บ้านเปียงก่อ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน หมู่บ้านกลางหุบเขาริมแม่น้ำน่าน เป็นหมู่บ้านที่ครั้งหนึ่งอยู่ห่างไกลจากความสะดวกสบาย ชาวบ้านใช้ชีวิตอยู่กับป่าเขา ใช้พื้นที่ป่าและภูเขาเป็นที่ทำกินและอยู่อาศัย การเดินทางเข้าเมืองเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เป็นเรื่องที่แสนลำบาก รวมถึงการเข้ามาของคนภายนอกก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน ทำให้อัตลักษณ์ที่พวกเขามีนั้น ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน แม้ความความสะดวกสบายจะเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านมาหลายปีแล้ว
หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ยังคงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำมาหากินอยู่กับสภาพภูมิประเทศที่ตั้งชุมชน ทำนา ทำไร่ ทำสวน โดยแทบไม่ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และมากกว่านั้น ที่นี่ยังมีระบบการลงแขก หรือ ที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า การ "เอามือ" ที่ยังแข็งแรงอยู่ เป็นการช่วยเหลือกันของชาวบ้านในทุก ๆ เรื่อง ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการทำไร่ ทำนา วิถีการ "เอามือ" ไม่มีการจ่ายค่าแรงงาน เพราะทุกคนต่างผลัดมาช่วยกันทำงาน เจ้าของงานหรือเจ้าภาพมีหน้าที่ในการจัดอาหารให้คนที่มาช่วยทำงานกินในมื้อเที่ยง
โดยเฉพาะในฤดูเกี่ยวข้าวจะมีการรวมตัวกันของชาวบ้านตามไร่นา เพื่อช่วยกัน เกี่ยว ทุบ และหาบหรือแบกข้าว ในการเกี่ยวข้าวนั้นคนบ้านเปียงก่อยังคงใช้เคียวเกี่ยวข้าว ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องที่แปลกสำหรับปัจจุบันที่ยังมีชาวนาทั้งหมู่บ้านใช้วิธีดังกล่าวในการเก็บเกี่ยว แต่เนื่องจากพื้นที่ที่สูง ไร่นาอยู่เชิงเขาและบนภูเขา การใช้รถเก็บเกี่ยวเหมือนที่อื่นนั้นไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง ก็ยังนิยมใช้การทุบมากกว่าการใช้เครื่องจักร นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ วิถีการ "เอามือ" ของที่นี่ยังสามารถที่จะดำรงอยู่ได้
"บ้านเราไม่มีเงินก็มาเอามือกัน เราเอามือบ้านนี้ แล้วเขาก็ไปตอบมือ หมุนเวียนช่วยกันไปจนเสร็จ" จิราภรณ์ แปงอุด บอกกับทีมงาน
ในฤดูหนาวของที่นี่ ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ต้นเดือนธันวาคม เป็นฤดูกาลที่หมู่บ้านในบริเวณนี้จะมีท้องทุ่งสวยงามเป็นสีเหลืองทอง มากกว่านั้นในแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของชาวบ้านก็คึกคักไปด้วยผู้คน เพราะการหาปลาในช่วงเวลานี้ไม่เหนื่อยมากเกินไป เพราะน้ำไม่เยอะ ชาวบ้านสามารถใช้ซ่อนปลา มองปลา หรือแห ก็หาปลามากินได้แล้ว แม่น้ำน่านเป็นที่พึ่งของคนที่นี่ในทุกการทำมาหากิน ดังนั้นการดูแลแม่น้ำจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของชาวบ้าน เช่นการจับปลาก็จับแค่พอกิน การเอาน้ำเข้านาก็เอาแค่พอใช้ ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรที่มี
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านเปียงก่อ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน หมู่บ้านกลางหุบเขาริมแม่น้ำน่าน เป็นหมู่บ้านที่ครั้งหนึ่งอยู่ห่างไกลจากความสะดวกสบาย ชาวบ้านใช้ชีวิตอยู่กับป่าเขา ใช้พื้นที่ป่าและภูเขาเป็นที่ทำกินและอยู่อาศัย การเดินทางเข้าเมืองเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เป็นเรื่องที่แสนลำบาก รวมถึงการเข้ามาของคนภายนอกก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน ทำให้อัตลักษณ์ที่พวกเขามีนั้น ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน แม้ความความสะดวกสบายจะเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านมาหลายปีแล้ว
หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ยังคงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำมาหากินอยู่กับสภาพภูมิประเทศที่ตั้งชุมชน ทำนา ทำไร่ ทำสวน โดยแทบไม่ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และมากกว่านั้น ที่นี่ยังมีระบบการลงแขก หรือ ที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า การ "เอามือ" ที่ยังแข็งแรงอยู่ เป็นการช่วยเหลือกันของชาวบ้านในทุก ๆ เรื่อง ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการทำไร่ ทำนา วิถีการ "เอามือ" ไม่มีการจ่ายค่าแรงงาน เพราะทุกคนต่างผลัดมาช่วยกันทำงาน เจ้าของงานหรือเจ้าภาพมีหน้าที่ในการจัดอาหารให้คนที่มาช่วยทำงานกินในมื้อเที่ยง
โดยเฉพาะในฤดูเกี่ยวข้าวจะมีการรวมตัวกันของชาวบ้านตามไร่นา เพื่อช่วยกัน เกี่ยว ทุบ และหาบหรือแบกข้าว ในการเกี่ยวข้าวนั้นคนบ้านเปียงก่อยังคงใช้เคียวเกี่ยวข้าว ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องที่แปลกสำหรับปัจจุบันที่ยังมีชาวนาทั้งหมู่บ้านใช้วิธีดังกล่าวในการเก็บเกี่ยว แต่เนื่องจากพื้นที่ที่สูง ไร่นาอยู่เชิงเขาและบนภูเขา การใช้รถเก็บเกี่ยวเหมือนที่อื่นนั้นไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง ก็ยังนิยมใช้การทุบมากกว่าการใช้เครื่องจักร นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ วิถีการ "เอามือ" ของที่นี่ยังสามารถที่จะดำรงอยู่ได้
"บ้านเราไม่มีเงินก็มาเอามือกัน เราเอามือบ้านนี้ แล้วเขาก็ไปตอบมือ หมุนเวียนช่วยกันไปจนเสร็จ" จิราภรณ์ แปงอุด บอกกับทีมงาน
ในฤดูหนาวของที่นี่ ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ต้นเดือนธันวาคม เป็นฤดูกาลที่หมู่บ้านในบริเวณนี้จะมีท้องทุ่งสวยงามเป็นสีเหลืองทอง มากกว่านั้นในแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของชาวบ้านก็คึกคักไปด้วยผู้คน เพราะการหาปลาในช่วงเวลานี้ไม่เหนื่อยมากเกินไป เพราะน้ำไม่เยอะ ชาวบ้านสามารถใช้ซ่อนปลา มองปลา หรือแห ก็หาปลามากินได้แล้ว แม่น้ำน่านเป็นที่พึ่งของคนที่นี่ในทุกการทำมาหากิน ดังนั้นการดูแลแม่น้ำจึงเป็นหน้าที่หนึ่งของชาวบ้าน เช่นการจับปลาก็จับแค่พอกิน การเอาน้ำเข้านาก็เอาแค่พอใช้ ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรที่มี
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live