บ้านกอมูเดอ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง มีบ้านเรือน 149 หลังคา ประชากรประมาณ 592 คน "มิตร" และ "ชัย" สองเพื่อนรักชาวบ้านกอมูเดอ บอกเราว่าที่นี่มีเรื่องราววิถีดั้งเดิมที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่นในหมู่บ้านยังนิยมกินข้าวที่ตำด้วยครกกระเดื่อง แม้จะมีโรงสีขนาดเล็ก แต่ก็ไม่มีอะไรที่ทดแทนข้าวที่ได้จากการใช้แรงกายทำ การแต่งกายของผู้หญิงสูงวัยที่นี่ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็จะโพกผมด้วยผ้าสีสันสดใสเป็นเหมือนหมวก และใส่เครื่องประดับเต็มคอเต็มแขน เต็มขาที่ทำเองด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น เมล็ดกล้วย ฝ้าย ถือเป็นเครื่องประดับที่สวยงามของผู้หญิงในหมู่บ้านนี้มาช้านานแล้ว
วิถีการเลี้ยงสัตว์อย่างไก่แบบบ้านกอมูเดอก็มีความพิเศษ ยังเลี้ยงกันแบบดั้งเดิม และมีอยู่แทบทุกใต้ถุนบ้าน โดยมี "ซึ" หรือ"สุ่มไก่" รูปร่างน่ารักที่ทำมาจากไม้ไผ่ ขังไก่ในเวลากลางคืนเพื่อให้ไก่นอน นอกจากนี้ยังสามารถ หิ้วบ้าง แบกใส่หลังบ้าง เอาไก่ไปเลี้ยงที่ไร่ด้วยในตอนเช้าและแบกกลับมาในตอนค่ำ ๆ การที่ต้องเอาไก่ไปไร่ เพราะว่าช่วยกินแมลงที่ทำลายพืชผักของชาวบ้าน ทำให้พื้นที่นี้ไม่ต้องใช้สารเคมี
ลำธารที่ไหลผ่านหมู่บ้านของที่นี่ เป็นถนนในฤดูแล้งที่น้ำลด ชาวบ้านสามารถเดินและขับรถบนลำธารได้ นอกจากจะมีลำธารสายเล็กสายน้อยไหลผ่านแล้ว ที่นี่ยังเต็มไปด้วยป่าที่เป็นแหล่งซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ "ดอกดิน" ผักป่าที่ผุดขึ้นมาจากดิน มีลักษณะเหมือนดอกไม้ ซึ่งทุกคนรอคอย เพราะ 1 ปีจะได้กินเพียง 1 ครั้งในช่วงหน้าฝน ดอกดินมีหลายลักษณะ เมื่อยังเป็นต้นอ่อน ๆ จะมีสีขาวแซมเหลือง แต่หลังจากที่ดอกร่วงไปจะกลายเป็นลำต้นมีสีออกแดงเรื่อ ๆ สามารถขุดมากินได้ นิยมนำไปแกงหรือต้มกินกับน้ำพริก รสชาติจะออกมัน ๆ เมื่อขุดแล้วก็จะฝังเหง้าหัวไว้ในดินเพื่อเก็บในปีต่อ ๆ ไป
"ต้นพลู" บ้านกอมูเดอต้องปลูกในป่าใหญ่ เพราะต้องอาศัยต้นไม้ใหญ่ในป่าเพื่อการเติบโต โดยจะเลือกปลูกเถาพลูที่ใต้ต้นไม้ที่บางต้นสูง 20 - 30 เมตร เพื่อให้ต้นพลูเล็ก ๆ เลื้อยเกาะเหมือนกาฝากพันรอบต้น ความจำเป็นในการปลูกพลูในป่าเนื่องจากในป่านั้นมีดินดี น้ำอุดมสมบูรณ์เพราะมีน้ำตกเล็ก ๆ เป็นแหล่งน้ำให้ต้นไม้และอากาศที่ชื้น จะทำให้พลูที่นี่มีใบใหญ่ หนาและสวยงาม โดยจะปลูกหน้าฝนและเก็บหน้าร้อน เวลาเก็บคนขึ้นพลูจะต้องช่วยกันทำบันไดยาว ๆ แล้วปีนขึ้นไปเก็บพลู ซึ่งคนที่ปีนขึ้นไปเก็บพลูต้องปีนต้นไม้เก่งและใจกล้าแกร่งมากเพราะความสูงของต้นไม้สูง ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ ใช้ความชำนาญล้วน ๆ
วิถีการกินพลูของคนบ้านกอมูเดอ ชอบกินพลูที่ต้มสุก โดยนำมากินกับหมากและปูนขาว เหมือนที่กินใบพลูสด ๆ แต่ที่ต้องต้มเพราะจะทำให้อยู่ได้นาน และทำให้หมากที่กินด้วยไม่แข็งมาก พลูต้มของบ้านกอมูเดอเป็นที่นิยมของพ่อค้าทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการขายพลูต้ม ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท นับเป็นความโชคดีของคนที่นี่ที่มีทรัพยากรที่ไม่ต้องซื้อหา ทำให้สามารถหากินหาใช้ได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมาก
ป่าที่นี่ถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมายาวนาน เปรียบเหมือนห้องครัวใหญ่ของชาวบ้านเก็บกินตลอดทั้งปี ทำให้คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านหลาย ๆ คนที่เคยไปใช้ชีวิตอยู่ในเมืองก็หันกลับมาอยู่บ้าน วิถีชีวิตผู้คนที่นี่เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ พ่อแม่มาสอนเรื่องการดูแลป่าอย่างไรให้สามารถผลิตอาหารให้กินได้ตลอด พวกเขาก็ทำตามคำสอนเหล่านั้น
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านกอมูเดอ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง มีบ้านเรือน 149 หลังคา ประชากรประมาณ 592 คน "มิตร" และ "ชัย" สองเพื่อนรักชาวบ้านกอมูเดอ บอกเราว่าที่นี่มีเรื่องราววิถีดั้งเดิมที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่นในหมู่บ้านยังนิยมกินข้าวที่ตำด้วยครกกระเดื่อง แม้จะมีโรงสีขนาดเล็ก แต่ก็ไม่มีอะไรที่ทดแทนข้าวที่ได้จากการใช้แรงกายทำ การแต่งกายของผู้หญิงสูงวัยที่นี่ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็จะโพกผมด้วยผ้าสีสันสดใสเป็นเหมือนหมวก และใส่เครื่องประดับเต็มคอเต็มแขน เต็มขาที่ทำเองด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น เมล็ดกล้วย ฝ้าย ถือเป็นเครื่องประดับที่สวยงามของผู้หญิงในหมู่บ้านนี้มาช้านานแล้ว
วิถีการเลี้ยงสัตว์อย่างไก่แบบบ้านกอมูเดอก็มีความพิเศษ ยังเลี้ยงกันแบบดั้งเดิม และมีอยู่แทบทุกใต้ถุนบ้าน โดยมี "ซึ" หรือ"สุ่มไก่" รูปร่างน่ารักที่ทำมาจากไม้ไผ่ ขังไก่ในเวลากลางคืนเพื่อให้ไก่นอน นอกจากนี้ยังสามารถ หิ้วบ้าง แบกใส่หลังบ้าง เอาไก่ไปเลี้ยงที่ไร่ด้วยในตอนเช้าและแบกกลับมาในตอนค่ำ ๆ การที่ต้องเอาไก่ไปไร่ เพราะว่าช่วยกินแมลงที่ทำลายพืชผักของชาวบ้าน ทำให้พื้นที่นี้ไม่ต้องใช้สารเคมี
ลำธารที่ไหลผ่านหมู่บ้านของที่นี่ เป็นถนนในฤดูแล้งที่น้ำลด ชาวบ้านสามารถเดินและขับรถบนลำธารได้ นอกจากจะมีลำธารสายเล็กสายน้อยไหลผ่านแล้ว ที่นี่ยังเต็มไปด้วยป่าที่เป็นแหล่งซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ "ดอกดิน" ผักป่าที่ผุดขึ้นมาจากดิน มีลักษณะเหมือนดอกไม้ ซึ่งทุกคนรอคอย เพราะ 1 ปีจะได้กินเพียง 1 ครั้งในช่วงหน้าฝน ดอกดินมีหลายลักษณะ เมื่อยังเป็นต้นอ่อน ๆ จะมีสีขาวแซมเหลือง แต่หลังจากที่ดอกร่วงไปจะกลายเป็นลำต้นมีสีออกแดงเรื่อ ๆ สามารถขุดมากินได้ นิยมนำไปแกงหรือต้มกินกับน้ำพริก รสชาติจะออกมัน ๆ เมื่อขุดแล้วก็จะฝังเหง้าหัวไว้ในดินเพื่อเก็บในปีต่อ ๆ ไป
"ต้นพลู" บ้านกอมูเดอต้องปลูกในป่าใหญ่ เพราะต้องอาศัยต้นไม้ใหญ่ในป่าเพื่อการเติบโต โดยจะเลือกปลูกเถาพลูที่ใต้ต้นไม้ที่บางต้นสูง 20 - 30 เมตร เพื่อให้ต้นพลูเล็ก ๆ เลื้อยเกาะเหมือนกาฝากพันรอบต้น ความจำเป็นในการปลูกพลูในป่าเนื่องจากในป่านั้นมีดินดี น้ำอุดมสมบูรณ์เพราะมีน้ำตกเล็ก ๆ เป็นแหล่งน้ำให้ต้นไม้และอากาศที่ชื้น จะทำให้พลูที่นี่มีใบใหญ่ หนาและสวยงาม โดยจะปลูกหน้าฝนและเก็บหน้าร้อน เวลาเก็บคนขึ้นพลูจะต้องช่วยกันทำบันไดยาว ๆ แล้วปีนขึ้นไปเก็บพลู ซึ่งคนที่ปีนขึ้นไปเก็บพลูต้องปีนต้นไม้เก่งและใจกล้าแกร่งมากเพราะความสูงของต้นไม้สูง ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ ใช้ความชำนาญล้วน ๆ
วิถีการกินพลูของคนบ้านกอมูเดอ ชอบกินพลูที่ต้มสุก โดยนำมากินกับหมากและปูนขาว เหมือนที่กินใบพลูสด ๆ แต่ที่ต้องต้มเพราะจะทำให้อยู่ได้นาน และทำให้หมากที่กินด้วยไม่แข็งมาก พลูต้มของบ้านกอมูเดอเป็นที่นิยมของพ่อค้าทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการขายพลูต้ม ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท นับเป็นความโชคดีของคนที่นี่ที่มีทรัพยากรที่ไม่ต้องซื้อหา ทำให้สามารถหากินหาใช้ได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมาก
ป่าที่นี่ถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมายาวนาน เปรียบเหมือนห้องครัวใหญ่ของชาวบ้านเก็บกินตลอดทั้งปี ทำให้คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านหลาย ๆ คนที่เคยไปใช้ชีวิตอยู่ในเมืองก็หันกลับมาอยู่บ้าน วิถีชีวิตผู้คนที่นี่เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ พ่อแม่มาสอนเรื่องการดูแลป่าอย่างไรให้สามารถผลิตอาหารให้กินได้ตลอด พวกเขาก็ทำตามคำสอนเหล่านั้น
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live