"บ้านตะละโค่ง" และ "บ้านช่องแป๊ะ" ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ตั้งอยู่ในผืนป่ามรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภออุ้มผาง 139 กิโลเมตร ผู้คนทั้งสองหมู่บ้านยังคงเต็มไปด้วยความสุขกับวิถีชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติและพึ่งพาตนเอง
ครูเอส ณรงค์ ปวงคำ ครูนิเทศก์ ศศช.กลุ่มบ้านตะละโค่ง กศน.อำเภออุ้มผาง เล่าว่าผู้คนที่นี่ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยในการดำรงชีวิตหลักจากภายนอก เพราะทั้งที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร พวกเขาสามารถทำเองได้ ปลูกข้าว ปลูกงา พอกินในแต่ละปี ตีมีด ทอผ้า ทำเครื่องจักสานใช้เอง มีรถอีต๊อกเป็นพาหนะสำคัญในการเดินทาง ขนผลผลิตในไร่และใช้เป็นเครื่องยนต์ในการสีข้าว คนที่นี่นิยมใช้รถอีต๊อก ซึ่งหากจะเทียบกับพาหนะที่คนใช้ด้านนอกก็อาจจะคืน รถกะบะ เพราะสามารถที่จะบรรทุกสิ่งของต่าง ๆ ได้มากมาย
ครูตุ๊ก อนุวงศ์ ปันเป็ง ครู ศศช.บ้านตะละโค่ง เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนบ้านตะละโค่งมาเกือบ 20 ปี บอกว่าที่นี่มีเพียงไฟฟ้าจากโซลาเซลล์ แต่ไร้สัญญาณโทรศัพท์ ครูที่มาอยู่ในหมู่บ้านกลางป่าเช่นนี้ ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่สอนหนังสือ แต่ต้องเป็นพ่อครัว ภารโรง และสารพัดช่าง รวมถึงเป็นลูกหลานหรือเป็นสมาชิกในชุมชนไปด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะมีกิจกรรมใดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือโรงเรียน ทุกคนจะร่วมมือร่วมใจไปช่วยกัน และเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งความรู้ทางวิชาการและวิถีชุมชน
ในหมู่บ้านตะละโค่งมีศาลาเอนกประสงค์ที่ร่วมกันสร้างไว้ เพื่อเป็นที่พักสำหรับพระธุดงค์ที่เดินทางผ่านไปมาได้พัก ทุกเช้าหากมีเสียงระฆัง แสดงว่ามีพระสงฆ์มาบิณฑบาตที่หมู่บ้าน ชาวบ้านจะเตรียมภัตตาหารเท่าที่ตนเองมีไปถวาย ทำเช่นนี้สืบทอดกันมายาวนาน นอกจากนี้ทุก ๆ วันพระ คนบ้านตะละโค่งแต่ละครอบครัวจะนำเทียนขี้ผึ้งที่มีลักษณะเป็นเล่มเล็ก ๆ และทำขึ้นเอง ไปจุดไหว้เจดีย์ทรายที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน เพื่อขอพรให้ผู้คนในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข หากใครมีเรื่องราวอะไรไม่สบายใจก็สามารถที่จะปรึกษาเจ้าวัด ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือ
ยอดดอยก่องก๊อง ที่สามารถมองเห็นจากบ้านตะละโค่ง เป็นเขตแดนกั้นระหว่าง อ.อุ้มผางกับ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ที่มีเส้นทางธรรมชาติซึ่งใช้ในการเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แม้จะเป็นเพียงเส้นทางเดินเท้าแต่สามารถย่นระยะทาง และประหยัดเวลาได้มากว่าทางรถยนต์ เป็นเส้นทางสำคัญในการพบปะของญาติมิตรรวมถึงการขึ้นไปไหว้เจดีย์บนยอดดอย นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางเดินของพระธุดงค์ และเป็นเส้นทางที่หนุ่มสาวจำนวนมากได้พบรัก เช่น เอกชัย และ มาลินี "คู่รักข้ามขุนเขา" ที่ทางรายการได้เจอ ทั้งคู่รักและแต่งงานกันมา 13 - 14 ปีแล้ว โดยเอกชัย เดินทางไกลมาจาก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มาพบรักกับ มาลินี สาวจากบ้านตะละโค่ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก หลังจากนั้นก็สื่อสารกันผ่านจดหมายน้อย ที่ฝากมากับคนที่เดินทางผ่านเส้นทาง จนแต่งงานกันและมีลูกทั้งหมดสามคน
ไม่ไกลจากบ้านตะละโค่งมากนัก มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีคนอาศัยอยู่ไม่กี่ครัวเรือนชื่อว่า "บ้านช่องแป๊ะ" ตั้งอยู่ ที่นี่เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำแม่กลองชาวบ้านใช้แม่น้ำแห่งนี้ในการทำมาหากินเกี่ยวกับประมง รวมถึงใช้สัญจรไปมาข้ามฝั่งเพื่อไปไร่นา อาชีพหลักของชาวบ้านก็จะทำนาและปลูกงา เช่นเดียวกับที่บ้านตะละโค่ง แต่รายได้หลักที่สำคัญคือการปลูก "ขมิ้น"
กาน ศราวุธ เจ้าของไร่ขมิ้น บอกว่าเกือบทุกครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูกขมิ้นครอบครัวละ ประมาณ 3 - 4 ไร่ ขายได้ปีละครั้ง ขมิ้นที่นี่อาจจะเรียกว่าเป็นขมิ้นปลอดสารก็ได้เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีในการบำรุง อาศัยดินที่ดีอยู่แล้วและการเอาใจใส่เท่านั้น ในช่วงที่ขมิ้นพร้อมขุดออกมาขายนั้น ผู้คนจะไปรวมตัวกันในไร่ เนื่องจากการขุดขมิ้นต้องใช้คนช่วยหลายคน เพราะนอกจากขุดแล้วยังจำเป็นที่จะต้องเอาไปล้างทำความสะอาด สถานที่ล้างขมิ้นก็ต้องเป็นที่ลำห้วยช่องแป๊ะ เพราะเป็นลำห้วยที่มีน้ำที่ใสไม่มีสารพิษปนเปื้อน ก่อนจะนำไปตากให้แห้งและขายให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท เพื่อเป็นรายได้สำหรับครอบครัว
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"บ้านตะละโค่ง" และ "บ้านช่องแป๊ะ" ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ตั้งอยู่ในผืนป่ามรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภออุ้มผาง 139 กิโลเมตร ผู้คนทั้งสองหมู่บ้านยังคงเต็มไปด้วยความสุขกับวิถีชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติและพึ่งพาตนเอง
ครูเอส ณรงค์ ปวงคำ ครูนิเทศก์ ศศช.กลุ่มบ้านตะละโค่ง กศน.อำเภออุ้มผาง เล่าว่าผู้คนที่นี่ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยในการดำรงชีวิตหลักจากภายนอก เพราะทั้งที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร พวกเขาสามารถทำเองได้ ปลูกข้าว ปลูกงา พอกินในแต่ละปี ตีมีด ทอผ้า ทำเครื่องจักสานใช้เอง มีรถอีต๊อกเป็นพาหนะสำคัญในการเดินทาง ขนผลผลิตในไร่และใช้เป็นเครื่องยนต์ในการสีข้าว คนที่นี่นิยมใช้รถอีต๊อก ซึ่งหากจะเทียบกับพาหนะที่คนใช้ด้านนอกก็อาจจะคืน รถกะบะ เพราะสามารถที่จะบรรทุกสิ่งของต่าง ๆ ได้มากมาย
ครูตุ๊ก อนุวงศ์ ปันเป็ง ครู ศศช.บ้านตะละโค่ง เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนบ้านตะละโค่งมาเกือบ 20 ปี บอกว่าที่นี่มีเพียงไฟฟ้าจากโซลาเซลล์ แต่ไร้สัญญาณโทรศัพท์ ครูที่มาอยู่ในหมู่บ้านกลางป่าเช่นนี้ ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่สอนหนังสือ แต่ต้องเป็นพ่อครัว ภารโรง และสารพัดช่าง รวมถึงเป็นลูกหลานหรือเป็นสมาชิกในชุมชนไปด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะมีกิจกรรมใดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือโรงเรียน ทุกคนจะร่วมมือร่วมใจไปช่วยกัน และเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งความรู้ทางวิชาการและวิถีชุมชน
ในหมู่บ้านตะละโค่งมีศาลาเอนกประสงค์ที่ร่วมกันสร้างไว้ เพื่อเป็นที่พักสำหรับพระธุดงค์ที่เดินทางผ่านไปมาได้พัก ทุกเช้าหากมีเสียงระฆัง แสดงว่ามีพระสงฆ์มาบิณฑบาตที่หมู่บ้าน ชาวบ้านจะเตรียมภัตตาหารเท่าที่ตนเองมีไปถวาย ทำเช่นนี้สืบทอดกันมายาวนาน นอกจากนี้ทุก ๆ วันพระ คนบ้านตะละโค่งแต่ละครอบครัวจะนำเทียนขี้ผึ้งที่มีลักษณะเป็นเล่มเล็ก ๆ และทำขึ้นเอง ไปจุดไหว้เจดีย์ทรายที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน เพื่อขอพรให้ผู้คนในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข หากใครมีเรื่องราวอะไรไม่สบายใจก็สามารถที่จะปรึกษาเจ้าวัด ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือ
ยอดดอยก่องก๊อง ที่สามารถมองเห็นจากบ้านตะละโค่ง เป็นเขตแดนกั้นระหว่าง อ.อุ้มผางกับ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ที่มีเส้นทางธรรมชาติซึ่งใช้ในการเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แม้จะเป็นเพียงเส้นทางเดินเท้าแต่สามารถย่นระยะทาง และประหยัดเวลาได้มากว่าทางรถยนต์ เป็นเส้นทางสำคัญในการพบปะของญาติมิตรรวมถึงการขึ้นไปไหว้เจดีย์บนยอดดอย นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางเดินของพระธุดงค์ และเป็นเส้นทางที่หนุ่มสาวจำนวนมากได้พบรัก เช่น เอกชัย และ มาลินี "คู่รักข้ามขุนเขา" ที่ทางรายการได้เจอ ทั้งคู่รักและแต่งงานกันมา 13 - 14 ปีแล้ว โดยเอกชัย เดินทางไกลมาจาก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มาพบรักกับ มาลินี สาวจากบ้านตะละโค่ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก หลังจากนั้นก็สื่อสารกันผ่านจดหมายน้อย ที่ฝากมากับคนที่เดินทางผ่านเส้นทาง จนแต่งงานกันและมีลูกทั้งหมดสามคน
ไม่ไกลจากบ้านตะละโค่งมากนัก มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีคนอาศัยอยู่ไม่กี่ครัวเรือนชื่อว่า "บ้านช่องแป๊ะ" ตั้งอยู่ ที่นี่เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำแม่กลองชาวบ้านใช้แม่น้ำแห่งนี้ในการทำมาหากินเกี่ยวกับประมง รวมถึงใช้สัญจรไปมาข้ามฝั่งเพื่อไปไร่นา อาชีพหลักของชาวบ้านก็จะทำนาและปลูกงา เช่นเดียวกับที่บ้านตะละโค่ง แต่รายได้หลักที่สำคัญคือการปลูก "ขมิ้น"
กาน ศราวุธ เจ้าของไร่ขมิ้น บอกว่าเกือบทุกครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูกขมิ้นครอบครัวละ ประมาณ 3 - 4 ไร่ ขายได้ปีละครั้ง ขมิ้นที่นี่อาจจะเรียกว่าเป็นขมิ้นปลอดสารก็ได้เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีในการบำรุง อาศัยดินที่ดีอยู่แล้วและการเอาใจใส่เท่านั้น ในช่วงที่ขมิ้นพร้อมขุดออกมาขายนั้น ผู้คนจะไปรวมตัวกันในไร่ เนื่องจากการขุดขมิ้นต้องใช้คนช่วยหลายคน เพราะนอกจากขุดแล้วยังจำเป็นที่จะต้องเอาไปล้างทำความสะอาด สถานที่ล้างขมิ้นก็ต้องเป็นที่ลำห้วยช่องแป๊ะ เพราะเป็นลำห้วยที่มีน้ำที่ใสไม่มีสารพิษปนเปื้อน ก่อนจะนำไปตากให้แห้งและขายให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท เพื่อเป็นรายได้สำหรับครอบครัว
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live