บ้านเอียก เป็นหนึ่งพื้นที่ตำบลสันป่ายาง ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 25 กิโลเมตร การเดินทางใช้เวลาค่อนข้างนาน ถนนค่อนข้างแคบ เส้นทางคดเคี้ยวไปตามภูเขา ที่นี่มีลำน้ำแม่ริมไหลผ่านหมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ล้อมรอบยังใช้ชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ มีความสงบ
นายคำจันทร์ อินธรรม หรือ พ่อหลวงคำจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน บอกว่าที่บ้านเอียกมีต้นยางนาใหญ่และต้นไม้ใหญ่ อย่าง ต้นไทรและอีกหลายต้นล้อมรอบหมู่บ้าน บางต้นมีอายุ 100 - 200 ปี และมี ห้วยปู่ถา เป็นแหล่งน้ำใหญ่ของหมู่บ้าน มีพื้นที่กว่า 2 ไร่ ถ้าช่วงหน้าน้ำพื้นที่จะเต็มไปด้วยน้ำ
ที่นี่มีระบบการจัดการน้ำที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก โดยน้ำประปาภูเขา คนที่ทำหน้าที่ดูแล เรียกว่า แก่ประปา ซึ่งมีคนเดียวในหมู่บ้านคือ พี่เงิน นายองอาจ บุญสม หากน้ำประปามีปัญหาไม่ว่าจะจุดไหนต้องรีบแก้ไข ถ้ามีไฟไหม้ป่าต้องระวังท่อประปาไหม้ ช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่งานหนักสำหรับแก่ประปา เพราะฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่อน้ำจะแตก ก็ต้องรีบขึ้นเขา เพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านได้ใช้น้ำทุกเดือน แก่ประปาต้องเดินเก็บเงินค่าการใช้น้ำจากชาวบ้าน โดยที่มีเงินตอบแทนในกรช่วยดูแลในส่วนนี้ประมาณ 2,000 กว่าบาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีแก่เหมือง มีหน้าที่ดูแลน้ำที่จะไหลสู่พื้นที่เกษตรของชาวบ้าน พ่อแสวง นายแสวง สิงห์กร หรือ แก่เหมือง มีหน้าที่ดูแลน้ำ แบ่งปันน้ำให้ชาวบ้าน ดูแลทำความสะอาด เกี่ยวหญ้าที่รกออก ทำหน้าที่คอยตรวจตราเช็กความถูกต้องของท่อน้ำ เปิด - ปิดน้ำ และต้องคอยตัดสินความยุติธรรมในการใช้น้ำให้เท่าเทียมกัน โดยแก่เหมืองนั้นมีจำนวนเท่ากับเหมืองน้ำที่มีในหมู่บ้าน
เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ที่นี่จะมีสวนลำไยและดอกไม้นานาชนิด ทำให้เป็นอาหารชั้นดีของผึ้งหลวง ที่มักจะมาสร้างรังอยู่อาศัยบนต้นไทร หรือ ต้นยางนา ต้นไม้ใหญ่ที่มีมากมายในหมู่บ้านแห่งนี้ ทำให้ก่อเกิดอาชีพการตีผึ้งที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ผึ้งหลวงจะมาทำรังที่ต้นไม้ในป่า เช่น ต้นยาง ต้นไทร ประมาณ 40 - 50 รัง หรือบางครั้งก็เป็น 100 รัง โดยจำนวนรังผึ้งหลวงจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละต้น ผึ้งหลวงจะเลือกทำรังตามกิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่ บางกิ่งมีรังถึง 3 - 4 รัง
คนที่เก่งที่สุดและเรียกว่าเป็นเซียนปรมาจารย์ของการตีผึ้งที่นี่ชื่อว่า ลุงกร หรือ นิกร กันธณี แม้จะอายุ 65 ปีแล้ว แต่มีประสบการณ์ในการตีผึ้งมากกว่า 30 ปี การตีผึ้ง เรื่องการแต่งตัวเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเสื้อที่ใส่ต้องแน่นหนา เสื้อ 3 ชั้น กางเกง 3 ชั้น ถุงมือยาง 1 ชั้น และที่สำคัญก็คือ หมง หรือหมวกที่ใช้ใส่กันผึ้งมาต่อยใบหน้า โดยหมงนั้นชาวบ้านใช้กระสอบปุ๋ยเย็บติดกับตาข่ายมุ้งลวด นอกจากนั้นต้องเตรียมเครือสะบ้า เอาไปใช้จุดไล่ผึ้ง เวลาที่เสร็จภาระกิจด้วย
ลุงกร บอกว่าการปีนขึ้นไปเอารังผึ้งเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย ลุงกรและแก่นไม่ได้มีอะไรเซฟตัวเอง เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะกับประสบการณ์ โดยลุงกรและทีมจะค่อย ๆ เหยียบตอยที่ทำเป็นบันไดเอาไว้ทีละอันเพื่อปีนขึ้นไป
การตีผึ้งสำหรับชาวบ้านที่นี่สะท้อนวิถีความซื่อสัตย์ให้เราได้เห็น โดยเมื่อได้น้ำผึ้ง, ตัวอ่อน, นมผึ้ง แล้วจะเอาไปขาย โดยลุงกรจะแบ่งเงินเท่ากันทุกคน เพราะทุกคนเหนื่อยเท่ากัน ถึงแม้ว่าตัวลุงและคนที่ปีนจะเสี่ยงกว่าคนอื่น ๆ แต่ก็ให้เท่ากันเพราะอยากให้คนในทีมมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว และที่สำคัญมากกว่าตัวเงินคือ ความสามัคคีของทีม การตีผึ้งสองเดือนมีความสำคัญต่อชีวิตชาวบ้านมาก รายได้จากขายน้ำผึ้ง สามารถส่งลูกไปโรงเรียนมัธยมจนถึงปริญญา หลังจากตีผึ้งแล้วเขาก็แบ่งปันกันใช้ต่อไปได้อีกหลายเดือน
ชุมชนบ้านเอียก มีวิธีการดูแลตนเองโดยไม่ต้องให้หน่วยงานราชการเข้ามาจัดการ เป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าบ้านเอียกที่ทุกวันนี้ยังสามารถอยู่กันได้ในวิถีเก่าก็เพราะทุกคนมีความสุข กับการใช้ชีวิตที่อยู่กับการพึ่งพิงธรรมชาติและการพึ่งพากันในชุมชน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านเอียก เป็นหนึ่งพื้นที่ตำบลสันป่ายาง ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 25 กิโลเมตร การเดินทางใช้เวลาค่อนข้างนาน ถนนค่อนข้างแคบ เส้นทางคดเคี้ยวไปตามภูเขา ที่นี่มีลำน้ำแม่ริมไหลผ่านหมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ล้อมรอบยังใช้ชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ มีความสงบ
นายคำจันทร์ อินธรรม หรือ พ่อหลวงคำจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน บอกว่าที่บ้านเอียกมีต้นยางนาใหญ่และต้นไม้ใหญ่ อย่าง ต้นไทรและอีกหลายต้นล้อมรอบหมู่บ้าน บางต้นมีอายุ 100 - 200 ปี และมี ห้วยปู่ถา เป็นแหล่งน้ำใหญ่ของหมู่บ้าน มีพื้นที่กว่า 2 ไร่ ถ้าช่วงหน้าน้ำพื้นที่จะเต็มไปด้วยน้ำ
ที่นี่มีระบบการจัดการน้ำที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก โดยน้ำประปาภูเขา คนที่ทำหน้าที่ดูแล เรียกว่า แก่ประปา ซึ่งมีคนเดียวในหมู่บ้านคือ พี่เงิน นายองอาจ บุญสม หากน้ำประปามีปัญหาไม่ว่าจะจุดไหนต้องรีบแก้ไข ถ้ามีไฟไหม้ป่าต้องระวังท่อประปาไหม้ ช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่งานหนักสำหรับแก่ประปา เพราะฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่อน้ำจะแตก ก็ต้องรีบขึ้นเขา เพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านได้ใช้น้ำทุกเดือน แก่ประปาต้องเดินเก็บเงินค่าการใช้น้ำจากชาวบ้าน โดยที่มีเงินตอบแทนในกรช่วยดูแลในส่วนนี้ประมาณ 2,000 กว่าบาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีแก่เหมือง มีหน้าที่ดูแลน้ำที่จะไหลสู่พื้นที่เกษตรของชาวบ้าน พ่อแสวง นายแสวง สิงห์กร หรือ แก่เหมือง มีหน้าที่ดูแลน้ำ แบ่งปันน้ำให้ชาวบ้าน ดูแลทำความสะอาด เกี่ยวหญ้าที่รกออก ทำหน้าที่คอยตรวจตราเช็กความถูกต้องของท่อน้ำ เปิด - ปิดน้ำ และต้องคอยตัดสินความยุติธรรมในการใช้น้ำให้เท่าเทียมกัน โดยแก่เหมืองนั้นมีจำนวนเท่ากับเหมืองน้ำที่มีในหมู่บ้าน
เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ที่นี่จะมีสวนลำไยและดอกไม้นานาชนิด ทำให้เป็นอาหารชั้นดีของผึ้งหลวง ที่มักจะมาสร้างรังอยู่อาศัยบนต้นไทร หรือ ต้นยางนา ต้นไม้ใหญ่ที่มีมากมายในหมู่บ้านแห่งนี้ ทำให้ก่อเกิดอาชีพการตีผึ้งที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ผึ้งหลวงจะมาทำรังที่ต้นไม้ในป่า เช่น ต้นยาง ต้นไทร ประมาณ 40 - 50 รัง หรือบางครั้งก็เป็น 100 รัง โดยจำนวนรังผึ้งหลวงจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละต้น ผึ้งหลวงจะเลือกทำรังตามกิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่ บางกิ่งมีรังถึง 3 - 4 รัง
คนที่เก่งที่สุดและเรียกว่าเป็นเซียนปรมาจารย์ของการตีผึ้งที่นี่ชื่อว่า ลุงกร หรือ นิกร กันธณี แม้จะอายุ 65 ปีแล้ว แต่มีประสบการณ์ในการตีผึ้งมากกว่า 30 ปี การตีผึ้ง เรื่องการแต่งตัวเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเสื้อที่ใส่ต้องแน่นหนา เสื้อ 3 ชั้น กางเกง 3 ชั้น ถุงมือยาง 1 ชั้น และที่สำคัญก็คือ หมง หรือหมวกที่ใช้ใส่กันผึ้งมาต่อยใบหน้า โดยหมงนั้นชาวบ้านใช้กระสอบปุ๋ยเย็บติดกับตาข่ายมุ้งลวด นอกจากนั้นต้องเตรียมเครือสะบ้า เอาไปใช้จุดไล่ผึ้ง เวลาที่เสร็จภาระกิจด้วย
ลุงกร บอกว่าการปีนขึ้นไปเอารังผึ้งเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย ลุงกรและแก่นไม่ได้มีอะไรเซฟตัวเอง เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะกับประสบการณ์ โดยลุงกรและทีมจะค่อย ๆ เหยียบตอยที่ทำเป็นบันไดเอาไว้ทีละอันเพื่อปีนขึ้นไป
การตีผึ้งสำหรับชาวบ้านที่นี่สะท้อนวิถีความซื่อสัตย์ให้เราได้เห็น โดยเมื่อได้น้ำผึ้ง, ตัวอ่อน, นมผึ้ง แล้วจะเอาไปขาย โดยลุงกรจะแบ่งเงินเท่ากันทุกคน เพราะทุกคนเหนื่อยเท่ากัน ถึงแม้ว่าตัวลุงและคนที่ปีนจะเสี่ยงกว่าคนอื่น ๆ แต่ก็ให้เท่ากันเพราะอยากให้คนในทีมมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว และที่สำคัญมากกว่าตัวเงินคือ ความสามัคคีของทีม การตีผึ้งสองเดือนมีความสำคัญต่อชีวิตชาวบ้านมาก รายได้จากขายน้ำผึ้ง สามารถส่งลูกไปโรงเรียนมัธยมจนถึงปริญญา หลังจากตีผึ้งแล้วเขาก็แบ่งปันกันใช้ต่อไปได้อีกหลายเดือน
ชุมชนบ้านเอียก มีวิธีการดูแลตนเองโดยไม่ต้องให้หน่วยงานราชการเข้ามาจัดการ เป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าบ้านเอียกที่ทุกวันนี้ยังสามารถอยู่กันได้ในวิถีเก่าก็เพราะทุกคนมีความสุข กับการใช้ชีวิตที่อยู่กับการพึ่งพิงธรรมชาติและการพึ่งพากันในชุมชน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live