Afterlife (2021) และ Ghostbusters: Frozen Empire (2024) รวมถึงสื่อบันเทิงในรูปแบบอื่น ๆ
แฟรนไชส์นี้ไม่เพียงสร้างความบันเทิง แต่ยังกระตุ้นความสนใจของผู้ชมต่อการศึกษาปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าเรื่องของผีและวิญญาณสามารถถูกอธิบายและเข้าใจได้ผ่านมุมมองที่ทันสมัย ทำให้ Ghostbusters กลายเป็นตำนานภาพยนตร์ที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ดำเนินรายการ : สิปปกร ศรีศรุตวสนะ
Senior Producer : กานต์ธิดา คุณพาที
Producer : วงศกานต์ จิรัฐิติกานต์
Camera : ปรีชา บวมขุนทด , สมชาย เสียงใส
Lighting : วีระ บัวโพชน์
Sound : โชคชัย ปะวันเต
Graphic : ทศภูมิ เนตรทัศน์
Story : กรภัทร เวชวงศ์, จิราภพ ทวีสูงส่ง