บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ของบ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นแหล่งการปลูกดอกไม้ขายใหญ่สุดในภาคอีสาน โดยปลูกทั้ง "ดอกไม้ไทยและดอกไม้เมืองหนาว" มากว่า 30 ปี โดยใช้สถานที่ปลูกที่หลากหลาย ทั้งปลูกบนแปลง แยกออกมาและปลูกแทรกไปกับไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง ผู้ใหญ่อดุลย์ ธวัชเมธี บอกว่าการที่หมู่บ้านสามารถปลูกดอกไม้ และไม้เมืองหนาวได้สวยงามไม่แพ้ภาคเหนือ เพราะชาวบ้านวิธีการจัดการน้ำที่ดี มีการทำฝายกักน้ำ มีสระน้ำที่ชาวบ้านขุดเอง ทำให้สามารถดึงน้ำเข้ามาใช้ในสวนดอกไม้ได้ตลอดทั้งปี
สถานที่ที่นิยมใช้เป็นพื้นที่ปลูกมากที่สุดก็คือ พื้นที่หลังบ้านที่อยู่อาศัย ที่มีแปลงดอกไม้หลากหลายทั้งดอกไม้ไทยและดอกไม้เมืองหนาว ดอกไม้ยอดนิยมของชาวบ้านคือ ดอกพุด เพราะจะใช้มาร้อยพวงมาลัย อีกอาชีพหนึ่งของชาวบ้านที่นี่
พ่อสุวิทย์และแม่ติ๊ก สองสามีภรรยาเจ้าของสวนดอกไม้เมืองหนาว มีสวนใหญ่กว่า 10 ไร่ในหมู่บ้าน ปลูกดอกไม้สืบทอดจากตระกูล เล่าว่าวิถีคนปลูกดอกไม้ ต้องเข้าใจฤดูกาลใช้ดอกไม้รวมถึงรู้นิสัยดอกไม้ รวมถึงต้องทุ่มเทเวลาให้ดอกไม้ตั้งแต่เช้ายันดึก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นที่เป็นเวลาสำคัญ ดวงไฟที่ห้อยอยู่ตามแปลงดอกไม้ จะถูกเปิดให้ส่องแสงกลายเป็นดวงดาวน้อย ๆ นับพันดวง เพื่อส่องแสงให้ดอกไม้เป็นวิธี "หลอกดอกไม้" ให้สังเคราะห์แสงทั้งวัน เพื่อให้ลำต้นเจริญเติบโตได้มาตรฐานและชะลอการออกดอกเร็วกว่ากำหนด
ดอกไม้บ้านห้วยสำราญเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ครองตลาดลูกค้ามีทั่วภาคอีสาน สร้างรายได้เดือนละหลายหมื่นบาทต่อครอบครัว ซึ่งนอกจากสร้างรายได้แล้ว ดอกไม้ยังช่วยเยียวยาหัวใจให้สดชื่นแจ่มใส บางคนใช้ดอกไม้ในการบำบัดเยียวยาโรคร้ายด้วย เช่น แม่ติ๊กและแม่ทองสุข ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมานานหลายปี ทั้งสองท่านบอกว่าดอกไม้เหล่านี้ก็บำบัดเยียวยาโรคของแม่ให้ดีขึ้นได้อย่างมาก เพราะว่ามองแต่ของสวย จิตใจก็เบิกบาน มากกว่านั้นดอกไม้ยังเป็นน้ำใจ ที่คนในหมู่บ้านมีให้กันในงานบวช งานแต่ง งานศพ เจ้าของสวนดอกไม้ก็จะนำดอกไม้มาช่วยงานบุญโดยเจ้าภาพไม่ต้องร้องขอ เพราะว่าทุกคนพร้อมนำมาให้แบบฟรี
ความรักในดอกไม้ รวมถึงการเห็นความสำคัญของในการใช้เลี้ยงชีพ ทำให้การสั่งสอนในเรื่องนี้ได้แทรกซึมไปในครอบครัวของคนที่นี่ได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ของบ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นแหล่งการปลูกดอกไม้ขายใหญ่สุดในภาคอีสาน โดยปลูกทั้ง "ดอกไม้ไทยและดอกไม้เมืองหนาว" มากว่า 30 ปี โดยใช้สถานที่ปลูกที่หลากหลาย ทั้งปลูกบนแปลง แยกออกมาและปลูกแทรกไปกับไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง ผู้ใหญ่อดุลย์ ธวัชเมธี บอกว่าการที่หมู่บ้านสามารถปลูกดอกไม้ และไม้เมืองหนาวได้สวยงามไม่แพ้ภาคเหนือ เพราะชาวบ้านวิธีการจัดการน้ำที่ดี มีการทำฝายกักน้ำ มีสระน้ำที่ชาวบ้านขุดเอง ทำให้สามารถดึงน้ำเข้ามาใช้ในสวนดอกไม้ได้ตลอดทั้งปี
สถานที่ที่นิยมใช้เป็นพื้นที่ปลูกมากที่สุดก็คือ พื้นที่หลังบ้านที่อยู่อาศัย ที่มีแปลงดอกไม้หลากหลายทั้งดอกไม้ไทยและดอกไม้เมืองหนาว ดอกไม้ยอดนิยมของชาวบ้านคือ ดอกพุด เพราะจะใช้มาร้อยพวงมาลัย อีกอาชีพหนึ่งของชาวบ้านที่นี่
พ่อสุวิทย์และแม่ติ๊ก สองสามีภรรยาเจ้าของสวนดอกไม้เมืองหนาว มีสวนใหญ่กว่า 10 ไร่ในหมู่บ้าน ปลูกดอกไม้สืบทอดจากตระกูล เล่าว่าวิถีคนปลูกดอกไม้ ต้องเข้าใจฤดูกาลใช้ดอกไม้รวมถึงรู้นิสัยดอกไม้ รวมถึงต้องทุ่มเทเวลาให้ดอกไม้ตั้งแต่เช้ายันดึก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นที่เป็นเวลาสำคัญ ดวงไฟที่ห้อยอยู่ตามแปลงดอกไม้ จะถูกเปิดให้ส่องแสงกลายเป็นดวงดาวน้อย ๆ นับพันดวง เพื่อส่องแสงให้ดอกไม้เป็นวิธี "หลอกดอกไม้" ให้สังเคราะห์แสงทั้งวัน เพื่อให้ลำต้นเจริญเติบโตได้มาตรฐานและชะลอการออกดอกเร็วกว่ากำหนด
ดอกไม้บ้านห้วยสำราญเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ครองตลาดลูกค้ามีทั่วภาคอีสาน สร้างรายได้เดือนละหลายหมื่นบาทต่อครอบครัว ซึ่งนอกจากสร้างรายได้แล้ว ดอกไม้ยังช่วยเยียวยาหัวใจให้สดชื่นแจ่มใส บางคนใช้ดอกไม้ในการบำบัดเยียวยาโรคร้ายด้วย เช่น แม่ติ๊กและแม่ทองสุข ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมานานหลายปี ทั้งสองท่านบอกว่าดอกไม้เหล่านี้ก็บำบัดเยียวยาโรคของแม่ให้ดีขึ้นได้อย่างมาก เพราะว่ามองแต่ของสวย จิตใจก็เบิกบาน มากกว่านั้นดอกไม้ยังเป็นน้ำใจ ที่คนในหมู่บ้านมีให้กันในงานบวช งานแต่ง งานศพ เจ้าของสวนดอกไม้ก็จะนำดอกไม้มาช่วยงานบุญโดยเจ้าภาพไม่ต้องร้องขอ เพราะว่าทุกคนพร้อมนำมาให้แบบฟรี
ความรักในดอกไม้ รวมถึงการเห็นความสำคัญของในการใช้เลี้ยงชีพ ทำให้การสั่งสอนในเรื่องนี้ได้แทรกซึมไปในครอบครัวของคนที่นี่ได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live