หลังจากที่บริษัท Neuralink ทำการทดสอบฝังชิปในสมองมนุษย์คนแรกไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดมีการเปิดเผยโฉมหน้าคนผู้ป่วยคนดังกล่าวแล้ว โดยออกมาเล่าประสบการณ์การควบคุมคอมพิวเตอร์ผ่านสมอง สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาด้านการเคลื่อนไหวได้ไม่น้อย
Neuralink บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่บริหารโดย "อีลอน มัสก์" พัฒนาอุปกรณ์ขนาดเล็กเท่าเหรียญสิบบาท มีขดลวดขนาดเล็กมากหลายเส้นเชื่อมต่อกับสมอง ออกแบบมาสำหรับฝังไว้ในศีรษะและติดตั้งอุปกรณ์ด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ เช่น อัมพาตครึ่งซีกจากการสูญเสียระบบประสาทไขสันหลังส่วนคอ หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ ALS ให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้งผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟน ด้วยการเชื่อมระบบประสาทและสั่งการผ่านการนึกคิดให้ควบคุมการทำงานบนหน้าจอ
โนแลนด์ อาร์บอห์ ผู้ป่วยอัมพาตชาวอเมริกัน วัย 22 ปี เป็นคนแรกที่ได้ทดสอบฝังชิปในสมอง โดยหลังจากผ่าตัดฝังชิป ทำให้เขาสามารถเล่นเกมส์ ควบคุมคอมพิวเตอร์ในระยะไกลมากขึ้น เพียงแค่สั่งการผ่านสมอง เขาจึงสนุกกับการท่องเว็บไซต์ ฟังหนังสือเสียง และเล่นเกม
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากำลังเป็นโอกาสของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวได้มีความหวังอีกครั้ง ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนเพื่อรับรองความปลอดภัยและมาตรฐานทางจริยธรรม ก่อนนำมาใช้ในวงกว้าง
หลังจากที่บริษัท Neuralink ทำการทดสอบฝังชิปในสมองมนุษย์คนแรกไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดมีการเปิดเผยโฉมหน้าคนผู้ป่วยคนดังกล่าวแล้ว โดยออกมาเล่าประสบการณ์การควบคุมคอมพิวเตอร์ผ่านสมอง สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาด้านการเคลื่อนไหวได้ไม่น้อย
Neuralink บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่บริหารโดย "อีลอน มัสก์" พัฒนาอุปกรณ์ขนาดเล็กเท่าเหรียญสิบบาท มีขดลวดขนาดเล็กมากหลายเส้นเชื่อมต่อกับสมอง ออกแบบมาสำหรับฝังไว้ในศีรษะและติดตั้งอุปกรณ์ด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ เช่น อัมพาตครึ่งซีกจากการสูญเสียระบบประสาทไขสันหลังส่วนคอ หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ ALS ให้กลับมาสื่อสารได้อีกครั้งผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟน ด้วยการเชื่อมระบบประสาทและสั่งการผ่านการนึกคิดให้ควบคุมการทำงานบนหน้าจอ
โนแลนด์ อาร์บอห์ ผู้ป่วยอัมพาตชาวอเมริกัน วัย 22 ปี เป็นคนแรกที่ได้ทดสอบฝังชิปในสมอง โดยหลังจากผ่าตัดฝังชิป ทำให้เขาสามารถเล่นเกมส์ ควบคุมคอมพิวเตอร์ในระยะไกลมากขึ้น เพียงแค่สั่งการผ่านสมอง เขาจึงสนุกกับการท่องเว็บไซต์ ฟังหนังสือเสียง และเล่นเกม
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากำลังเป็นโอกาสของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวได้มีความหวังอีกครั้ง ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนเพื่อรับรองความปลอดภัยและมาตรฐานทางจริยธรรม ก่อนนำมาใช้ในวงกว้าง