อาชีพ "ตีมีด" เป็นอีกอาชีพหนึ่งของคนบ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ที่ทำมาหาเลี้ยงชีพควบคู่กับการทำนามานับร้อยปี และยังคงสืบทอดภูมิปัญญาที่มีคุณค่านี้มาถึงปัจจุบัน
ผู้ใหญ่สมใจ พันธ์ทอง ช่างตีมีดมือหนึ่งที่สืบทอดมรดกทางภูมิปัญญา มาจากรุ่นปู่เล่าว่า เมื่อมาถึงหมู่บ้านจะได้ยินเสียงตีมีดดังโป๊ก ๆ อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน นั่นก็คือเสียงตีมีด เพราะว่าที่นี่ประกอบอาชีพนี้กันเกือบทุกบ้าน ที่สำคัญคือช่างตีมีดนั้นมีทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ชื่อเสียงการตีมีดของที่นี่นั้นโด่งดังไปทั่วอีสาน เพราะนอกจากฝีมือที่ประณีตของช่างแล้ว ยังเกี่ยวกับการใช้เหล็กที่มีคุณภาพ โดยเลือกแหนบทั้งจากรถยุโรปและรถญี่ปุ่น ซึ่งมีความแข็งแรงคงทน จึงได้รับความนิยมจากลูกค้าทั่วภาคอีสาน
หลังจากสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวช่างจากหมู่บ้านจะขนอุปกรณ์พร้อมหุ่นมีดออกไปเร่ตีมีด ซ่อมมีดตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน โดยส่วนใหญ่เลือกหมู่บ้านที่ทำการเกษตร เพราะว่าจำเป็นต้องใช้มีด พร้า ในการทำไร่ ทำสวน การเดินทางไปที่ต่าง ๆ นั้นส่วนใหญ่ก็ไปสร้างเพิงพักเอาเอง หรือ ไม่ก็ไปขออาศัยวัดเป็นที่หลับนอน อย่างกรณีของ ช่างเริ่ม บุญเริ่ม น้อยนิ่ม และช่างแอ ประดิษฐ์ ไชยพันธ์ ได้เดินทางไปที่ อำเภอโกสุมพิสัย จีงหวัดมหาสารคาม เพราะหมู่บ้านย่านนี้ทำไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง มีการซ่อมมีดและสั่งซื้อมีดจำนวนมาก ช่างทั้งสองคนอาศัยศาลาใกล้เมรุของวัดบ้านดู่เหนือเป็นที่พักและรับซ่อมมีด ตีมีด ตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนอีกทีมคือ ช่างวิชิต อินทรบุตร และทีมงาน เลือกทำเลประจำที่เคยมานับสิบปี คือพื้นที่ใกล้หนองน้ำหลังตลาด อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ กางเต็นท์ที่พักและโรงตีเหล็ก ตีมีดจากเหล็กกล้าและซ่อมอุปกรณ์การเกษตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมีดประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเสียมและขวาน
ซึ่งช่างตีมีดต้องแบ่งหน้าที่กันทำงาน ช่างแอ เป็นช่างใหญ่ ทำหน้าที่ชุบคม ตีมีดและควบคุมคุณภาพ ส่วนช่างเริ่มทำหน้าที่เป็นทั้งคนลงค้อนตีมีด และขี่มอเตอร์ไซค์ออกไปขายมีด รับมาซ่อม และนำมีดกลับไปส่งลูกค้าราคามีดใหม่ที่ตีจากเหล็กแหนบ เริ่มต้นเพียง 150 บาท ส่วนการซ่อมราคาเริ่มต้นที่ชิ้นละ 60 บาท ขึ้นอยู่กับอาการและขนาดของมีด นับเป็นราคาที่ไม่แพงหากเป็นงานที่ทำจากช่างตีมีดจากตำบลหญ้าปล้อง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งแม้เป็นช่างที่ใช้กรรมวิธีตีมีดแบบโบราณแต่มีความประณีตและสามารถการันตีคุณภาพได้ จึงยังได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งทั้งช่างตีมีดและลูกค้าต่างเชื่อว่า อาชีพนี้จะยังคงอยู่คู่กับสังคมเกษตรกร
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
อาชีพ "ตีมีด" เป็นอีกอาชีพหนึ่งของคนบ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ที่ทำมาหาเลี้ยงชีพควบคู่กับการทำนามานับร้อยปี และยังคงสืบทอดภูมิปัญญาที่มีคุณค่านี้มาถึงปัจจุบัน
ผู้ใหญ่สมใจ พันธ์ทอง ช่างตีมีดมือหนึ่งที่สืบทอดมรดกทางภูมิปัญญา มาจากรุ่นปู่เล่าว่า เมื่อมาถึงหมู่บ้านจะได้ยินเสียงตีมีดดังโป๊ก ๆ อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน นั่นก็คือเสียงตีมีด เพราะว่าที่นี่ประกอบอาชีพนี้กันเกือบทุกบ้าน ที่สำคัญคือช่างตีมีดนั้นมีทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ชื่อเสียงการตีมีดของที่นี่นั้นโด่งดังไปทั่วอีสาน เพราะนอกจากฝีมือที่ประณีตของช่างแล้ว ยังเกี่ยวกับการใช้เหล็กที่มีคุณภาพ โดยเลือกแหนบทั้งจากรถยุโรปและรถญี่ปุ่น ซึ่งมีความแข็งแรงคงทน จึงได้รับความนิยมจากลูกค้าทั่วภาคอีสาน
หลังจากสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวช่างจากหมู่บ้านจะขนอุปกรณ์พร้อมหุ่นมีดออกไปเร่ตีมีด ซ่อมมีดตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน โดยส่วนใหญ่เลือกหมู่บ้านที่ทำการเกษตร เพราะว่าจำเป็นต้องใช้มีด พร้า ในการทำไร่ ทำสวน การเดินทางไปที่ต่าง ๆ นั้นส่วนใหญ่ก็ไปสร้างเพิงพักเอาเอง หรือ ไม่ก็ไปขออาศัยวัดเป็นที่หลับนอน อย่างกรณีของ ช่างเริ่ม บุญเริ่ม น้อยนิ่ม และช่างแอ ประดิษฐ์ ไชยพันธ์ ได้เดินทางไปที่ อำเภอโกสุมพิสัย จีงหวัดมหาสารคาม เพราะหมู่บ้านย่านนี้ทำไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง มีการซ่อมมีดและสั่งซื้อมีดจำนวนมาก ช่างทั้งสองคนอาศัยศาลาใกล้เมรุของวัดบ้านดู่เหนือเป็นที่พักและรับซ่อมมีด ตีมีด ตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนอีกทีมคือ ช่างวิชิต อินทรบุตร และทีมงาน เลือกทำเลประจำที่เคยมานับสิบปี คือพื้นที่ใกล้หนองน้ำหลังตลาด อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ กางเต็นท์ที่พักและโรงตีเหล็ก ตีมีดจากเหล็กกล้าและซ่อมอุปกรณ์การเกษตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมีดประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเสียมและขวาน
ซึ่งช่างตีมีดต้องแบ่งหน้าที่กันทำงาน ช่างแอ เป็นช่างใหญ่ ทำหน้าที่ชุบคม ตีมีดและควบคุมคุณภาพ ส่วนช่างเริ่มทำหน้าที่เป็นทั้งคนลงค้อนตีมีด และขี่มอเตอร์ไซค์ออกไปขายมีด รับมาซ่อม และนำมีดกลับไปส่งลูกค้าราคามีดใหม่ที่ตีจากเหล็กแหนบ เริ่มต้นเพียง 150 บาท ส่วนการซ่อมราคาเริ่มต้นที่ชิ้นละ 60 บาท ขึ้นอยู่กับอาการและขนาดของมีด นับเป็นราคาที่ไม่แพงหากเป็นงานที่ทำจากช่างตีมีดจากตำบลหญ้าปล้อง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งแม้เป็นช่างที่ใช้กรรมวิธีตีมีดแบบโบราณแต่มีความประณีตและสามารถการันตีคุณภาพได้ จึงยังได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งทั้งช่างตีมีดและลูกค้าต่างเชื่อว่า อาชีพนี้จะยังคงอยู่คู่กับสังคมเกษตรกร
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live