บ้านวังใหม่ ตำบลท่าวังช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นหมู่บ้านที่มีน้องชาวอีสานย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นสภาพสังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งภาษา อาหาร และการประกอบอาชีพจึงคงเอกลักษณ์ความเป็นอีสานอยู่มาก ทั้งเรื่องการกินและวิถีการใช้ชีวิต
ที่ตั้งของบ้านวังใหม่มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงทำการเกษตรได้หลากหลาย ปลูกข้าว อ้อย มัน - สำปะหลัง ยางพารา กระเจี๊ยบ และพื้นที่เดียวกันนี้ยังเป็นแหล่งอาหารต่าง ๆ เช่น ผัก หอย ปลา ปู
ผู้ใหญ่สำเริง สำเริง บุญวิทย์ ผู้ใหญ่บ้านวังใหม่ หมู่ที่ 17 บอกทีมงานว่า เพราะทำการเกษตรที่หลากหลาย และอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแตกต่างกัน ทำให้ "รถอีแต๊ก" กลายเป็นรถสำคัญของคนบ้านวังใหม่ อีกทั้งราคาที่ไม่แพงนัก ใช้งานได้นาน และใช้ได้สารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะใช้สำหรับขนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำไร่ทำนา และใช้ในการเดินทาง ใช้ได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน หมู่บ้านวังใหม่เลยกลายเป็นศูนย์รวมของรถอีแต๊กหลายหลายรูปแบบ เช่น มีหลังคาไว้สำหรับพักนอนได้ มีที่เก็บของหลังรถเพื่อใช้ใส่อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
เรื่องที่คนบ้านวังใหม่ให้ความสำคัญ คือ เรื่องของ การทำบุญ โดยเฉพาะที่วัดนั้นถือว่าเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในวัดจึงเกิดความความสามัคคีร่วมแรง ร่วมใจ เช่น การสร้างพระประธานขนาดใหญ่ก็สร้างด้วยมือของคนในหมู่บ้าน ใครมีแรงช่วยแรง ใครมีกำลังทรัพย์ก็ช่วยกัน รวมถึงการดูแลวัดและพระสงฆ์ จะมี "พ่อออกค้ำ" และ "แม่ออกค้ำ" ซึ่งหมายถึง โยมอุปัฏฐาก หรือ อุบาสก อุบาสิกา ที่คอยอุ้มชู พระพุทธศาสนา มาคอยดูแลความสะอาดวัด จัดหาภัตตาหารถวายพระสงฆ์ ที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนกันมาในวัดตลอดทุกวัน โดยเฉพาะพ่อทราย บุญมี ศรีหอมกลิ่น พ่อออกค้ำนักประดิษฐ์ ทำสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ภายในวัด เช่น ที่นั่ง ศาลาที่พัก ให้ผู้คนที่มาวัดได้อาศัยและยังอาสาขับรถสกายแลปพาพระไปบิณฑบาต รวมถึงไปบอกข่าวคราวต่าง ๆ เกี่ยวกับวัด ให้กับพี่น้องบ้านวังมน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร พ่อทรายบอกว่ามีความสุขที่ได้ทำบุญและช่วยให้ผู้อื่นได้ทำบุญ ถือเป็นการเตรียมตัวก่อนตาย ซึ่งพ่อออกค้ำ แม่ออกค้ำที่นี่ทุกคน ก็มีวิถีปฏิบัติในการดูแลวัดคล้าย ๆ กัน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านวังใหม่ ตำบลท่าวังช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นหมู่บ้านที่มีน้องชาวอีสานย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นสภาพสังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งภาษา อาหาร และการประกอบอาชีพจึงคงเอกลักษณ์ความเป็นอีสานอยู่มาก ทั้งเรื่องการกินและวิถีการใช้ชีวิต
ที่ตั้งของบ้านวังใหม่มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงทำการเกษตรได้หลากหลาย ปลูกข้าว อ้อย มัน - สำปะหลัง ยางพารา กระเจี๊ยบ และพื้นที่เดียวกันนี้ยังเป็นแหล่งอาหารต่าง ๆ เช่น ผัก หอย ปลา ปู
ผู้ใหญ่สำเริง สำเริง บุญวิทย์ ผู้ใหญ่บ้านวังใหม่ หมู่ที่ 17 บอกทีมงานว่า เพราะทำการเกษตรที่หลากหลาย และอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแตกต่างกัน ทำให้ "รถอีแต๊ก" กลายเป็นรถสำคัญของคนบ้านวังใหม่ อีกทั้งราคาที่ไม่แพงนัก ใช้งานได้นาน และใช้ได้สารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะใช้สำหรับขนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำไร่ทำนา และใช้ในการเดินทาง ใช้ได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน หมู่บ้านวังใหม่เลยกลายเป็นศูนย์รวมของรถอีแต๊กหลายหลายรูปแบบ เช่น มีหลังคาไว้สำหรับพักนอนได้ มีที่เก็บของหลังรถเพื่อใช้ใส่อุปกรณ์ในการก่อสร้าง
เรื่องที่คนบ้านวังใหม่ให้ความสำคัญ คือ เรื่องของ การทำบุญ โดยเฉพาะที่วัดนั้นถือว่าเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในวัดจึงเกิดความความสามัคคีร่วมแรง ร่วมใจ เช่น การสร้างพระประธานขนาดใหญ่ก็สร้างด้วยมือของคนในหมู่บ้าน ใครมีแรงช่วยแรง ใครมีกำลังทรัพย์ก็ช่วยกัน รวมถึงการดูแลวัดและพระสงฆ์ จะมี "พ่อออกค้ำ" และ "แม่ออกค้ำ" ซึ่งหมายถึง โยมอุปัฏฐาก หรือ อุบาสก อุบาสิกา ที่คอยอุ้มชู พระพุทธศาสนา มาคอยดูแลความสะอาดวัด จัดหาภัตตาหารถวายพระสงฆ์ ที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนกันมาในวัดตลอดทุกวัน โดยเฉพาะพ่อทราย บุญมี ศรีหอมกลิ่น พ่อออกค้ำนักประดิษฐ์ ทำสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ภายในวัด เช่น ที่นั่ง ศาลาที่พัก ให้ผู้คนที่มาวัดได้อาศัยและยังอาสาขับรถสกายแลปพาพระไปบิณฑบาต รวมถึงไปบอกข่าวคราวต่าง ๆ เกี่ยวกับวัด ให้กับพี่น้องบ้านวังมน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร พ่อทรายบอกว่ามีความสุขที่ได้ทำบุญและช่วยให้ผู้อื่นได้ทำบุญ ถือเป็นการเตรียมตัวก่อนตาย ซึ่งพ่อออกค้ำ แม่ออกค้ำที่นี่ทุกคน ก็มีวิถีปฏิบัติในการดูแลวัดคล้าย ๆ กัน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live