ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
ซีรีส์วิถีคน
ซีรีส์วิถีคน

วิถีคนสามเรือน ต.สามเรือน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

หน้ารายการ
19 เม.ย. 68

ตำบลสามเรือน มีพื้นที่ติดทั้งลำคลองและทุ่งนา วิถีชีวิตชาวบ้านที่อยู่ติดริมคลองยังใช้เรือเพราะว่าในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่น้ำหลากมาเต็มลำคลองและไหลท่วมบ้านเรือนและทุ่งนาข้าว บ้านริมคลองจะถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 2 - 3 เมตร ดังนั้นเรือก็ยังมีความจำเป็นก็ยังใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน

แม้ปัจจุบันที่นี่จะถูกรายล้อมด้วยโรงงานอุตสาหกรรม แต่การทำนาก็แบบดั้งเดิมยังคงอยู่เพราะที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ "อ้วน" ชาวนารุ่นใหม่เจ้าของที่นามรดกที่ได้รับจากพ่อแม่ ยังคงวิถีการทำนาแบบดั้งเดิมตามแบบบรรพบุรษทำมา อ้วนเล่าว่า ถนัดแค่ทำนาปีอย่างเดียวซึ่งข้าวนาปีที่เขาปลูกนั้นเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ปลูกมาตั้งแต่โบราณ ที่ชื่อว่า "ข้าวสามรวง" ที่ต้องถูกบ่มทั้งสามฤดู ร้อน ฝน หนาว ทำให้ได้ข้าวที่ดีมีคุณภาพ แข็งแรง แกร่ง มีความพิเศษ ทนแดด ทนฝน ทนหนาว สู้น้ำ อยู่กับน้ำท่วมได้นานหลายเดือน ซึ่งชาวนาบางคนเรียกว่า "ข้าวขึ้นน้ำ" เป็นข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1 - 3 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ความพิเศษคือข้าวจะสามารถยืดปล้อง แตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน และการชูรวงเหนือน้ำได้ ถ้าหากมีศัตรูมารบกวนชาวนาหลายคนยังใช้ "หุ่นไล่กา" ในการไล่ศัตรูข้าว ในแต่ละปีหากดูแลดีจะให้ลผลิตสูงถึง 500 กิโลกรัมต่อหนึ่งไร่

ผู้ใหญ่หนุ่ม อดีตผู้ใหญ่คนเก่งเล่าว่า ที่นี่มีวิถีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในหน้าแล้งและหน้าฝน ในช่วงหน้าฝนน้ำหลาก ชาวบ้านจะหากินในนาข้าวด้วยการลงข่าย อย่างเช่น พี่สัน ช่างทำเรือคนเก่งของหมู่บ้านและเป็นคนหาปลาด้วยการลงข่ายในนาข้าวในช่วงน้ำท่วม จะได้ปลาหมอและยังหากินกับพืชพืชบางชนิดที่ชอบน้ำเป็นพิเศษ ซึ่งปีหนึ่งมีกินเพียงแค่ ครั้งเดียวที่ชื่อว่า "ต้นบา" ซึ่งเป็นพืชตระกูลบัว มีใบเหมือนบัวแต่ว่าหนากว่า นิยมเอามาดองแล้วกินกับปลาหมอ ย่าง และน้ำพริก เป็นเมนูยอดนิยมของชาวบ้านในช่วงน้ำหลาก

ในช่วงหน้าแล้งเมื่อน้ำลดและเกี่ยวข้าวเสร็จปลาย ๆ เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนมีนาคม ก็จะมีอีกหนึ่งอาชีพของชาวบ้านที่นี่เกิดขึ้นมานั่นก็คือปลูก "เห็ดตับเต่า" ใต้ต้นโสน เพราะว่าหมู่บ้านที่นี่เป็นที่ราบลุ่มมีท้องทุ่งนา มีหนอง คลอง และห้วยเล็ก ๆ ทำให้มีดงต้นโสนขึ้นตามธรรมชาติทั่วไป วิถีชีวิตของเห็ดตับเต่าจะอาศัยอาหารจากรากพืชโดยเฉพาะต้นโสน มีทั้งดอกเล็ก ดอกใหญ่บางดอกนั้นมีขนาดใหญ่ถึงน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม เฉพาะตำบลนี้มีพื้นที่ปลูกเห็ดประมาณ 300 กว่าไร่ เช่น สวนลุงก๊ก ลุงออด ลุงสวยป้าเล็ก ในรอบหนึ่งปีจะเก็บได้แค่ประมาณ 4 เดือนเท่านั้น ช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม ชาวสวนบางคนมีความเชื่อในการปลูกเห็ดถ้าจะให้ผลดีต้องชม ด่าไม่ได้ เพราะว่าเห็ดมันจะไม่ขึ้น เห็ดตับเต่า ขายกิโลกรัมละ 100 - 200 บาท สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านรวมแล้วปีละหลายล้านบางปีได้ถึง 20 กว่าล้านบาท ดังนั้นชาวบ้านที่นี่ก็จะดูแลใต้ต้นโสนของพวกเขาเป็นอย่างดีเพราะว่าเป็นขุมเงินขุมทองเป็นขุมทรัพย์ที่อยู่บนดิน

พบกับเรื่องราววิถีความสมบูรณ์ของคน ต.สามเรือน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่หากินได้ทั้งช่วงน้ำหลาก และน้ำลดรวมทั้งเห็ดตับเต่าสร้างชีวิตให้คนที่นี่ได้อย่างไร ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน ตอน วิถีคนสามเรือน ต.สามเรือน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา วันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย