ความเจริญที่ไหลบ่ามากับสายน้ำก็ปรับเปลี่ยนหมู่บ้านอูจอบีลัง (Ujoh Bilang) ให้ดูแตกต่างจากหมู่บ้านดายัคดั้งเดิม เสียงบรรเลงดนตรีไพเราะราวกับการร่ายมนตราของเด็กหนุ่มดายัค เขาเรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่โดยใช้ "แซมปัก" (Sampak) เครื่องดนตรีของเผ่าที่ฟังแล้วคล้ายเสียงกีตาร์โปร่งแบบสากล ขณะที่กลุ่มเด็กสาวสวมใส่เครื่องแต่งกายชนเผ่าเต็มรูปแบบ สีสันและความสวยงามแต่งแต้มความภาคภูมิใจบนใบหน้าใสๆ ของพวกเธอที่พร้อมจะอวดโฉมในการแสดงวันนี้ การแสดงของชาวดายัคมักเกี่ยวข้องกับวิถีและพิธีกรรมของเผ่า ท่าทางในการร่ายรำเลียนแบบท่าทางของสัตว์ในธรรมชาติ เช่น ท่ากระพือปีกของนก สะท้อนถึงความผูกพันในการดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษย์และสัตว์ป่า
ผู้หญิงชาวดายัครุ่นก่อนจะต้องมีสักที่มือและข้อเท้า เพราะเป็นกฎของเผ่า นอกจากนี้ยังต้องเจาะหูตามประเพณีทั้งชายและหญิง สตรีคนใดมีติ่งหูยาวถือเป็นคนมีวาสนา เพราะไม่ใช่ว่าทำเช่นนี้แล้วทุกคนจะมีติ่งหูที่ยาวเท่ากัน แต่ปัจจุบันเด็กสาวรุ่นใหม่กลับเลือกที่จะไม่สืบทอดประเพณีเช่นนี้อีกแล้ว
หมู่บ้านกามันอารู (Kaman Ulu) เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์สำคัญของชาวกูไต เพราะนักโบราณคดีได้ขุดพบกลุ่มศิลาจารึกและวัตถุโบราณมากมาย สามารถเชื่อมโยงการอพยพโยกย้ายของผู้คนในอดีตจากกัมพูชาสู่พื้นที่ของกาลีมันตันตะวันออก รวมถึงหลักฐานเกี่ยวกับศาสนาฮินดูแห่งเดียวในกาลีมันตัน จึงมีข้อสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวกูไตอาจจะเป็นชาวเขมรโบราณนั่นเอง
ติดตามชมรายการ Spirit of Asia ตอน ดายัคและกูไตในกาลีมันตันตะวันออก วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560 เวลา 16.30 – 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ความเจริญที่ไหลบ่ามากับสายน้ำก็ปรับเปลี่ยนหมู่บ้านอูจอบีลัง (Ujoh Bilang) ให้ดูแตกต่างจากหมู่บ้านดายัคดั้งเดิม เสียงบรรเลงดนตรีไพเราะราวกับการร่ายมนตราของเด็กหนุ่มดายัค เขาเรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่โดยใช้ "แซมปัก" (Sampak) เครื่องดนตรีของเผ่าที่ฟังแล้วคล้ายเสียงกีตาร์โปร่งแบบสากล ขณะที่กลุ่มเด็กสาวสวมใส่เครื่องแต่งกายชนเผ่าเต็มรูปแบบ สีสันและความสวยงามแต่งแต้มความภาคภูมิใจบนใบหน้าใสๆ ของพวกเธอที่พร้อมจะอวดโฉมในการแสดงวันนี้ การแสดงของชาวดายัคมักเกี่ยวข้องกับวิถีและพิธีกรรมของเผ่า ท่าทางในการร่ายรำเลียนแบบท่าทางของสัตว์ในธรรมชาติ เช่น ท่ากระพือปีกของนก สะท้อนถึงความผูกพันในการดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษย์และสัตว์ป่า
ผู้หญิงชาวดายัครุ่นก่อนจะต้องมีสักที่มือและข้อเท้า เพราะเป็นกฎของเผ่า นอกจากนี้ยังต้องเจาะหูตามประเพณีทั้งชายและหญิง สตรีคนใดมีติ่งหูยาวถือเป็นคนมีวาสนา เพราะไม่ใช่ว่าทำเช่นนี้แล้วทุกคนจะมีติ่งหูที่ยาวเท่ากัน แต่ปัจจุบันเด็กสาวรุ่นใหม่กลับเลือกที่จะไม่สืบทอดประเพณีเช่นนี้อีกแล้ว
หมู่บ้านกามันอารู (Kaman Ulu) เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์สำคัญของชาวกูไต เพราะนักโบราณคดีได้ขุดพบกลุ่มศิลาจารึกและวัตถุโบราณมากมาย สามารถเชื่อมโยงการอพยพโยกย้ายของผู้คนในอดีตจากกัมพูชาสู่พื้นที่ของกาลีมันตันตะวันออก รวมถึงหลักฐานเกี่ยวกับศาสนาฮินดูแห่งเดียวในกาลีมันตัน จึงมีข้อสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวกูไตอาจจะเป็นชาวเขมรโบราณนั่นเอง
ติดตามชมรายการ Spirit of Asia ตอน ดายัคและกูไตในกาลีมันตันตะวันออก วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560 เวลา 16.30 – 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live