เรื่องราวพญาซอในแบบครูสมพร เกตุแก้ว เพราะความหลงใหลในเสียงซอมาตั้งแต่เด็ก ๆ เมื่อโตขึ้น เกิดความอยากทำซอด้วยตนเอง จึงออกเดินทางตามหาจนพบมะพร้าวพันธุ์ซอ ที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ทำให้ซอมีเสียงไพเราะเป็นเอกลักษณ์ เพราะใช้มะพร้าวซอพันธุ์ดี ทำให้เกิดเป็นความรักในเสียงซออู้ และได้นำศิลปะการแกะลวดลายบนกะลามาผสมผสานลงบนซออู้ที่วิจิตรตระการตา
อาจารย์วิษณุ ผดุงศิลป์ เกิดและโตในครอบครัวทำหัวโขนมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนเด็กได้ตามพ่อไปที่บ้านปู่ก็เห็นปู่กับย่าทำหัวโขน ในตอนนั้นไม่รู้สึกอะไรแต่เห็นว่าหัวโขนนั้นสวย พอโตมาเห็นพ่อและอาทำหัวโขนจึงเกิดความซึมซับ ด้วยความที่มีทักษะในการวาดลายไทยอยู่แล้ว พอได้ลองทำหัวโขนจึงเกิดเป็นความรักในงานศิลปะ จนทุกวันนี้ยังมุ่งมั่นที่จะทำหัวโขนแบบโบราณ แม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก กว่าจะได้หัวโขนที่วิจิตรต้องใช้เวลา 3 - 6 เดือน
ติดตามชมรายการไทยศิลป์ วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เรื่องราวพญาซอในแบบครูสมพร เกตุแก้ว เพราะความหลงใหลในเสียงซอมาตั้งแต่เด็ก ๆ เมื่อโตขึ้น เกิดความอยากทำซอด้วยตนเอง จึงออกเดินทางตามหาจนพบมะพร้าวพันธุ์ซอ ที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ทำให้ซอมีเสียงไพเราะเป็นเอกลักษณ์ เพราะใช้มะพร้าวซอพันธุ์ดี ทำให้เกิดเป็นความรักในเสียงซออู้ และได้นำศิลปะการแกะลวดลายบนกะลามาผสมผสานลงบนซออู้ที่วิจิตรตระการตา
อาจารย์วิษณุ ผดุงศิลป์ เกิดและโตในครอบครัวทำหัวโขนมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนเด็กได้ตามพ่อไปที่บ้านปู่ก็เห็นปู่กับย่าทำหัวโขน ในตอนนั้นไม่รู้สึกอะไรแต่เห็นว่าหัวโขนนั้นสวย พอโตมาเห็นพ่อและอาทำหัวโขนจึงเกิดความซึมซับ ด้วยความที่มีทักษะในการวาดลายไทยอยู่แล้ว พอได้ลองทำหัวโขนจึงเกิดเป็นความรักในงานศิลปะ จนทุกวันนี้ยังมุ่งมั่นที่จะทำหัวโขนแบบโบราณ แม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก กว่าจะได้หัวโขนที่วิจิตรต้องใช้เวลา 3 - 6 เดือน
ติดตามชมรายการไทยศิลป์ วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live