ที่ บ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200-1,600 เมตร แม้ห่างจากตัวอำเภอ 39 กิโลเมตร แต่ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ทุรกันดาร อยู่บนยอดเขาสูง ลาดชัน จึงทำให้การไถนาด้วยควายทำได้ยากเพราะมีหินปนในดินมาก ประกอบกับที่นี่เลี้ยง “ช้าง” ไว้ในป่า เป็นช้างที่เป็นมรดกจากบรรพบรุษ ใช้ขนของ ลากซุง ชาวบ้านจึงใช้ “ช้างไถนา”
กำนันภูมิมีชัย ประเสริฐ กำนันตำบลนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เล่าว่าเมื่อก่อนเคยมีมากกว่า 20 เชือก แต่ปัจจุบันนี้เหลือช้างไถนาเพียง 2 เชือกคือ พังมีบุญพา และพังแม่สองสี ที่ไถนามาแล้ว 15 ปี ที่เปรียบเสมือนเป็นความหวังของคนที่นาเกียน เพราะหากใครไม่มีรถไถ ไม่มีเงินซื้อน้ำมัน ก็จะขอแรงลงแขกแลกแรงกัน เมื่อถึงฤดูกาลทำนาก็จะเข้าไปจับช้างที่เลี้ยงไว้ในป่าออกมาไถนา เพราะเห็นว่าเป็นสัตว์ใหญ่ แข็งแรงกว่าวัว ควาย และยังสามารถไถนาได้พื้นที่มากกว่าในระยะเวลาที่เท่ากัน โดย 1 แรงช้าง เท่ากับ 4 แรงวัวหรือควาย การใช้ช้างไถนาความจริงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ของคนพื้นที่สูง เพราะชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ช้างไถนามาหลายชั่วอายุคนแล้ว
ติดตามเรื่องราววิถีชีวิตที่สืบทอดมาแต่โบราณ ที่คุณเองอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ที่ บ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200-1,600 เมตร แม้ห่างจากตัวอำเภอ 39 กิโลเมตร แต่ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ทุรกันดาร อยู่บนยอดเขาสูง ลาดชัน จึงทำให้การไถนาด้วยควายทำได้ยากเพราะมีหินปนในดินมาก ประกอบกับที่นี่เลี้ยง “ช้าง” ไว้ในป่า เป็นช้างที่เป็นมรดกจากบรรพบรุษ ใช้ขนของ ลากซุง ชาวบ้านจึงใช้ “ช้างไถนา”
กำนันภูมิมีชัย ประเสริฐ กำนันตำบลนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เล่าว่าเมื่อก่อนเคยมีมากกว่า 20 เชือก แต่ปัจจุบันนี้เหลือช้างไถนาเพียง 2 เชือกคือ พังมีบุญพา และพังแม่สองสี ที่ไถนามาแล้ว 15 ปี ที่เปรียบเสมือนเป็นความหวังของคนที่นาเกียน เพราะหากใครไม่มีรถไถ ไม่มีเงินซื้อน้ำมัน ก็จะขอแรงลงแขกแลกแรงกัน เมื่อถึงฤดูกาลทำนาก็จะเข้าไปจับช้างที่เลี้ยงไว้ในป่าออกมาไถนา เพราะเห็นว่าเป็นสัตว์ใหญ่ แข็งแรงกว่าวัว ควาย และยังสามารถไถนาได้พื้นที่มากกว่าในระยะเวลาที่เท่ากัน โดย 1 แรงช้าง เท่ากับ 4 แรงวัวหรือควาย การใช้ช้างไถนาความจริงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ของคนพื้นที่สูง เพราะชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ช้างไถนามาหลายชั่วอายุคนแล้ว
ติดตามเรื่องราววิถีชีวิตที่สืบทอดมาแต่โบราณ ที่คุณเองอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live