บ้านดอนดู่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม หมู่บ้านที่อยู่ห่างจากใจกลางจังหวัดไม่ถึง 20 กิโลเมตร ที่ยังคงวิถีชิวิตการทำมาหากินแบบที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ คนที่นี่เกือบทุกหลังคาเรือนมีอาชีพทำนาเป็นหลัก และมีรายได้เสริมจากการสานก้นมวยนึ่งข้าว ด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นก็ คือ ไม้ไผ่ เมื่อเข้ามาในหมู่บ้านจะเห็นการตากเส้นตอก และผู้หญิงทุกวัยนั่งสานก้นมวย ซึ่งเป็นงานหัตกรรมที่ทำสืบต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้คนบ้านดอนดู่ยังมีแหล่งหาอาหารอยู่หน้าหมู่บ้าน นั่นคือ "หนองกระทุ่ม" ซึ่งเป็นเหมือนตู้กับข้าวในทุกฤดูกาล และเป็นที่พึ่งของคนอยู่รอบ ๆ หนองอีกหลายหมู่บ้าน
ที่บ้านดอนดู่ มีหลาย ๆ คนชอบทำมากินในหน้าแล้ง จึงรวมกลุ่มกันออกหาอาหารด้วยการเดินทางโดยรถกระบะของ เต้น - ชาญชัย สว่างโคตร ซึ่งเป็นรถที่มีเอกลักษณะ เพราะเต็มไปด้วยเครื่องมือหากินไปเต็มคัน เช่น เรือ, แห, จอบ, เสียม, บันไดไม้ รวมทั้งห่อข้าวและอุปกรณ์ทำอาหาร เมื่อว่างจากภาระกิจการงานของครอบครัว นักขุดจะออกไปหาของกินทั้งในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีของกินให้ขุด ให้หา แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง, หอย, ปูปลา หรือว่า กบ, เขียด, อึ่งอ่าง ที่จำศีลอยู่ใต้ดินในหน้าแล้ง
โคกหัวหล่อน ต.ดอนหว่าน อ.เมืองมหาสารคาม เป็นแหล่งที่กลุ่มนักขุดบ้านดอนดู่และผู้คนที่อยู่ใกล้ได้อาศัยแวะมาหาอาหาร อย่างเช่น พี่จินตนา แสงโทโพธิ์ และเพื่อน ๆ จากบ้านหนองหว้า ที่ขุดแมงจีนูนได้นับร้อยตัว ใส่ในข้องใบจิ๋ว กลับไปคั่วตำน้ำพริก ศักดิ์ - อดิศักดิ์ ปักกะเต มีประสบการณ์ขุดแมงเงา 30 ปี บอกว่าที่นี่หาแมงเงา หรือ แมงป่องช้าง อาหารอันโอชะของพวกเขา ซึ่งหาไม่ยากสำหรับคนที่ขุดจนเชี่ยวชาญ ที่สำคัญต้องขุดหาในตอนกลางวัน เพราะเป็นเวลาที่แมงป่องช้างไม่ได้ออกหากิน ศักดิ์บอกวิธีสังเกตที่ลักษณะรูของแมงเงา ว่าปากรูจะไม่กลมนัก บางตัวอยู่ในรูลึก บางตัวขุดรูตื้น ๆ บางรูไม่มีแมงเงาอยู่แล้ว แต่เมื่อเจอรูต้องขุด ศักดิ์ไม่แนะนำให้จับแมงเงา เพราะเป็นสัตว์ที่มีเหล็กใน พิษของแมงเงาเป็นอันตรายมาก แต่คนมาหาส่วนใหญ่รู้วิธีจับอย่างปลอดภัย แมงเงาหลายตัวที่จับได้ ศักดิ์จะนำไปย่างตำน้ำพริกกินกับเพื่อน ๆ
แหล่งหากุดจี่อยู่ที่ทุ่งเลี้ยงควายห้วยแอ่ง เพราะกุดจี่จะอยู่ในกองขี้ควาย วิธีหาให้สังเกตกองขี้ควายขนาดใหญ่ มีขุยเป็นดินแทรกอยู่ ถากขี้ควายออกแล้วขุดไปตามรูจะเจอตัวกุดจี่สีดำ กุดจี่ตัวผู้จะมีเขาเหมือนนอแรด ส่วนตัวเมียไม่มีเขา พี่เขียว - สุนทร พหลทัพ บอกว่าเวลากุดจี่วางไข่เขาจะขนขี้ควายลงไปในรูวันละนิด ๆ จนเป็นลูกกลม ๆ ห่อตัวหนอนหรือดักแด้ เรียกว่า "ไข่เบ้า" เพื่อให้ลูกกุดจี่ปลอดภัยจากมดและแมลง
"อึ่งย่าง" หรือ "อึ่งอ่างบ้าน" สามารถขุดหาได้เช่นกัน โดยดูสามารถดูขุยและขนาดของตัวอึ่งอ่างได้จากรอยดินที่ดันขึ้นมาจากรู การขุดอึ่งอ่างต้องขุดลึกลงไป 80 - 100 ซม. และต้องเป็นมีประสบการณ์อย่าง พี่ประสาน ไวมาตร เท่านั้น จึงจะได้อึ่งอ่างมากพอสำหรับมื้ออาหาร
นักขุดเป็นคนช่างสังเกต หากเห็นชันโรงตัวเล็ก ๆ บินอยู่ใกล้จอมปลวก รอบ ๆ มีดอกไม้ พวกเขาจะมองหารังขี้สูด และมักจะไม่พลาด เพราะจะพบปล่องใสทรงสูง มีตัวขี้สูดจำนวนบินเข้า - ออก จะลงมือขุดทันที โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ ด้วยตัวขี้สูดเป็นผึ้งจิ๋วที่ไม่มีเหล็กใน น้ำหวานของขี้สูดจะมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย
นอกจากนี้ กลุ่มนักขุดแห่งบ้านดอนดู่ ยังชอบการขุดหาปลาไหล เพราะสามารถทำอาหารได้อร่อย อาจต้องขุดในพื้นที่ดินแห้ง หรือ เหนียวเกินไปบ้างโคลนลึกบ้าง หลายครั้งจะเสี่ยงต่อการกลับบ้านมือเปล่า แต่พวกเขาพยายามและอดทน เพราะนี่เป็นการหากินตามธรรมชาติไม่ต้องใช้เงินซื้อหา เป็นความสุขที่ได้ทำมาหากินตามวิถีของลูกอีสาน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านดอนดู่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม หมู่บ้านที่อยู่ห่างจากใจกลางจังหวัดไม่ถึง 20 กิโลเมตร ที่ยังคงวิถีชิวิตการทำมาหากินแบบที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ คนที่นี่เกือบทุกหลังคาเรือนมีอาชีพทำนาเป็นหลัก และมีรายได้เสริมจากการสานก้นมวยนึ่งข้าว ด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นก็ คือ ไม้ไผ่ เมื่อเข้ามาในหมู่บ้านจะเห็นการตากเส้นตอก และผู้หญิงทุกวัยนั่งสานก้นมวย ซึ่งเป็นงานหัตกรรมที่ทำสืบต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้คนบ้านดอนดู่ยังมีแหล่งหาอาหารอยู่หน้าหมู่บ้าน นั่นคือ "หนองกระทุ่ม" ซึ่งเป็นเหมือนตู้กับข้าวในทุกฤดูกาล และเป็นที่พึ่งของคนอยู่รอบ ๆ หนองอีกหลายหมู่บ้าน
ที่บ้านดอนดู่ มีหลาย ๆ คนชอบทำมากินในหน้าแล้ง จึงรวมกลุ่มกันออกหาอาหารด้วยการเดินทางโดยรถกระบะของ เต้น - ชาญชัย สว่างโคตร ซึ่งเป็นรถที่มีเอกลักษณะ เพราะเต็มไปด้วยเครื่องมือหากินไปเต็มคัน เช่น เรือ, แห, จอบ, เสียม, บันไดไม้ รวมทั้งห่อข้าวและอุปกรณ์ทำอาหาร เมื่อว่างจากภาระกิจการงานของครอบครัว นักขุดจะออกไปหาของกินทั้งในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีของกินให้ขุด ให้หา แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง, หอย, ปูปลา หรือว่า กบ, เขียด, อึ่งอ่าง ที่จำศีลอยู่ใต้ดินในหน้าแล้ง
โคกหัวหล่อน ต.ดอนหว่าน อ.เมืองมหาสารคาม เป็นแหล่งที่กลุ่มนักขุดบ้านดอนดู่และผู้คนที่อยู่ใกล้ได้อาศัยแวะมาหาอาหาร อย่างเช่น พี่จินตนา แสงโทโพธิ์ และเพื่อน ๆ จากบ้านหนองหว้า ที่ขุดแมงจีนูนได้นับร้อยตัว ใส่ในข้องใบจิ๋ว กลับไปคั่วตำน้ำพริก ศักดิ์ - อดิศักดิ์ ปักกะเต มีประสบการณ์ขุดแมงเงา 30 ปี บอกว่าที่นี่หาแมงเงา หรือ แมงป่องช้าง อาหารอันโอชะของพวกเขา ซึ่งหาไม่ยากสำหรับคนที่ขุดจนเชี่ยวชาญ ที่สำคัญต้องขุดหาในตอนกลางวัน เพราะเป็นเวลาที่แมงป่องช้างไม่ได้ออกหากิน ศักดิ์บอกวิธีสังเกตที่ลักษณะรูของแมงเงา ว่าปากรูจะไม่กลมนัก บางตัวอยู่ในรูลึก บางตัวขุดรูตื้น ๆ บางรูไม่มีแมงเงาอยู่แล้ว แต่เมื่อเจอรูต้องขุด ศักดิ์ไม่แนะนำให้จับแมงเงา เพราะเป็นสัตว์ที่มีเหล็กใน พิษของแมงเงาเป็นอันตรายมาก แต่คนมาหาส่วนใหญ่รู้วิธีจับอย่างปลอดภัย แมงเงาหลายตัวที่จับได้ ศักดิ์จะนำไปย่างตำน้ำพริกกินกับเพื่อน ๆ
แหล่งหากุดจี่อยู่ที่ทุ่งเลี้ยงควายห้วยแอ่ง เพราะกุดจี่จะอยู่ในกองขี้ควาย วิธีหาให้สังเกตกองขี้ควายขนาดใหญ่ มีขุยเป็นดินแทรกอยู่ ถากขี้ควายออกแล้วขุดไปตามรูจะเจอตัวกุดจี่สีดำ กุดจี่ตัวผู้จะมีเขาเหมือนนอแรด ส่วนตัวเมียไม่มีเขา พี่เขียว - สุนทร พหลทัพ บอกว่าเวลากุดจี่วางไข่เขาจะขนขี้ควายลงไปในรูวันละนิด ๆ จนเป็นลูกกลม ๆ ห่อตัวหนอนหรือดักแด้ เรียกว่า "ไข่เบ้า" เพื่อให้ลูกกุดจี่ปลอดภัยจากมดและแมลง
"อึ่งย่าง" หรือ "อึ่งอ่างบ้าน" สามารถขุดหาได้เช่นกัน โดยดูสามารถดูขุยและขนาดของตัวอึ่งอ่างได้จากรอยดินที่ดันขึ้นมาจากรู การขุดอึ่งอ่างต้องขุดลึกลงไป 80 - 100 ซม. และต้องเป็นมีประสบการณ์อย่าง พี่ประสาน ไวมาตร เท่านั้น จึงจะได้อึ่งอ่างมากพอสำหรับมื้ออาหาร
นักขุดเป็นคนช่างสังเกต หากเห็นชันโรงตัวเล็ก ๆ บินอยู่ใกล้จอมปลวก รอบ ๆ มีดอกไม้ พวกเขาจะมองหารังขี้สูด และมักจะไม่พลาด เพราะจะพบปล่องใสทรงสูง มีตัวขี้สูดจำนวนบินเข้า - ออก จะลงมือขุดทันที โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ ด้วยตัวขี้สูดเป็นผึ้งจิ๋วที่ไม่มีเหล็กใน น้ำหวานของขี้สูดจะมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย
นอกจากนี้ กลุ่มนักขุดแห่งบ้านดอนดู่ ยังชอบการขุดหาปลาไหล เพราะสามารถทำอาหารได้อร่อย อาจต้องขุดในพื้นที่ดินแห้ง หรือ เหนียวเกินไปบ้างโคลนลึกบ้าง หลายครั้งจะเสี่ยงต่อการกลับบ้านมือเปล่า แต่พวกเขาพยายามและอดทน เพราะนี่เป็นการหากินตามธรรมชาติไม่ต้องใช้เงินซื้อหา เป็นความสุขที่ได้ทำมาหากินตามวิถีของลูกอีสาน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live