ตำบลธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง สลับซับซ้อนและมียอดเขาสูงกว่า 1,000 เมตร อยู่หลายแห่ง ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่มีความหลากหลายทางภาษาและศาสนา แต่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางและสวนผลไม้
ผู้ใหญ่ต้อม วราภรณ์ เงินราษฎร์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านบันนังกระแจะ บอกว่าชาวสวนที่นี่ส่วนใหญ่จะทำสวนผสมผสานมานับร้อยปีสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและทุกสวนจะต้องมีต้นทุเรียนบ้าน ซึ่งเป็นทุเรียนที่ชาวบ้านนิยมปลูกในสมัยก่อน โดยมีลำต้นสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตรขึ้นไป เพราะทุเรียนต้องการแสงมาก ต้องยืดตัวแข่งกับต้นไม้อื่น ๆ ที่มีมากมายในสวน ทุเรียนบ้านนั้น มีการตั้งชื่อหรือสายพันธุ์ตามรูปลักษณ์และความชอบของเจ้าของสวน น้านึง คำนึง หัสแก้ว บอกว่าตั้งไว้หลายชื่อ เช่น "ทองนวล" เพราะเนื้อเหลืองอ่อน "เขียวทอง" เพราะแม้ลูกจะสุกยังมีเปลือกสีเขียว หรือที่สวนของน้าน้อม เรียกทุเรียนที่มีเมล็ดสีโผล่มานอกเนื้อว่า "ทุเรียนไข่ล่อ" นอกจากทุเรียนบ้านแล้ว ทุเรียนพันธุ์ดี เช่น หมอนทอง ก็มีชื่อเสียงว่ารสชาติอร่อย เนื้อแห้ง เรียกว่า "ทุเรียนสะเด็ดน้ำ" ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษนี้เกิดจากพื้นที่สวนทุเรียนส่วนใหญ่อยู่บนภูเขา
ทุเรียนที่ปลูกบนภูเขาและมีลำต้นสูงมีวิถีเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ทุเรียนบ้านจะเก็บลูกที่หล่นใต้ต้นและต้องเก็บภายใน 1 - 2 วัน เพราะหากนานวันจะเน่าเสียขายไม่ได้ ที่ต้องเก็บใต้ต้นเพราะทุเรียนมีลำต้นที่สูงมาก ทำให้ยากต่อการปีนเก็บ นอกจากนั้นการเก็บทุเรียนหล่นนั้นไม่ง่าย เพราะพื้นที่ลาดชัน หญ้ารก กว่าจะหาและแบกมาที่รถต้องใช้ทั้งความพยายามและความอดทน
ส่วนทุเรียนพันธุ์ เช่นหมอนทอง ต้องทำงานเป็นทีม มีคนตัดและคนรับทุเรียน เพื่อไม่ให้ทุเรียนไม่ช้ำ ขั้วไม่หลุด เพราะความสมบูรณ์ของทุเรียนมีผลต่อการตัดเกรดและราคา การตัดทุเรียนทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ต้องทำอย่างมีสติ ให้เสียงสัญญาณกันและกันระหว่างคนตัดกับคนรับ เพราะหากพลาดนั่นหมายถึงการบาดเจ็บและอาจเสียชีวิตได้ ภูวดล และเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นทีมตัดทุเรียนรุ่นใหม่ เป็นทายาทเจ้าของสวนทุเรียนบอกว่า พวกเขาเรียนรู้การทำสวนทุเรียนและตั้งใจจะสืบสานอาชีพนี้ แม้จะลำบากและเสี่ยงแต่ก็มีความสุขเพราะมีรายได้และไม่ต้องไปทำงานที่อื่น
ในเดือนกรกฎาคม ตลาดซื้อขายทุเรียน อ.ธารโต จะคึกคักมากตั้งแต่บ่ายถึงเช้าวันใหม่ เพราะมีพ่อค้าแม่ค้าจากทั้งในและนอกพื้นที่เปิดร้านรับซื้ออยู่ทั่วไป และที่ต้องเปิดกลางคืนด้วย เพราะคนที่ตัดทุเรียนกลางคืนก็มีอยู่จำนวนมาก และนิยมมาขายเย็น ๆ ค่ำ ๆ ดังนั้นใครผ่านแถวหมู่บ้านนี้ยามค่ำคืนจะเห็นความคึกคักของร้านรับซื้อทุเรียน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ตำบลธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง สลับซับซ้อนและมียอดเขาสูงกว่า 1,000 เมตร อยู่หลายแห่ง ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่มีความหลากหลายทางภาษาและศาสนา แต่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางและสวนผลไม้
ผู้ใหญ่ต้อม วราภรณ์ เงินราษฎร์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านบันนังกระแจะ บอกว่าชาวสวนที่นี่ส่วนใหญ่จะทำสวนผสมผสานมานับร้อยปีสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและทุกสวนจะต้องมีต้นทุเรียนบ้าน ซึ่งเป็นทุเรียนที่ชาวบ้านนิยมปลูกในสมัยก่อน โดยมีลำต้นสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตรขึ้นไป เพราะทุเรียนต้องการแสงมาก ต้องยืดตัวแข่งกับต้นไม้อื่น ๆ ที่มีมากมายในสวน ทุเรียนบ้านนั้น มีการตั้งชื่อหรือสายพันธุ์ตามรูปลักษณ์และความชอบของเจ้าของสวน น้านึง คำนึง หัสแก้ว บอกว่าตั้งไว้หลายชื่อ เช่น "ทองนวล" เพราะเนื้อเหลืองอ่อน "เขียวทอง" เพราะแม้ลูกจะสุกยังมีเปลือกสีเขียว หรือที่สวนของน้าน้อม เรียกทุเรียนที่มีเมล็ดสีโผล่มานอกเนื้อว่า "ทุเรียนไข่ล่อ" นอกจากทุเรียนบ้านแล้ว ทุเรียนพันธุ์ดี เช่น หมอนทอง ก็มีชื่อเสียงว่ารสชาติอร่อย เนื้อแห้ง เรียกว่า "ทุเรียนสะเด็ดน้ำ" ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษนี้เกิดจากพื้นที่สวนทุเรียนส่วนใหญ่อยู่บนภูเขา
ทุเรียนที่ปลูกบนภูเขาและมีลำต้นสูงมีวิถีเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ทุเรียนบ้านจะเก็บลูกที่หล่นใต้ต้นและต้องเก็บภายใน 1 - 2 วัน เพราะหากนานวันจะเน่าเสียขายไม่ได้ ที่ต้องเก็บใต้ต้นเพราะทุเรียนมีลำต้นที่สูงมาก ทำให้ยากต่อการปีนเก็บ นอกจากนั้นการเก็บทุเรียนหล่นนั้นไม่ง่าย เพราะพื้นที่ลาดชัน หญ้ารก กว่าจะหาและแบกมาที่รถต้องใช้ทั้งความพยายามและความอดทน
ส่วนทุเรียนพันธุ์ เช่นหมอนทอง ต้องทำงานเป็นทีม มีคนตัดและคนรับทุเรียน เพื่อไม่ให้ทุเรียนไม่ช้ำ ขั้วไม่หลุด เพราะความสมบูรณ์ของทุเรียนมีผลต่อการตัดเกรดและราคา การตัดทุเรียนทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ต้องทำอย่างมีสติ ให้เสียงสัญญาณกันและกันระหว่างคนตัดกับคนรับ เพราะหากพลาดนั่นหมายถึงการบาดเจ็บและอาจเสียชีวิตได้ ภูวดล และเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นทีมตัดทุเรียนรุ่นใหม่ เป็นทายาทเจ้าของสวนทุเรียนบอกว่า พวกเขาเรียนรู้การทำสวนทุเรียนและตั้งใจจะสืบสานอาชีพนี้ แม้จะลำบากและเสี่ยงแต่ก็มีความสุขเพราะมีรายได้และไม่ต้องไปทำงานที่อื่น
ในเดือนกรกฎาคม ตลาดซื้อขายทุเรียน อ.ธารโต จะคึกคักมากตั้งแต่บ่ายถึงเช้าวันใหม่ เพราะมีพ่อค้าแม่ค้าจากทั้งในและนอกพื้นที่เปิดร้านรับซื้ออยู่ทั่วไป และที่ต้องเปิดกลางคืนด้วย เพราะคนที่ตัดทุเรียนกลางคืนก็มีอยู่จำนวนมาก และนิยมมาขายเย็น ๆ ค่ำ ๆ ดังนั้นใครผ่านแถวหมู่บ้านนี้ยามค่ำคืนจะเห็นความคึกคักของร้านรับซื้อทุเรียน
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live