ที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ชาวบ้านมีความผูกพันธ์กับต้นตาลโตนดมาก เพราะเกิดมาก็เห็นต้นไม้เหล่านี้ขึ้นอยู่มากมายในพื้นที่โดยรอบบ้าน คนที่นี่เรียกต้นตาลโตนด ว่า "ต้นโหนด" เป็นการเรียกคำสั้น ๆ เหมือนที่คนปักษ์ใต้ทั่วไปคุ้นเคย ต้นตาลโตนดนี้เป็นต้นไม้ที่ขึ้นตามคันนา ประโยชน์ในอดีตรวมถึงปัจจุบันคือทำหน้าที่แบ่งเขตนาข้าวแทนหมุดที่ราชการทำขึ้นมา เพื่อเป็นการแบ่งพื้นที่แสดงความเป็นเจ้าของ ทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้นต้นตาลโตนดถือว่าเป็นไม้ที่เลี้ยงชีพชาวบ้านมารุ่นต่อรุ่น เนื่องจากทุกส่วนของต้นนั้นสามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด เช่น ลำต้นสามารถเอามาทำคานบ้าน กิ่งก้านสามารถเอามาเป็นรั้ว ในขณะที่ดอก ผล ก็สามารถเอามาเป็นอาหารได้ ชาวบ้านที่อำเภอสทิงพระนั้น ยึดอาชีพการขึ้นตาลโตนดเป็นอาชีพหลักในการดำรงชีพ แม้จะเป็นอาชีพที่ใช้กำลังกายค่อนข้างเหนื่อยและเสี่ยง อีกทั้งต้องอาศัยทักษะเฉพาะตัวในการปีนขึ้นไปเอาน้ำตาล แต่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า สามารถหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายจากอาชีพนี้ คนที่นี่ในสมัยก่อนส่วนใหญ่จะมีรายได้ส่งเสียลูกหลาน เรียนหนังสือจากการทำตาลโตนด แม้ทุกวันนี้คนทำตาลโตนดจะลดน้อยลง แต่ก็ยังมีคนยึดอาชีพทำตาลโตนดด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นงานอิสระ เป็นเจ้านายตัวเอง และสามารถหาเงินได้เป็นกอบเป็นกำ นอกจากนี้อาจจะกล่าวได้ว่าอาชีพการทำตาลโตนด เป็นอาชีพของครอบครัวด้วย เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วคนที่ยึดอาชีพนี้นั้นจะทำงานช่วยเหลือกันทั้งครอบครัว โดยสามีเป็นคนที่ปีนขึ้นไปเอาน้ำตาลลงมาจากต้น ขณะที่ภรรยาก็ต้องคอยเคี่ยวตาลให้กลายเป็นน้ำผึ้งเพื่อบรรจุขวดหรือปี๊บมาขาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ชาวบ้านมีความผูกพันธ์กับต้นตาลโตนดมาก เพราะเกิดมาก็เห็นต้นไม้เหล่านี้ขึ้นอยู่มากมายในพื้นที่โดยรอบบ้าน คนที่นี่เรียกต้นตาลโตนด ว่า "ต้นโหนด" เป็นการเรียกคำสั้น ๆ เหมือนที่คนปักษ์ใต้ทั่วไปคุ้นเคย ต้นตาลโตนดนี้เป็นต้นไม้ที่ขึ้นตามคันนา ประโยชน์ในอดีตรวมถึงปัจจุบันคือทำหน้าที่แบ่งเขตนาข้าวแทนหมุดที่ราชการทำขึ้นมา เพื่อเป็นการแบ่งพื้นที่แสดงความเป็นเจ้าของ ทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้นต้นตาลโตนดถือว่าเป็นไม้ที่เลี้ยงชีพชาวบ้านมารุ่นต่อรุ่น เนื่องจากทุกส่วนของต้นนั้นสามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด เช่น ลำต้นสามารถเอามาทำคานบ้าน กิ่งก้านสามารถเอามาเป็นรั้ว ในขณะที่ดอก ผล ก็สามารถเอามาเป็นอาหารได้ ชาวบ้านที่อำเภอสทิงพระนั้น ยึดอาชีพการขึ้นตาลโตนดเป็นอาชีพหลักในการดำรงชีพ แม้จะเป็นอาชีพที่ใช้กำลังกายค่อนข้างเหนื่อยและเสี่ยง อีกทั้งต้องอาศัยทักษะเฉพาะตัวในการปีนขึ้นไปเอาน้ำตาล แต่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า สามารถหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายจากอาชีพนี้ คนที่นี่ในสมัยก่อนส่วนใหญ่จะมีรายได้ส่งเสียลูกหลาน เรียนหนังสือจากการทำตาลโตนด แม้ทุกวันนี้คนทำตาลโตนดจะลดน้อยลง แต่ก็ยังมีคนยึดอาชีพทำตาลโตนดด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นงานอิสระ เป็นเจ้านายตัวเอง และสามารถหาเงินได้เป็นกอบเป็นกำ นอกจากนี้อาจจะกล่าวได้ว่าอาชีพการทำตาลโตนด เป็นอาชีพของครอบครัวด้วย เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วคนที่ยึดอาชีพนี้นั้นจะทำงานช่วยเหลือกันทั้งครอบครัว โดยสามีเป็นคนที่ปีนขึ้นไปเอาน้ำตาลลงมาจากต้น ขณะที่ภรรยาก็ต้องคอยเคี่ยวตาลให้กลายเป็นน้ำผึ้งเพื่อบรรจุขวดหรือปี๊บมาขาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live