ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้ชายหาดไม้ขาว แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดภูเก็ต นอกเหนือเรื่องการท่องเที่ยว วิถีชีวิตของชุมชนก็ยังดำรงอยู่แบบดั้งเดิม แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ชาวบ้านก็พยายามที่จะรักษาไว้ให้คงเดิม
ชุมชนบ้านไม้ขาว มีหาดไม้ขาวซึ่งเป็นชายหาดที่ยาวที่สุดในภูเก็ต เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้ ลักษณะของชายหาด เป็นแอ่งเหมือนกระทะ มีธรรมชาติที่ยังคงบริสุทธิ์และไม่มีมลพิษ ชาวบ้านในพื้นที่มีความผูกพันธ์กับหาดแห่งนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมือนสนามเด็กเล่นในวัยเด็ก นอกจากนั้นยังสามารถทำมาหากินในบริเวณชายหาดได้หลากหลาย เช่น การปลูกผักลิ้นห่าน ผักพื้นบ้านของหาดไม้ขาว ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวภูเก็ตตั้งแต่รุ่นเก่า และในปัจจุบันเริ่มหากินได้ยาก หรือบางพื้นที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว "ป้าลา อรุณศรี แซ่เอียบ" ชาวบ้านที่ปลูกผักลิ้นห่านเล่าว่า ตัวแกเองนั้นไปเก็บมาปลูก หลังที่ชายหาดโดนสึนามิถล่ม โดยเอามาปลูกไว้พื้นที่ริมชายหาดและล้อมรั้วเอาไว้ ชาวบ้านสามารถเอามาผัดกิน นอกจากนี้ก็สามารถขายเป็นรายได้เลี้ยงชีพได้ด้วย สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือผักบางชนิดที่นักท่องเที่ยวมักจะชอบถ่ายรูป เช่น ยอดผักบุ้งทะเล และดอกถั่วทะเล ดอกสวยงามสีม่วงที่ขึ้นบนหาดก็สามารถเอามาทำกินเป็นอาหารได้ด้วยเช่นกัน
มากกว่านั้น บริเวณชายหาดยังเป็นจุดที่ชาวบ้านบ้านไม้ขาวใช้เป็นพื้นที่ในการจับจักจั่นทะเลมาขาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่นี่ จักจั่นทะเลเป็นสัตว์ทะเลที่ชอบอาศัยอยู่บริเวณหาดทรายที่มีทรายเม็ดใหญ่ ทรายไม่แน่นมาก เหมาะสำหรับการมุดตัวใต้ทราย ชาวบ้านจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "หยอง" ในการจับ วิธีการคือใช้เท้าขุดทรายที่คิดว่าตัวจักจั่นมุดทรายอยู่ เอาไปใส่ในหยอง หลังจากนั้นก็ลากไปล้างที่น้ำทะเล ถ้ามีก็จะเห็นตัวได้ การจับสามารถทำได้ตลอดทั้งปี มือวางอันดับต้น ๆ ของการจับจักจั่นทะเลของบ้านไม้ขาว ก็คือ "วิโรจน์ ประเสริฐ" หรือคนในชุมชนเรียกว่า "โกจู๋"
การทำมาหากินของคนพื้นถิ่นของชุมชนไม้ขาว ยังคงอยู่แบบวิถีเดิมพร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ที่คราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว แม้ผืนดินในชุมชนจะมีราคาดั่งทองคำ แต่ก็ยังมีกลุ่มชาวบ้านที่เหลือที่ดินไว้ทำนา ซึ่งเป็นนาผืนสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 78 ไร่ 2งาน โดยผู้ริเริ่มชักชวนให้กลับมาทำนากันอีกรอบก็คือ ลุงเนตร เดชากุล โดยชักชวนเพื่อนบ้านมารวมกลุ่มทำนาข้าว วิธีการทำก็ยังมีการลงแขก ชาวบ้านที่มาช่วยกันก็จะได้รับข้าวสารเป็นการตอบแทนบ้างในบางคนที่ไม่มีพื้นที่นา อุปกรณ์ในการทำก็เป็นแบบดั้งเดิม เช่น ใช้เคี่ยวในการเก็บเกี่ยว แทนการใช้รถเก็บเกี่ยว พื้นที่นาของจังหวัดภูเก็ตในตอนนี้เหลือแค่ที่ชุมชนบ้านไม้ขาวเท่านั้น แม้คนที่ทำนาจะเป็นคนสูงอายุแต่ทุกคนก็มีความภูมิใจในความเป็นชาวนาที่จังหวัดภูเก็ต
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้ชายหาดไม้ขาว แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดภูเก็ต นอกเหนือเรื่องการท่องเที่ยว วิถีชีวิตของชุมชนก็ยังดำรงอยู่แบบดั้งเดิม แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ชาวบ้านก็พยายามที่จะรักษาไว้ให้คงเดิม
ชุมชนบ้านไม้ขาว มีหาดไม้ขาวซึ่งเป็นชายหาดที่ยาวที่สุดในภูเก็ต เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้ ลักษณะของชายหาด เป็นแอ่งเหมือนกระทะ มีธรรมชาติที่ยังคงบริสุทธิ์และไม่มีมลพิษ ชาวบ้านในพื้นที่มีความผูกพันธ์กับหาดแห่งนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมือนสนามเด็กเล่นในวัยเด็ก นอกจากนั้นยังสามารถทำมาหากินในบริเวณชายหาดได้หลากหลาย เช่น การปลูกผักลิ้นห่าน ผักพื้นบ้านของหาดไม้ขาว ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวภูเก็ตตั้งแต่รุ่นเก่า และในปัจจุบันเริ่มหากินได้ยาก หรือบางพื้นที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว "ป้าลา อรุณศรี แซ่เอียบ" ชาวบ้านที่ปลูกผักลิ้นห่านเล่าว่า ตัวแกเองนั้นไปเก็บมาปลูก หลังที่ชายหาดโดนสึนามิถล่ม โดยเอามาปลูกไว้พื้นที่ริมชายหาดและล้อมรั้วเอาไว้ ชาวบ้านสามารถเอามาผัดกิน นอกจากนี้ก็สามารถขายเป็นรายได้เลี้ยงชีพได้ด้วย สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือผักบางชนิดที่นักท่องเที่ยวมักจะชอบถ่ายรูป เช่น ยอดผักบุ้งทะเล และดอกถั่วทะเล ดอกสวยงามสีม่วงที่ขึ้นบนหาดก็สามารถเอามาทำกินเป็นอาหารได้ด้วยเช่นกัน
มากกว่านั้น บริเวณชายหาดยังเป็นจุดที่ชาวบ้านบ้านไม้ขาวใช้เป็นพื้นที่ในการจับจักจั่นทะเลมาขาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่นี่ จักจั่นทะเลเป็นสัตว์ทะเลที่ชอบอาศัยอยู่บริเวณหาดทรายที่มีทรายเม็ดใหญ่ ทรายไม่แน่นมาก เหมาะสำหรับการมุดตัวใต้ทราย ชาวบ้านจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "หยอง" ในการจับ วิธีการคือใช้เท้าขุดทรายที่คิดว่าตัวจักจั่นมุดทรายอยู่ เอาไปใส่ในหยอง หลังจากนั้นก็ลากไปล้างที่น้ำทะเล ถ้ามีก็จะเห็นตัวได้ การจับสามารถทำได้ตลอดทั้งปี มือวางอันดับต้น ๆ ของการจับจักจั่นทะเลของบ้านไม้ขาว ก็คือ "วิโรจน์ ประเสริฐ" หรือคนในชุมชนเรียกว่า "โกจู๋"
การทำมาหากินของคนพื้นถิ่นของชุมชนไม้ขาว ยังคงอยู่แบบวิถีเดิมพร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ที่คราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว แม้ผืนดินในชุมชนจะมีราคาดั่งทองคำ แต่ก็ยังมีกลุ่มชาวบ้านที่เหลือที่ดินไว้ทำนา ซึ่งเป็นนาผืนสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 78 ไร่ 2งาน โดยผู้ริเริ่มชักชวนให้กลับมาทำนากันอีกรอบก็คือ ลุงเนตร เดชากุล โดยชักชวนเพื่อนบ้านมารวมกลุ่มทำนาข้าว วิธีการทำก็ยังมีการลงแขก ชาวบ้านที่มาช่วยกันก็จะได้รับข้าวสารเป็นการตอบแทนบ้างในบางคนที่ไม่มีพื้นที่นา อุปกรณ์ในการทำก็เป็นแบบดั้งเดิม เช่น ใช้เคี่ยวในการเก็บเกี่ยว แทนการใช้รถเก็บเกี่ยว พื้นที่นาของจังหวัดภูเก็ตในตอนนี้เหลือแค่ที่ชุมชนบ้านไม้ขาวเท่านั้น แม้คนที่ทำนาจะเป็นคนสูงอายุแต่ทุกคนก็มีความภูมิใจในความเป็นชาวนาที่จังหวัดภูเก็ต
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live