“การใช้เรือบรรทุกเกลือ” ที่บ้านกาหลง และบ้านบางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลากหลายที่เกี่ยวกับน้ำทะเล เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านนั้นตั้งอยู่ติดกับทะเล การทำ “นาเกลือ” เป็นสิ่งที่ทำกันมาเนิ่นนานตั้งแต่บรรพบุรุษ เกลือของที่นี่เป็นเกลือที่เอาไว้ใช้เพื่อการอุปโภคในโรงงานอุตสาหกรรม ชาวบ้านที่นี่จะเก็บเกลือไว้ในอาคารไม้ไผ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ยุ้งเกลือ” ในหน้าแล้งเกลือจะเต็มยุ้งพร้อมขนออกไปขาย ซึ่งการขนเกลือก็ต้องใช้เรือ เพราะถนนยังเข้าไม่ถึง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นยุ้งตั้งอยู่ขนาบกับคลองเล็กคลองน้อย ก็เพื่อเป็นการสะดวกในการใช้เรือเข้ามาขนเกลือนั่นเอง ในอดีตนั้นจะขนเกลือออกไปด้วยการหาบ หลังจากหาบก็เริ่มใช้เรือเข้ามาขน โดยสมัยก่อนมีเรือขนเกลือมากกว่า 100 ลำเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันในพื้นที่แถบนี้ลดลงไปเหลือไม่ถึง 10 ลำแล้ว เรือไม้เก่าแก่เหล่านี้ส่วนใหญ่นั้นมีมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่
“ลุงพร” ชัยพร กี้เจริญ ผู้เป็นเจ้าของเรือขนเกลือลำใหญ่ที่สุดแห่งบ้านบางโทรัด จ.สมุทรสาคร เล่าย้อนให้ฟังว่า ลุงรับจ้างขนเกลือตั้งแต่อายุ 24 ปี ปัจจุบันขับเรือขนเกลือมาเกือบ 40 ปี โดยมีพี่ชายฝึกหัดให้ตั้งแต่หนุ่ม ๆ แล้ว การออกไปขนเกลือจะใช้เวลานานเพราะต้องรอน้ำขึ้นน้ำลง การเดินเรือที่ใช้ภูมิปัญญา “ธรรมชาติ” เป็นผู้กำหนด ว่าออกเรือได้เมื่อไรนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก “น้ำเป็น น้ำตาย” เป็นศัพท์ที่ชาวบ้านใช้เรียกน้ำเวลาที่จะเอาเรือออกไปทำงาน หากธรรมชาติไม่เป็นใจ เรือก็ไม่สามารถที่จะออกไปทำงานได้ ลุงพรเล่าว่าการขับเรือและการเป็นนายท้ายเรือไม่มีใครสอน ทุกอย่างต้องจดจำและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการที่ต้องรู้ใจสายน้ำและจดจำคลอง ไม่ว่าจะกี่คดกี่โค้งต้องรู้ให้หมด และเป็นงานที่หนัก
ติดตามชมในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
“การใช้เรือบรรทุกเกลือ” ที่บ้านกาหลง และบ้านบางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลากหลายที่เกี่ยวกับน้ำทะเล เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านนั้นตั้งอยู่ติดกับทะเล การทำ “นาเกลือ” เป็นสิ่งที่ทำกันมาเนิ่นนานตั้งแต่บรรพบุรุษ เกลือของที่นี่เป็นเกลือที่เอาไว้ใช้เพื่อการอุปโภคในโรงงานอุตสาหกรรม ชาวบ้านที่นี่จะเก็บเกลือไว้ในอาคารไม้ไผ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ยุ้งเกลือ” ในหน้าแล้งเกลือจะเต็มยุ้งพร้อมขนออกไปขาย ซึ่งการขนเกลือก็ต้องใช้เรือ เพราะถนนยังเข้าไม่ถึง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นยุ้งตั้งอยู่ขนาบกับคลองเล็กคลองน้อย ก็เพื่อเป็นการสะดวกในการใช้เรือเข้ามาขนเกลือนั่นเอง ในอดีตนั้นจะขนเกลือออกไปด้วยการหาบ หลังจากหาบก็เริ่มใช้เรือเข้ามาขน โดยสมัยก่อนมีเรือขนเกลือมากกว่า 100 ลำเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันในพื้นที่แถบนี้ลดลงไปเหลือไม่ถึง 10 ลำแล้ว เรือไม้เก่าแก่เหล่านี้ส่วนใหญ่นั้นมีมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่
“ลุงพร” ชัยพร กี้เจริญ ผู้เป็นเจ้าของเรือขนเกลือลำใหญ่ที่สุดแห่งบ้านบางโทรัด จ.สมุทรสาคร เล่าย้อนให้ฟังว่า ลุงรับจ้างขนเกลือตั้งแต่อายุ 24 ปี ปัจจุบันขับเรือขนเกลือมาเกือบ 40 ปี โดยมีพี่ชายฝึกหัดให้ตั้งแต่หนุ่ม ๆ แล้ว การออกไปขนเกลือจะใช้เวลานานเพราะต้องรอน้ำขึ้นน้ำลง การเดินเรือที่ใช้ภูมิปัญญา “ธรรมชาติ” เป็นผู้กำหนด ว่าออกเรือได้เมื่อไรนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก “น้ำเป็น น้ำตาย” เป็นศัพท์ที่ชาวบ้านใช้เรียกน้ำเวลาที่จะเอาเรือออกไปทำงาน หากธรรมชาติไม่เป็นใจ เรือก็ไม่สามารถที่จะออกไปทำงานได้ ลุงพรเล่าว่าการขับเรือและการเป็นนายท้ายเรือไม่มีใครสอน ทุกอย่างต้องจดจำและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการที่ต้องรู้ใจสายน้ำและจดจำคลอง ไม่ว่าจะกี่คดกี่โค้งต้องรู้ให้หมด และเป็นงานที่หนัก
ติดตามชมในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live