ตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี แม้จะอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ และมีการขยายตัวของเมืองเข้ามาทุกทิศทาง ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมถูกเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย แต่ผู้คนที่นี่จำนวนมากยังทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นทำสวนหรือทำนา มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และผืนนาหลังการเก็บเกี่ยวนี่เอง ที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างชาวนาและคนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
นางกมลพร ใจสะอาด (ดาว) และนายณรงค์แก้วมณี (พร) เจ้าของเป็ดไล่ทุ่ง 12,000 ตัว อาศัยพื้นที่ในอำเภอนี้ เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งมา 8 ปีแล้ว ทั้งสองคนบอกว่า ลาดหลุมแก้วน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ทั้งปี และในผืนนาเต็มไปด้วยข้าวเปลือกและหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นอาหารชั้นดี ทำให้ไข่เป็ดมีคุณภาพ ที่สำคัญคือชาวนาที่นี่มีน้ำใจให้นำเป็ดลงไปเลี้ยงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
เป็ดไล่ทุ่งนั้นมีการเลี้ยงกันมากในแถบภาคกลางของประเทศไทย เป็นการเลี้ยงที่ช่วยลดต้นทุนคนเลี้ยงเป็ดได้มาก ในขณะเดียวกันยังช่วยชาวนาลดต้นทุนในการตัดข้าวดีด หรือ ข้าวปน ซึ่งเป็นวัชพืชได้ตั้งแต่ต้นทาง เพราะหากข้าวดีดงอกขึ้นมาปะปนกับข้าวคุณภาพ ชาวนาต้องจ้างแรงงานในการตัดรอบละหลายพันบาทต่อแปลง ทั้งนี้ก่อนที่เป็ดจะมาลงแปลงนาจะต้องสูบน้ำให้เต็มและไม่ฉีดยาฆ่าแมลงในแปลง ช่วยเป็ดไม่ให้ร้อนและไม่เป็นอันตราย โดยทั้งหมดนี้ไม่มีการเรียกร้องค่าตอบแทน เพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ คือเป็ดได้มีอาหารกินจนคนเลี้ยงได้ไข่เป็ดมาขาย ส่วนชาวนาก็ได้กำจัดศัตรูข้าว นอกจากนี้แล้วแล้วยังมีน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น คนเลี้ยงเป็ดจะนำไข่มาให้ชาวนากิน ชาวนาเองหากมีพืชผลในส่วนก็แบ่งปันคนเลี้ยงเป็ดเช่นกัน
ไข่ที่ได้จากการปล่อยเลี้ยงกลางทุ่งนั้นจะมีสีที่แตกต่างกัน คือ ไข่เป็ดที่กินหอย จะมีสีแดงส้ม ส่วนไข่เป็ดที่กินข้าวตกจะมีสีเหลือง คนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งนั้นสามารถทำรายได้จากไข่เป็ดได้เป็นจำนวนมากต่อปี หากเจ้าของเป็ดคนใดเลี้ยงเป็ดสาวขายด้วยก็สามารถเพิ่มรายได้ขึ้นมาอีกเท่าตัว
ปัจจุบันนี้ คนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งนั้นมีจำนวนที่มากขึ้น ทำให้อาหารของเป็ดนั้นไม่พอเพียง ต้องมีการเดินทางไกลไปทางภาคอีสาน เพื่อหาอาหารให้เป็ดกิน โดยการเดินทางนั้นส่วนใหญ่จะเดินทางกลางคืนหรือเช้ามืด เพื่อไม่ให้เป็ดร้อน จนถึงแก่ชีวิตได้ และเจ้าของเป็ดต้องมีใบขนย้ายสัตว์ข้ามเขต เพื่อยืนยันว่าทำถูกกฎหมาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี แม้จะอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ และมีการขยายตัวของเมืองเข้ามาทุกทิศทาง ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมถูกเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย แต่ผู้คนที่นี่จำนวนมากยังทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นทำสวนหรือทำนา มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และผืนนาหลังการเก็บเกี่ยวนี่เอง ที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างชาวนาและคนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
นางกมลพร ใจสะอาด (ดาว) และนายณรงค์แก้วมณี (พร) เจ้าของเป็ดไล่ทุ่ง 12,000 ตัว อาศัยพื้นที่ในอำเภอนี้ เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งมา 8 ปีแล้ว ทั้งสองคนบอกว่า ลาดหลุมแก้วน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ทั้งปี และในผืนนาเต็มไปด้วยข้าวเปลือกและหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นอาหารชั้นดี ทำให้ไข่เป็ดมีคุณภาพ ที่สำคัญคือชาวนาที่นี่มีน้ำใจให้นำเป็ดลงไปเลี้ยงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
เป็ดไล่ทุ่งนั้นมีการเลี้ยงกันมากในแถบภาคกลางของประเทศไทย เป็นการเลี้ยงที่ช่วยลดต้นทุนคนเลี้ยงเป็ดได้มาก ในขณะเดียวกันยังช่วยชาวนาลดต้นทุนในการตัดข้าวดีด หรือ ข้าวปน ซึ่งเป็นวัชพืชได้ตั้งแต่ต้นทาง เพราะหากข้าวดีดงอกขึ้นมาปะปนกับข้าวคุณภาพ ชาวนาต้องจ้างแรงงานในการตัดรอบละหลายพันบาทต่อแปลง ทั้งนี้ก่อนที่เป็ดจะมาลงแปลงนาจะต้องสูบน้ำให้เต็มและไม่ฉีดยาฆ่าแมลงในแปลง ช่วยเป็ดไม่ให้ร้อนและไม่เป็นอันตราย โดยทั้งหมดนี้ไม่มีการเรียกร้องค่าตอบแทน เพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ คือเป็ดได้มีอาหารกินจนคนเลี้ยงได้ไข่เป็ดมาขาย ส่วนชาวนาก็ได้กำจัดศัตรูข้าว นอกจากนี้แล้วแล้วยังมีน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น คนเลี้ยงเป็ดจะนำไข่มาให้ชาวนากิน ชาวนาเองหากมีพืชผลในส่วนก็แบ่งปันคนเลี้ยงเป็ดเช่นกัน
ไข่ที่ได้จากการปล่อยเลี้ยงกลางทุ่งนั้นจะมีสีที่แตกต่างกัน คือ ไข่เป็ดที่กินหอย จะมีสีแดงส้ม ส่วนไข่เป็ดที่กินข้าวตกจะมีสีเหลือง คนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งนั้นสามารถทำรายได้จากไข่เป็ดได้เป็นจำนวนมากต่อปี หากเจ้าของเป็ดคนใดเลี้ยงเป็ดสาวขายด้วยก็สามารถเพิ่มรายได้ขึ้นมาอีกเท่าตัว
ปัจจุบันนี้ คนเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งนั้นมีจำนวนที่มากขึ้น ทำให้อาหารของเป็ดนั้นไม่พอเพียง ต้องมีการเดินทางไกลไปทางภาคอีสาน เพื่อหาอาหารให้เป็ดกิน โดยการเดินทางนั้นส่วนใหญ่จะเดินทางกลางคืนหรือเช้ามืด เพื่อไม่ให้เป็ดร้อน จนถึงแก่ชีวิตได้ และเจ้าของเป็ดต้องมีใบขนย้ายสัตว์ข้ามเขต เพื่อยืนยันว่าทำถูกกฎหมาย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live