"บ้านท่าเลน" อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 30 - 35 กิโลเมตร ที่นี่มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีป่าโกงกางและป่าชายเลนรายรอบ ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาอิสลามกว่า 80% และมีเรือที่เรียกว่า "เรือหัวโทง" เป็นดั่งแขนขาช่วยในการออกไปหากินกลางทะเล ดังนั้นทุกครั้งที่มีเรือใหม่หรือจะเอาเรือขึ้นคาน จึงมีการ "ทำบุญเรือ" เวลาที่นำเรือเข้ามาชายฝั่ง ก็จะผูกเรือไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นทั่วริมหาดประหนึ่งบริเวณนี้เป็นอู่จอดเรือ
ผู้ใหญ่สุชาติ สงวนสินธ์ บอกว่าที่หมู่บ้านแห่งนี้มี "ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ" เพราะแค่ออกเรือจากหมู่บ้านมาไม่ถึง 10 นาทีก็จะเจอแหล่งเลี้ยงกุ้งมังกรตัวใหญ่หรือเพียงหย่อนเบ็ดมือลงไปไม่ถึง 10 วินาทีก็ได้ปลามากินแล้ว นอกจากนั้นที่นี่ยังคงวิถีหากินกับทะเลแบบดั้งเดิม เป็นวิถีง่าย ๆ ที่ชาวบ้านได้สืบทอดกันมานาน ซึ่งความคึกคักในการประกอบอาชีพทั้งในทะเลและริมฝั่งทะเลของชาวบ้านที่นี่ทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงกลางวันจะ "ตกปลาทราย" ด้วย "เหยื่อรัง" หรือไส้เดือนทะเล โดยนำเหยื่อรังเกี่ยวกับเบ็ดไม้ยาวประมาณ 2 เมตร แล้วเดินลงไปในน้ำทะเลที่หน้าหาดเพื่อยืนตกปลาทรายเพียงไม่เกิน 1 นาทีเจ้าปลาทรายก็มากินเหยื่อ นอกจากนี้ยังมีการใช้ตะขอแหลมเจาะ "หอยติบ" ซึ่งเกาะติดบนก้อนหินริมหาดมากมายนับล้าน ๆ ตัว
ช่วงกลางคืนการหากินจะต้องเชี่ยวชาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะการจับกุ้ง หรือที่เรียกว่า "โหล๊ะกุ้ง" ชาวบ้านจะใช้ไฟที่ติดศรีษะส่องไปให้แสงไฟกระทบกับตากุ้ง หากมีกุ้งก็จะเห็นเป็นแสงวิบวับสีแดงระเรื่อแทบทั้งหาด จากนั้นใช้ฉมวกแหลมที่ทำขึ้นเองแทงไปที่ตัวกุ้งทีละตัว ก็จะได้กุ้ง ซึ่งทุกวันนี้ชาวบ้านก็ยังเดินหากุ้งด้วยวิธีแบบนี้อยู่ แต่ความพิเศษคือต้องจับช่วงข้างขึ้นตอนกลางคืนเท่านั้น เพราะต้องอาศัยธรรมชาติดูพระจันทร์ และต้องทำในช่วงข้างขึ้น เวลาหัวค่ำช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ทุ่มและหัวรุ่งคือ ช่วงเวลา ตี 2 - ตี 3 ออกเดินหาครั้งละประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ก็จะได้กุ้งจำนวนมากมาทำกินและสามารถจับกุ้งได้ตลอดทั้งปี
ชาวบ้านที่นี่บอกว่า หมู่บ้านแห่งนี้จะเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างแน่นอน เพราะว่าคนทุกรุ่นที่ถูกสอนกันมาเรื่องการหากินด้วยวิถีพอเพียง เพื่อคนที่คนรุ่นหลังจะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องการทำกิน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"บ้านท่าเลน" อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 30 - 35 กิโลเมตร ที่นี่มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีป่าโกงกางและป่าชายเลนรายรอบ ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาอิสลามกว่า 80% และมีเรือที่เรียกว่า "เรือหัวโทง" เป็นดั่งแขนขาช่วยในการออกไปหากินกลางทะเล ดังนั้นทุกครั้งที่มีเรือใหม่หรือจะเอาเรือขึ้นคาน จึงมีการ "ทำบุญเรือ" เวลาที่นำเรือเข้ามาชายฝั่ง ก็จะผูกเรือไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นทั่วริมหาดประหนึ่งบริเวณนี้เป็นอู่จอดเรือ
ผู้ใหญ่สุชาติ สงวนสินธ์ บอกว่าที่หมู่บ้านแห่งนี้มี "ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ" เพราะแค่ออกเรือจากหมู่บ้านมาไม่ถึง 10 นาทีก็จะเจอแหล่งเลี้ยงกุ้งมังกรตัวใหญ่หรือเพียงหย่อนเบ็ดมือลงไปไม่ถึง 10 วินาทีก็ได้ปลามากินแล้ว นอกจากนั้นที่นี่ยังคงวิถีหากินกับทะเลแบบดั้งเดิม เป็นวิถีง่าย ๆ ที่ชาวบ้านได้สืบทอดกันมานาน ซึ่งความคึกคักในการประกอบอาชีพทั้งในทะเลและริมฝั่งทะเลของชาวบ้านที่นี่ทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงกลางวันจะ "ตกปลาทราย" ด้วย "เหยื่อรัง" หรือไส้เดือนทะเล โดยนำเหยื่อรังเกี่ยวกับเบ็ดไม้ยาวประมาณ 2 เมตร แล้วเดินลงไปในน้ำทะเลที่หน้าหาดเพื่อยืนตกปลาทรายเพียงไม่เกิน 1 นาทีเจ้าปลาทรายก็มากินเหยื่อ นอกจากนี้ยังมีการใช้ตะขอแหลมเจาะ "หอยติบ" ซึ่งเกาะติดบนก้อนหินริมหาดมากมายนับล้าน ๆ ตัว
ช่วงกลางคืนการหากินจะต้องเชี่ยวชาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะการจับกุ้ง หรือที่เรียกว่า "โหล๊ะกุ้ง" ชาวบ้านจะใช้ไฟที่ติดศรีษะส่องไปให้แสงไฟกระทบกับตากุ้ง หากมีกุ้งก็จะเห็นเป็นแสงวิบวับสีแดงระเรื่อแทบทั้งหาด จากนั้นใช้ฉมวกแหลมที่ทำขึ้นเองแทงไปที่ตัวกุ้งทีละตัว ก็จะได้กุ้ง ซึ่งทุกวันนี้ชาวบ้านก็ยังเดินหากุ้งด้วยวิธีแบบนี้อยู่ แต่ความพิเศษคือต้องจับช่วงข้างขึ้นตอนกลางคืนเท่านั้น เพราะต้องอาศัยธรรมชาติดูพระจันทร์ และต้องทำในช่วงข้างขึ้น เวลาหัวค่ำช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ทุ่มและหัวรุ่งคือ ช่วงเวลา ตี 2 - ตี 3 ออกเดินหาครั้งละประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ก็จะได้กุ้งจำนวนมากมาทำกินและสามารถจับกุ้งได้ตลอดทั้งปี
ชาวบ้านที่นี่บอกว่า หมู่บ้านแห่งนี้จะเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างแน่นอน เพราะว่าคนทุกรุ่นที่ถูกสอนกันมาเรื่องการหากินด้วยวิถีพอเพียง เพื่อคนที่คนรุ่นหลังจะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องการทำกิน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live