"จองพารา" ถูกสมมุติเป็นเหมือนปราสาทที่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญในงานเทศกาลออกพรรษาของชาวไทใหญ่ คำว่า "จอง" แปลว่าวัดหรือ ปราสาท ส่วนคำว่า "พารา" แปลว่าพระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้า พ่อหลวงตรี ชาตรี คำจิ่ง กำนันตำบลห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เล่าให้ฟังว่าชาวบ้านที่นี่นั้นมีเชื้อสายไทใหญ่ที่อพยพเดินข้ามฝั่งมาจากรัฐฉาน ประเทศเมียนมา และมีวิถีผูกพันยึดมั่นในการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตามบรรพบุรุษ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลออกพรรษาจะมีการทำจองพาราแบบวิถีเก่าดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น
โดยจองพารามี 3 แบบ
1. จองยอด = มียอดปราสาท 5 ถึง 9 ยอด
2. จองปิ๊กต่าน = ไม่มียอด นิยมบูชาไว้ที่บ้าน
3. จองเข่งต่าง หรือ จองผาสาน = ใช้ตอกสานต่อกันเป็นทรงสามเหลี่ยม ไม่มียอดปราสาท
ส่วนตัวโครงทำด้วยไม้ไผ่ มีทั้งตกแต่งด้วยกระดาษสีสันต่าง ๆ และแบบไม้ไผ่เปล่า ๆ ข้างในจะแบ่งเป็น 2 ชั้น โดยชั้นบนบางบ้านจะมีพระพุทธรูปและใส่อาหารต่าง ๆ ส่วนชั้นล่างจะใส่ผักผลไม้ เพื่อไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไป จากนั้นก็จะยกจองพาราขึ้นไว้นอกชายคาหรือนอกรั้วบ้าน "จองพารา" แต่ละหลังใช้เวลาประดิษฐ์ประมาณ 1-2 วัน "จองพารา" จะถูกตั้งไว้จนครบ 7 วัน จึงจะรื้อถอนจองพาราออกไปทิ้งหรือเผา ปีต่อไปก็ทำขึ้นมาบูชาใหม่ไม่นำมา ใช้ซ้ำ ส่วนผักผลไม้ก็ถือเป็นของมงคลนำมาทานต่อภายในบ้าน กำนันบอกว่า "ไม่ว่าจะเป็นจองพาราเล็กหรือจองพาราใหญ่ จองพาราสวยงามวิจิตรหรือจองพาราไม้ไผ่สานอันเรียบง่าย ต่างได้บุญเหมือนกัน สิ่งสำคัญมันขึ้นอยู่กับจิตใจที่ศรัทธาต่างหาก"
วันออกพรรษาของที่นี่ จะมี "การหุงข้าวมธุปายาส" หรืออาหารสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นข้าวที่หุงเจือด้วย เนย นม และน้ำผึ้ง ตามความเชื่อที่นางสุชาดาได้นำมาถวายเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ซึ่งที่ต้องตื่นมาหุงตอนเช้ามืด ประมาณตีสาม เพื่อให้ทันถวายพระสงฆ์ก่อนการสวดมนต์ ทำวัตรเช้า และทุกครั้งที่ทำพิธีต้องมีการกั้นพื้นที่ด้วยราชวัตรหรือรั้วมณฑลพิธีเล็ก ๆ เป็นแผงไม้ไผ่สานเป็นตาข่าย กำหนดขอบเขตในพื้นที่ต้องห้าม ซึ่งปัจจุบันหาคนมาทำพิธีนี้ค่อนข้างยากบางที่ไม่ทำแล้ว แต่ชาวบ้านที่นี่ยังคงมีอยู่ และทำมาไม่เคยขาด ซึ่งความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งนี้ ได้หลอมรวมเป็นเอกลักษณ์อันทรงคุณค่า ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
ซีรีส์วิถีคน
หมอลำขอข้าว อาชีพที่ยังดำรงอยู่ด้วยน้ำใจ
ฉันให้เธอให้...แลกเปลี่ยนสร้างสุข บ้านสระแก้ว ต.สระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
หมู่บ้านโบราณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
บุญคุณต้นโหนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกลือสินเธาว์ มรดกจากผืนดิน บ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วิถี "คนเหนือเขื่อน" บ้านอูมฮวม ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วิถี "เกษตรและเกลือโบราณ" เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
"มรดกวัวควาย" บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
“นางหาบ” สืบทอดวิถีบุญ บ้านแสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย
วิถี "คนริมน้ำอิรวดี" ประเทศเมียนมา
วิถีคนเก็บเห็ดเผาะ บ้านปลายนาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนขายน้ำ บ้านวังน้ำเย็น ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย
วิถี "วัวเทียมเกวียน" บ้านป่าหัด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
วิถีคนเลี้ยงผึ้ง บ้านป่าไผ่ ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
วิถีเรือขนทราย อ.เมือง จ.ปทุมธานี
วิถีคนเกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
วิถี "คนหาปลา" ใน "ป่าพรุโต๊ะแดง"
วิถี "นายฮ้อย" บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
"ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติบ้านท่าเลน" บ้านท่าเลน ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
เรื่องเก่าในเมืองใหญ่ ซ.วานิช 1 (สำเพ็ง), ซ.วานิช 2 (ตลาดน้อย) กรุงเทพมหานคร
มรดกห้างนา บ้านป่าแดง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
“จองพารา” วิถีแห่งความศรัทธา บ้านนาปลาจาด ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีน้ำ "สายบุรี" บ้านโต๊ะโม๊ะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
วิถีลูกหาบ หัวใจแห่งภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
วิถีคนตีมีดโบราณ บ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
วิถีคลองในเมืองกรุง ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วิถีหลากศาสนาของ “ชาวจีนยูนนาน” บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
ซีรีส์วิถีคน
หมอลำขอข้าว อาชีพที่ยังดำรงอยู่ด้วยน้ำใจ
ฉันให้เธอให้...แลกเปลี่ยนสร้างสุข บ้านสระแก้ว ต.สระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
หมู่บ้านโบราณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
บุญคุณต้นโหนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกลือสินเธาว์ มรดกจากผืนดิน บ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วิถี "คนเหนือเขื่อน" บ้านอูมฮวม ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วิถี "เกษตรและเกลือโบราณ" เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
"มรดกวัวควาย" บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
“นางหาบ” สืบทอดวิถีบุญ บ้านแสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย
วิถี "คนริมน้ำอิรวดี" ประเทศเมียนมา
วิถีคนเก็บเห็ดเผาะ บ้านปลายนาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนขายน้ำ บ้านวังน้ำเย็น ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย
วิถี "วัวเทียมเกวียน" บ้านป่าหัด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
วิถีคนเลี้ยงผึ้ง บ้านป่าไผ่ ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
วิถีเรือขนทราย อ.เมือง จ.ปทุมธานี
วิถีคนเกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
วิถี "คนหาปลา" ใน "ป่าพรุโต๊ะแดง"
วิถี "นายฮ้อย" บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
"ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติบ้านท่าเลน" บ้านท่าเลน ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
เรื่องเก่าในเมืองใหญ่ ซ.วานิช 1 (สำเพ็ง), ซ.วานิช 2 (ตลาดน้อย) กรุงเทพมหานคร
มรดกห้างนา บ้านป่าแดง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
“จองพารา” วิถีแห่งความศรัทธา บ้านนาปลาจาด ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีน้ำ "สายบุรี" บ้านโต๊ะโม๊ะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
วิถีลูกหาบ หัวใจแห่งภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
วิถีคนตีมีดโบราณ บ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
วิถีคลองในเมืองกรุง ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วิถีหลากศาสนาของ “ชาวจีนยูนนาน” บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่