บ้านอูมฮวม ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นหมู่บ้านกลางหุบเขาของชาวปกาเกอะญอ ตั้งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล ที่นี่แทบจะถูกตัดขาดกับโลกภายนอก ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ การเดินทางไปในพื้นที่ของคนที่อาศัยอยู่เหนือเขื่อน "บ้านอูมฮวม" นั้นไม่ได้ง่ายนักต้องใช้เวลาเกือบ 5 ชั่วโมง โดยเดินทางทั้งทางน้ำ และทางบก ต้องอาศัยเรือ และรถกระบะเข้าไป นอกจากนั้นที่นี่ยังพึ่งพาการขนส่งทางน้ำด้วยการใช้ เรือ ขนทุกอย่างทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ ทั้งยังรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมโบราณเอาไว้เป็นอย่างดี โดยแม้ว่าจะห่างไกล แต่ว่าชาวบ้านที่นี่โชคดีเพราะมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่ ทำให้ก่อเกิดอาชีพ "การเลี้ยงวัวดอย" โดยเกือบทุกบ้านนั้นจะยึดอาชีพนี้ในการทำกิน วัวนับ 10,000 ตัวของที่นี่จะถูกเลี้ยงแบบปล่อยเต็มภูเขาให้หากินเอง ซึ่งชาวบ้านจะสร้าง "กระท่อมเฝ้าวัว" ลักษณะเหมือนกระท่อมปลายนาทั่วไป แต่ที่พิเศษคือ นอกจากจะมีการสร้างบนพื้นดินแล้ว ยังมีการสร้างไว้บนต้นไม้ด้วย เพื่อให้สามารถหลบหนีช้างที่อาจจะเดินทางมาในพื้นที่ ที่นี่ "วัว" ถือ ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพราะว่าทำรายได้ให้กับชาวบ้านได้พอสมควร แม้การขนส่งไปขายจะยากลำบากเพราะต้องลากวัวลงแพ หรือ "โป๊ะ" โดยต้องใช้ระยะเวลาในการลากถึง 4 ชั่วโมง เพื่อไปขายที่ท่าเรือเขื่อนภูมิพล ซึ่งจะมีพ่อค้าวัวที่เดินทางมาจากทั่วสารทิศมารอรับซื้อไปขายต่อ วัวที่นี่เป็นที่ต้องการของตลาดมาก เพราะว่าเลี้ยงปล่อย แข็งแรง พ่อค้าบางคนบอกว่าวัวที่นี่นั้นเป็นวัวออร์แกนิก นอกจากจะเลี้ยงวัวเพื่อขายแล้ว ที่นี่ยังมีสัตว์อีกประเภท นั่นก็คือ "หมู" ซึ่งจะเลี้ยงกันแทบทุกหลังคาเรือน แต่วัตถุประสงค์ในการเลี้ยงหมูนั้นแตกต่างจากการเลี้ยงวัว เพราะหญิงสาวชาวปกาเกอะญอจะเลี้ยงหมูเพื่อไว้ใช้ใน "พิธีแต่งงาน" นอกจากนั้นประเพณีการแต่งงานที่นี่ก็แปลกกว่าที่เราเคยได้ยินทั่วไป เพราะว่าที่นี่ "ผู้หญิงจะเป็นคนไปสู่ขอผู้ชาย" ผู้หญิงคนไหนที่ไม่ขยัน แม้มาสู่ขอผู้ชายก็ไม่สนใจ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านอูมฮวม ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นหมู่บ้านกลางหุบเขาของชาวปกาเกอะญอ ตั้งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล ที่นี่แทบจะถูกตัดขาดกับโลกภายนอก ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ การเดินทางไปในพื้นที่ของคนที่อาศัยอยู่เหนือเขื่อน "บ้านอูมฮวม" นั้นไม่ได้ง่ายนักต้องใช้เวลาเกือบ 5 ชั่วโมง โดยเดินทางทั้งทางน้ำ และทางบก ต้องอาศัยเรือ และรถกระบะเข้าไป นอกจากนั้นที่นี่ยังพึ่งพาการขนส่งทางน้ำด้วยการใช้ เรือ ขนทุกอย่างทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ ทั้งยังรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมโบราณเอาไว้เป็นอย่างดี โดยแม้ว่าจะห่างไกล แต่ว่าชาวบ้านที่นี่โชคดีเพราะมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่ ทำให้ก่อเกิดอาชีพ "การเลี้ยงวัวดอย" โดยเกือบทุกบ้านนั้นจะยึดอาชีพนี้ในการทำกิน วัวนับ 10,000 ตัวของที่นี่จะถูกเลี้ยงแบบปล่อยเต็มภูเขาให้หากินเอง ซึ่งชาวบ้านจะสร้าง "กระท่อมเฝ้าวัว" ลักษณะเหมือนกระท่อมปลายนาทั่วไป แต่ที่พิเศษคือ นอกจากจะมีการสร้างบนพื้นดินแล้ว ยังมีการสร้างไว้บนต้นไม้ด้วย เพื่อให้สามารถหลบหนีช้างที่อาจจะเดินทางมาในพื้นที่ ที่นี่ "วัว" ถือ ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพราะว่าทำรายได้ให้กับชาวบ้านได้พอสมควร แม้การขนส่งไปขายจะยากลำบากเพราะต้องลากวัวลงแพ หรือ "โป๊ะ" โดยต้องใช้ระยะเวลาในการลากถึง 4 ชั่วโมง เพื่อไปขายที่ท่าเรือเขื่อนภูมิพล ซึ่งจะมีพ่อค้าวัวที่เดินทางมาจากทั่วสารทิศมารอรับซื้อไปขายต่อ วัวที่นี่เป็นที่ต้องการของตลาดมาก เพราะว่าเลี้ยงปล่อย แข็งแรง พ่อค้าบางคนบอกว่าวัวที่นี่นั้นเป็นวัวออร์แกนิก นอกจากจะเลี้ยงวัวเพื่อขายแล้ว ที่นี่ยังมีสัตว์อีกประเภท นั่นก็คือ "หมู" ซึ่งจะเลี้ยงกันแทบทุกหลังคาเรือน แต่วัตถุประสงค์ในการเลี้ยงหมูนั้นแตกต่างจากการเลี้ยงวัว เพราะหญิงสาวชาวปกาเกอะญอจะเลี้ยงหมูเพื่อไว้ใช้ใน "พิธีแต่งงาน" นอกจากนั้นประเพณีการแต่งงานที่นี่ก็แปลกกว่าที่เราเคยได้ยินทั่วไป เพราะว่าที่นี่ "ผู้หญิงจะเป็นคนไปสู่ขอผู้ชาย" ผู้หญิงคนไหนที่ไม่ขยัน แม้มาสู่ขอผู้ชายก็ไม่สนใจ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live