ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ถอดบทเรียน "บอมเบย์เบอร์มา" สู่กระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน

ออกอากาศ27 ส.ค. 63

"ผมไม่อยากให้เป็นแค่กระแส ที่ปลุกให้ทุกคนใน จ.แพร่และประเทศไทยตื่น แต่สุดท้ายก็จบด้วยการเงียบหายไป" ธีรวุฒิ กล่อมแล้ว (ประธานภาคีเครือข่ายอนุรักษ์เมืองเก่า) บอกกับคุณสุทธิชัย หยุ่น เมื่อมีการถามถึงกระแสที่เกิดขึ้นหลังการรื้อบ้านบอมเบย์เบอร์มา และชาวแพร่รวมถึงคนไทยทั่วประเทศลุกขึ้นมาเรียกร้อง จนนำมาซึ่งการออกมายอมรับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความผิดพลาดและขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน

สถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ และจิตอาสา อยู่ระหว่างเร่งออกแบบโครงสร้างอาคารจากภาพเก่าที่มีอยู่ และประกอบส่วนที่เป็นหน้าจั่ว พร้อมคัดแยกไม้เพื่อเตรียมประกอบอาคารขึ้นใหม่ ซึ่งการประกอบอาคารต้องอาศัยความพยายามเป็นพิเศษ เนื่องจากในช่วงที่มีการรื้ออาคารไม่ได้ทำเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ จึงต้องประกอบอาคารตามหลักฐานภาพถ่ายที่มีอยู่

ระหว่างที่เราลงพื้นที่ถ่ายทำ จะเห็นว่ามีชาวบ้านในพื้นที่และชาว จ.แพร่ รวมทั้งนักท่องเที่ยว เดินทางมาดูความคืบหน้าการฟื้นฟูเป็นระยะ เป็นภาพที่สะท้อนถึงความตื่นตัวกับเรื่องนี้ ประธานภาคีเครือข่ายอนุรักษ์เมืองเก่า บอกกับเราว่าสิ่งหนึ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัด คือกระแสของคนรุ่นใหม่ ที่อยากจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิด นำของดีในบ้านของเรามาสร้างมูลค่ามากขึ้น

บ้านบอมเบย์เบอร์มา หรือ อาคารเขียว เป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการทำไม้สักในอดีตของ จ.แพร่ และยังเชื่อมโยงประวัติศาสตร์เมืองเเพร่กับประวัติศาสตร์โลกในยุคอาณานิคม ณ วันนี้ชาวแพร่จะได้บ้านบอมเบย์เบอร์มากลับมาอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ทุกคนกังวลคือ กระแสที่เกิดขึ้นจะวูบหายไป หรือจะปลุกให้คนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ หันมาร่วมปกปักรักษา วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อันทรงคุณค่านี้อย่างไร หาคำตอบได้ใน ฟังเสียงประเทศไทย ตอน ถอดบทเรียนบอมเบย์เบอร์มา สู่กระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชมย้อนหลังได้ทาง https://bit.ly/3kmx8zY

"ผมไม่อยากให้เป็นแค่กระแส ที่ปลุกให้ทุกคนใน จ.แพร่และประเทศไทยตื่น แต่สุดท้ายก็จบด้วยการเงียบหายไป" ธีรวุฒิ กล่อมแล้ว (ประธานภาคีเครือข่ายอนุรักษ์เมืองเก่า) บอกกับคุณสุทธิชัย หยุ่น เมื่อมีการถามถึงกระแสที่เกิดขึ้นหลังการรื้อบ้านบอมเบย์เบอร์มา และชาวแพร่รวมถึงคนไทยทั่วประเทศลุกขึ้นมาเรียกร้อง จนนำมาซึ่งการออกมายอมรับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความผิดพลาดและขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน

สถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ และจิตอาสา อยู่ระหว่างเร่งออกแบบโครงสร้างอาคารจากภาพเก่าที่มีอยู่ และประกอบส่วนที่เป็นหน้าจั่ว พร้อมคัดแยกไม้เพื่อเตรียมประกอบอาคารขึ้นใหม่ ซึ่งการประกอบอาคารต้องอาศัยความพยายามเป็นพิเศษ เนื่องจากในช่วงที่มีการรื้ออาคารไม่ได้ทำเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ จึงต้องประกอบอาคารตามหลักฐานภาพถ่ายที่มีอยู่

ระหว่างที่เราลงพื้นที่ถ่ายทำ จะเห็นว่ามีชาวบ้านในพื้นที่และชาว จ.แพร่ รวมทั้งนักท่องเที่ยว เดินทางมาดูความคืบหน้าการฟื้นฟูเป็นระยะ เป็นภาพที่สะท้อนถึงความตื่นตัวกับเรื่องนี้ ประธานภาคีเครือข่ายอนุรักษ์เมืองเก่า บอกกับเราว่าสิ่งหนึ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัด คือกระแสของคนรุ่นใหม่ ที่อยากจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิด นำของดีในบ้านของเรามาสร้างมูลค่ามากขึ้น

บ้านบอมเบย์เบอร์มา หรือ อาคารเขียว เป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการทำไม้สักในอดีตของ จ.แพร่ และยังเชื่อมโยงประวัติศาสตร์เมืองเเพร่กับประวัติศาสตร์โลกในยุคอาณานิคม ณ วันนี้ชาวแพร่จะได้บ้านบอมเบย์เบอร์มากลับมาอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ทุกคนกังวลคือ กระแสที่เกิดขึ้นจะวูบหายไป หรือจะปลุกให้คนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ หันมาร่วมปกปักรักษา วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อันทรงคุณค่านี้อย่างไร หาคำตอบได้ใน ฟังเสียงประเทศไทย ตอน ถอดบทเรียนบอมเบย์เบอร์มา สู่กระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชมย้อนหลังได้ทาง https://bit.ly/3kmx8zY

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด
ละครบ้านชนะใจ

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย