"นายฮ้อย" คือ พ่อค้าวัว - ควาย ภาคอีสาน เป็นอาชีพที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนที่นี่มาเนิ่นนาน วิธีการทำงานในอดีต คือ ต้องไล่ต้อนวัว - ควายไปขายยังต่างถิ่น โดยใช้วิธีเดินเท้าผ่านหมู่บ้าน และจังหวัดต่าง ๆ โดยทุกครั้งหลังจากซื้อวัวแล้วจะต้องมีใบอนุญาตให้นำวัวออกจากบ้านผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า "ใบปากคอก" โดยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นต้องเป็นคนเซ็นต์รับรองจึงจะขนย้ายไล่ต้อนวัวควายออกมาได้
หมู่บ้านที่ยังเรียกได้ว่าเป็น "หมู่บ้านนายฮ้อย" คือ บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ที่นี่แทบทุกครัวเรือยังทำอาชีพนายฮ้อย โดยมีทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ การซื้อขายวัวควายของที่นี่ยังคึกคัก เช่น "นายฮ้อยเหว่า" สำเภา ไหมทอง วัย 43 ปี เป็นนายฮ้อยที่มีฝีมือและลีลาในการต่อรองซื้อขายชนิดที่หาตัวจับยาก เพราะผ่านประสบการณ์การทำงานแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทุกวันนี้นายฮ้อยเหว่า จะขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนไปหาซื้อวัวควายตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อมารวมไว้ที่คอกในบริเวณบ้าน ก่อนที่จะเอาไปขายที่ตลาดนัดโคกระบือศรีขรภูมิ ซึ่งเปิดทุกวันเสาร์
บรรยากาศที่ตลาดนั้นจะเริ่มหนาแน่นไปด้วยรถกระบะและรถบรรทุกนับ 1,000 คัน ตั้งแต่เวลาเช้ามืด โดยจะมีนายฮ้อยที่เดินทางมาจากจังหวัดทั่วภาคอีสานและภาคอื่น ๆ เช่น ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, แพร่, น่าน, อุทัยธานี และเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งนายฮ้อยเหล่านี้จะมาพร้อมกับวัวควายที่ตนเองนั้นไปซื้อหาเพื่อเอามาขายที่นี่ โดยนอกจากจะขายแล้วก็มีการซื้อวัวควายกลับไปด้วย
ในตลาดนัดโคกระบือแห่งนี้มีนายฮ้อยรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ยกเว้นปากที่ต้องช่างเจรจา เรียกนายฮ้อยแบบนี้ว่า "นายฮ้อยจับเชือก" ซึ่งจะทำตัวเป็นเหมือนโมเดลลิ่งนางหรือนายแบบ เพราะว่าจะมาคัดวัวควายที่มีลักษณะดีเพื่อเอาไปขายต่อตามคำสั่ง ซึ่งจุดที่นายฮ้อยจับเชือกทำงานอยู่บริเวณริมถนนด้านหน้าตลาด โดยจะยืนเรียงคิวรอดูรถของนายฮ้อยที่นำวัวควายมาขาย เมื่อเจอวัวควายที่ถูกใจตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างที่เรียกว่า นายห้างก็จะรีบวิ่งเข้าไปเจรจา เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว "นายฮ้อยจับเชือก" ก็จะวิ่งเกาะตามรถ บ้างก็กระโดดขึ้นรถแล้วบอกทางให้นายฮ้อยไปยังจุดที่ผู้ซื้อหรือนายห้างรอซื้ออยู่
หน้าที่ของนายฮ้อยบางคนนั้นไม่ได้จบแค่การซื้อขาย แต่บางครั้งก็จะต้องเอาวัวควายไปส่งที่บ้านลูกค้าด้วย และมากกว่านั้นจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดู เพื่อให้คนที่ซื้อไปนั้นสามารถเลี้ยงวัวควายที่ตัวเองซื้อมาได้ถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ออกมามีลักษณะดีและราคาสูง เป็นการแสดงน้ำใจต่อกันด้วยใจที่สุงจริต นายฮ้อยที่นี่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาชีพนี้สร้างรายได้และสร้างความสุขให้คนที่นี่ พวกเขามีความสุขและรักที่จะทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่ไหว
การแต่งตัวนายฮ้อยที่เป็นเอกลักษณ์ส่วนใหญ่จะมีผ้าขาวม้าคาดพุง โพกหัว พันหน้า บางคนสวมหมวกปีก บางคนสวมหมวกคาวบอย แต่งตัวกันแบบนี้ทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
วิถี "นายฮ้อย" บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
"นายฮ้อย" คือ พ่อค้าวัว - ควาย ภาคอีสาน เป็นอาชีพที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนที่นี่มาเนิ่นนาน วิธีการทำงานในอดีต คือ ต้องไล่ต้อนวัว - ควายไปขายยังต่างถิ่น โดยใช้วิธีเดินเท้าผ่านหมู่บ้าน และจังหวัดต่าง ๆ โดยทุกครั้งหลังจากซื้อวัวแล้วจะต้องมีใบอนุญาตให้นำวัวออกจากบ้านผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า "ใบปากคอก" โดยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นต้องเป็นคนเซ็นต์รับรองจึงจะขนย้ายไล่ต้อนวัวควายออกมาได้
หมู่บ้านที่ยังเรียกได้ว่าเป็น "หมู่บ้านนายฮ้อย" คือ บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ที่นี่แทบทุกครัวเรือยังทำอาชีพนายฮ้อย โดยมีทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ การซื้อขายวัวควายของที่นี่ยังคึกคัก เช่น "นายฮ้อยเหว่า" สำเภา ไหมทอง วัย 43 ปี เป็นนายฮ้อยที่มีฝีมือและลีลาในการต่อรองซื้อขายชนิดที่หาตัวจับยาก เพราะผ่านประสบการณ์การทำงานแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทุกวันนี้นายฮ้อยเหว่า จะขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนไปหาซื้อวัวควายตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อมารวมไว้ที่คอกในบริเวณบ้าน ก่อนที่จะเอาไปขายที่ตลาดนัดโคกระบือศรีขรภูมิ ซึ่งเปิดทุกวันเสาร์
บรรยากาศที่ตลาดนั้นจะเริ่มหนาแน่นไปด้วยรถกระบะและรถบรรทุกนับ 1,000 คัน ตั้งแต่เวลาเช้ามืด โดยจะมีนายฮ้อยที่เดินทางมาจากจังหวัดทั่วภาคอีสานและภาคอื่น ๆ เช่น ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, แพร่, น่าน, อุทัยธานี และเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งนายฮ้อยเหล่านี้จะมาพร้อมกับวัวควายที่ตนเองนั้นไปซื้อหาเพื่อเอามาขายที่นี่ โดยนอกจากจะขายแล้วก็มีการซื้อวัวควายกลับไปด้วย
ในตลาดนัดโคกระบือแห่งนี้มีนายฮ้อยรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ยกเว้นปากที่ต้องช่างเจรจา เรียกนายฮ้อยแบบนี้ว่า "นายฮ้อยจับเชือก" ซึ่งจะทำตัวเป็นเหมือนโมเดลลิ่งนางหรือนายแบบ เพราะว่าจะมาคัดวัวควายที่มีลักษณะดีเพื่อเอาไปขายต่อตามคำสั่ง ซึ่งจุดที่นายฮ้อยจับเชือกทำงานอยู่บริเวณริมถนนด้านหน้าตลาด โดยจะยืนเรียงคิวรอดูรถของนายฮ้อยที่นำวัวควายมาขาย เมื่อเจอวัวควายที่ถูกใจตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างที่เรียกว่า นายห้างก็จะรีบวิ่งเข้าไปเจรจา เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว "นายฮ้อยจับเชือก" ก็จะวิ่งเกาะตามรถ บ้างก็กระโดดขึ้นรถแล้วบอกทางให้นายฮ้อยไปยังจุดที่ผู้ซื้อหรือนายห้างรอซื้ออยู่
หน้าที่ของนายฮ้อยบางคนนั้นไม่ได้จบแค่การซื้อขาย แต่บางครั้งก็จะต้องเอาวัวควายไปส่งที่บ้านลูกค้าด้วย และมากกว่านั้นจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดู เพื่อให้คนที่ซื้อไปนั้นสามารถเลี้ยงวัวควายที่ตัวเองซื้อมาได้ถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ออกมามีลักษณะดีและราคาสูง เป็นการแสดงน้ำใจต่อกันด้วยใจที่สุงจริต นายฮ้อยที่นี่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาชีพนี้สร้างรายได้และสร้างความสุขให้คนที่นี่ พวกเขามีความสุขและรักที่จะทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่ไหว
การแต่งตัวนายฮ้อยที่เป็นเอกลักษณ์ส่วนใหญ่จะมีผ้าขาวม้าคาดพุง โพกหัว พันหน้า บางคนสวมหมวกปีก บางคนสวมหมวกคาวบอย แต่งตัวกันแบบนี้ทั้งนายฮ้อยรุ่นเก่าและรุ่นใหม่
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ซีรีส์วิถีคน
หมอลำขอข้าว อาชีพที่ยังดำรงอยู่ด้วยน้ำใจ
ฉันให้เธอให้...แลกเปลี่ยนสร้างสุข บ้านสระแก้ว ต.สระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
หมู่บ้านโบราณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
บุญคุณต้นโหนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกลือสินเธาว์ มรดกจากผืนดิน บ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วิถี "คนเหนือเขื่อน" บ้านอูมฮวม ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วิถี "เกษตรและเกลือโบราณ" เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
"มรดกวัวควาย" บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
“นางหาบ” สืบทอดวิถีบุญ บ้านแสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย
วิถี "คนริมน้ำอิรวดี" ประเทศเมียนมา
วิถีคนเก็บเห็ดเผาะ บ้านปลายนาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนขายน้ำ บ้านวังน้ำเย็น ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย
วิถี "วัวเทียมเกวียน" บ้านป่าหัด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
วิถีคนเลี้ยงผึ้ง บ้านป่าไผ่ ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
วิถีเรือขนทราย อ.เมือง จ.ปทุมธานี
วิถีคนเกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
วิถี "คนหาปลา" ใน "ป่าพรุโต๊ะแดง"
วิถี "นายฮ้อย" บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
"ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติบ้านท่าเลน" บ้านท่าเลน ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
เรื่องเก่าในเมืองใหญ่ ซ.วานิช 1 (สำเพ็ง), ซ.วานิช 2 (ตลาดน้อย) กรุงเทพมหานคร
มรดกห้างนา บ้านป่าแดง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
“จองพารา” วิถีแห่งความศรัทธา บ้านนาปลาจาด ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีน้ำ "สายบุรี" บ้านโต๊ะโม๊ะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
วิถีลูกหาบ หัวใจแห่งภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
วิถีคนตีมีดโบราณ บ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
วิถีคลองในเมืองกรุง ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วิถีหลากศาสนาของ “ชาวจีนยูนนาน” บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
ซีรีส์วิถีคน
หมอลำขอข้าว อาชีพที่ยังดำรงอยู่ด้วยน้ำใจ
ฉันให้เธอให้...แลกเปลี่ยนสร้างสุข บ้านสระแก้ว ต.สระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
หมู่บ้านโบราณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
บุญคุณต้นโหนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกลือสินเธาว์ มรดกจากผืนดิน บ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วิถี "คนเหนือเขื่อน" บ้านอูมฮวม ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วิถี "เกษตรและเกลือโบราณ" เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
"มรดกวัวควาย" บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
“นางหาบ” สืบทอดวิถีบุญ บ้านแสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย
วิถี "คนริมน้ำอิรวดี" ประเทศเมียนมา
วิถีคนเก็บเห็ดเผาะ บ้านปลายนาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนขายน้ำ บ้านวังน้ำเย็น ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย
วิถี "วัวเทียมเกวียน" บ้านป่าหัด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
วิถีคนเลี้ยงผึ้ง บ้านป่าไผ่ ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
วิถีเรือขนทราย อ.เมือง จ.ปทุมธานี
วิถีคนเกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
วิถี "คนหาปลา" ใน "ป่าพรุโต๊ะแดง"
วิถี "นายฮ้อย" บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
"ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติบ้านท่าเลน" บ้านท่าเลน ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
เรื่องเก่าในเมืองใหญ่ ซ.วานิช 1 (สำเพ็ง), ซ.วานิช 2 (ตลาดน้อย) กรุงเทพมหานคร
มรดกห้างนา บ้านป่าแดง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
“จองพารา” วิถีแห่งความศรัทธา บ้านนาปลาจาด ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีน้ำ "สายบุรี" บ้านโต๊ะโม๊ะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
วิถีลูกหาบ หัวใจแห่งภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
วิถีคนตีมีดโบราณ บ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
วิถีคลองในเมืองกรุง ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วิถีหลากศาสนาของ “ชาวจีนยูนนาน” บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่