เกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา เป็นเกาะขนาดใหญ่ในทะเลอันดามัน เดินทางโดยทางเรือ ทั้งจากจังหวัดกระบี่, พังงา และภูเก็ต ใช้เวลาในการเดินทางไปประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ซึ่งมีทั้งเรือโดยสารไม้แบบเก่าและเรือสปีดโบ๊ท คนที่นี่นับถือศาสนาอิสลาม
นางวิวา อุปมา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย เล่าว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ ล้วนเป็นเครือญาติกัน จึงมีการเดินทางไปมาหาสู่กันตลอด โดยคนทั้งสองเกาะจะเดินทางไปโดยเรือเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 - 10 นาที ค่าโดยสารเที่ยวละ 20 บาท/คน ส่วนใหญ่คนเกาะยาวใหญ่จะเดินทางมาที่เกาะยาวน้อย เพราะทั้งโรงเรียนและหน่วยงานราชการตั้งอยู่บนเกาะยาวน้อยนั่นเอง
วิถีชีวิตของคนทั้งสองเกาะ ยังคงมีวิถีดั้งเดิมอยู่บ้าง แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวกันเยอะ แต่เมื่อเกิดโรคโควิด-19 คนที่นี่ก็กลับมาทำประมง, ทำนา, ทำสวนผลไม้กันมากขึ้น การปลูกข้าวกินเองของคนที่นี่นั้นก็ทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกาะยาวน้อย อีกอย่างหนึ่งก็คือการปลูกไม้ตะเคียนก็มีให้เห็นทั่วไป โดยชาวบ้านที่นี่จะนิยมปลูกไม้ชนิดนี้ไว้เพื่อนำมาใช้สร้างบ้านและทำเรือ
นอกจากนี้ยังมีความผูกพันกับสัตว์ประจำถิ่นที่เรียกว่า "นกเงียก" หรือ นกเงือกเล็ก (นกแก๊ก Oriental pied hornbill) เป็นพิเศษ โดย ภราดร บุตรละคร (พี่ภราดร) กลุ่มชุมชนคนรักนกเงือก เกาะยาวน้อย ผู้เฝ้าสังเกตและเก็บภาพนกเงือกมานานกว่า 6 ปี เล่าว่าสมัยก่อนคนที่นี่คุ้นเคยกับการเห็นนกเงือกอยู่บินอยู่ในป่า แต่ช่วงหนึ่งนกเงือกบนเกาะยาวน้อยลดลง เพราะต้นไม้ใหญ่ในป่าที่เป็นโพรงรังลดน้อยลง เมื่อมีการขยายตัวของชุมชน ทำให้นกเงือกเข้ามาหารังโพรงเพื่อวางไข่ขยายพันธุ์ ตามต้นไม้ริมถนน โพรงไม้ในรีสอร์ตและหลังบ้านในกุโบร์ หรือ แม้แต่โอ่ง ไหในสวน แม้ป่าจะน้อยลงแต่คนเกาะยาวน้อยกลับได้ใกล้ชิดนกเงือกมากขึ้น ได้เห็นพฤติกรรม ได้สังเกตชีวิต ความน่ารักของนกเงือกของนกเงือก ยิ่งทำให้คนเกาะยาวน้อยช่วยกันดูแล
บังฮอน บรรจง ศรีสมุทร และลุงเหิม ร.ต.อ.เหิม พงศ์สิงห์ เป็นส่วนหนึ่งของคนเกาะยาวน้อยที่ใช้ต้นไม้หลังบ้านสร้างโพรงรังเทียมลักษณะเป็นกล่องไม้หลากหลายรูปแบบ แล้วนำไปแขวนไว้ให้นกเงือกได้อาศัยขยายพันธุ์ และใต้โพรงรังเทียมนี่เองที่มีหลักฐานชัดเจนว่า นกเงือกมีส่วนช่วยสร้างป่าและขยายพันธุ์ไม้ เพราะเมื่อนกกินอะไรเข้าไปก็จะอึออกมา ช่วยสร้างต้นไม้ให้เกิดขึ้น
"ต้นเต่าร้าง ต้นไทร ต้นปาล์ม ที่งอกขึ้นมา สามารถนำไปปลูกขยายพันธุ์ได้เลย นกเงือกเพาะให้แล้ว" บังฮอนบอกว่าอย่างนั้น แต่หากถามคนเกาะยาวน้อย ทุกคนพูดเหมือนกันว่ามีความผูกพันกับนกเงือกในสองรูปแบบ คือทั้งรักทั้งชัง แต่ยังยินดีกว่าที่ได้เห็น
"เห็นนกเงือกทุกวัน เขาเปรียบเสมือนเพื่อน เหมือนคนอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ตื่นมาก็ได้ยินเสียง ตอนเย็นก่อนกินข้าวก็ได้ยินเสียง มันเหมือนเป็นเสียงเพลงในชีวิตไปแล้ว ไม่มีนกเงือก ก็ไม่ใช่เกาะยาวน้อย" พรทิพย์ ศรีสมุทร (ด้า) ชาวเกาะยาวน้อยพูดถึงนกเงือกอย่างมีความสุข
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา เป็นเกาะขนาดใหญ่ในทะเลอันดามัน เดินทางโดยทางเรือ ทั้งจากจังหวัดกระบี่, พังงา และภูเก็ต ใช้เวลาในการเดินทางไปประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ซึ่งมีทั้งเรือโดยสารไม้แบบเก่าและเรือสปีดโบ๊ท คนที่นี่นับถือศาสนาอิสลาม
นางวิวา อุปมา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย เล่าว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ ล้วนเป็นเครือญาติกัน จึงมีการเดินทางไปมาหาสู่กันตลอด โดยคนทั้งสองเกาะจะเดินทางไปโดยเรือเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 - 10 นาที ค่าโดยสารเที่ยวละ 20 บาท/คน ส่วนใหญ่คนเกาะยาวใหญ่จะเดินทางมาที่เกาะยาวน้อย เพราะทั้งโรงเรียนและหน่วยงานราชการตั้งอยู่บนเกาะยาวน้อยนั่นเอง
วิถีชีวิตของคนทั้งสองเกาะ ยังคงมีวิถีดั้งเดิมอยู่บ้าง แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวกันเยอะ แต่เมื่อเกิดโรคโควิด-19 คนที่นี่ก็กลับมาทำประมง, ทำนา, ทำสวนผลไม้กันมากขึ้น การปลูกข้าวกินเองของคนที่นี่นั้นก็ทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกาะยาวน้อย อีกอย่างหนึ่งก็คือการปลูกไม้ตะเคียนก็มีให้เห็นทั่วไป โดยชาวบ้านที่นี่จะนิยมปลูกไม้ชนิดนี้ไว้เพื่อนำมาใช้สร้างบ้านและทำเรือ
นอกจากนี้ยังมีความผูกพันกับสัตว์ประจำถิ่นที่เรียกว่า "นกเงียก" หรือ นกเงือกเล็ก (นกแก๊ก Oriental pied hornbill) เป็นพิเศษ โดย ภราดร บุตรละคร (พี่ภราดร) กลุ่มชุมชนคนรักนกเงือก เกาะยาวน้อย ผู้เฝ้าสังเกตและเก็บภาพนกเงือกมานานกว่า 6 ปี เล่าว่าสมัยก่อนคนที่นี่คุ้นเคยกับการเห็นนกเงือกอยู่บินอยู่ในป่า แต่ช่วงหนึ่งนกเงือกบนเกาะยาวน้อยลดลง เพราะต้นไม้ใหญ่ในป่าที่เป็นโพรงรังลดน้อยลง เมื่อมีการขยายตัวของชุมชน ทำให้นกเงือกเข้ามาหารังโพรงเพื่อวางไข่ขยายพันธุ์ ตามต้นไม้ริมถนน โพรงไม้ในรีสอร์ตและหลังบ้านในกุโบร์ หรือ แม้แต่โอ่ง ไหในสวน แม้ป่าจะน้อยลงแต่คนเกาะยาวน้อยกลับได้ใกล้ชิดนกเงือกมากขึ้น ได้เห็นพฤติกรรม ได้สังเกตชีวิต ความน่ารักของนกเงือกของนกเงือก ยิ่งทำให้คนเกาะยาวน้อยช่วยกันดูแล
บังฮอน บรรจง ศรีสมุทร และลุงเหิม ร.ต.อ.เหิม พงศ์สิงห์ เป็นส่วนหนึ่งของคนเกาะยาวน้อยที่ใช้ต้นไม้หลังบ้านสร้างโพรงรังเทียมลักษณะเป็นกล่องไม้หลากหลายรูปแบบ แล้วนำไปแขวนไว้ให้นกเงือกได้อาศัยขยายพันธุ์ และใต้โพรงรังเทียมนี่เองที่มีหลักฐานชัดเจนว่า นกเงือกมีส่วนช่วยสร้างป่าและขยายพันธุ์ไม้ เพราะเมื่อนกกินอะไรเข้าไปก็จะอึออกมา ช่วยสร้างต้นไม้ให้เกิดขึ้น
"ต้นเต่าร้าง ต้นไทร ต้นปาล์ม ที่งอกขึ้นมา สามารถนำไปปลูกขยายพันธุ์ได้เลย นกเงือกเพาะให้แล้ว" บังฮอนบอกว่าอย่างนั้น แต่หากถามคนเกาะยาวน้อย ทุกคนพูดเหมือนกันว่ามีความผูกพันกับนกเงือกในสองรูปแบบ คือทั้งรักทั้งชัง แต่ยังยินดีกว่าที่ได้เห็น
"เห็นนกเงือกทุกวัน เขาเปรียบเสมือนเพื่อน เหมือนคนอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ตื่นมาก็ได้ยินเสียง ตอนเย็นก่อนกินข้าวก็ได้ยินเสียง มันเหมือนเป็นเสียงเพลงในชีวิตไปแล้ว ไม่มีนกเงือก ก็ไม่ใช่เกาะยาวน้อย" พรทิพย์ ศรีสมุทร (ด้า) ชาวเกาะยาวน้อยพูดถึงนกเงือกอย่างมีความสุข
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live