"ปัตตานี" เป็นจังหวัดที่ถูกขนานนามว่าเป็น "ดินแดนพหุวัฒนธรรม" ที่ชาวไทยพุทธ - มุสลิมและจีน อาศัยอยู่ร่วมกันและใช้ชีวิตแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ใครมาก็ต้องหลงเสน่ห์ในวิถีดั้งเดิมของผู้คนที่นี่
ปัตตานียังเป็นเมืองประมงที่ใหญ่แห่งหนึ่งของภาคใต้ ที่ท่าเทียบเรือประมงจังหวัดทุก ๆ เช้าที่นี่คึกคักไปด้วยเหล่าพ่อค้าแม่ค้าจากทั่วปัตตานีและใกล้เคียง จะมาซื้ออาหารทะเลสดที่สะพานปลา เราได้เห็นรถที่คนที่นี่เรียกว่า "รถโชเล่ย์" ที่ดูก็เหมือนกับรถซาเล้ง โดยเป็นการดัดแปลงรถมอเตอร์ไซค์ใส่พ่วงข้าง ใส่หลังคา ใส่ตะกร้าเป็นชั้น ๆ หลากหลายสีสันเพื่อไว้ใส่ของที่ขาย และตระเวนขายของ ทั้งของสดของแห้ง แทบทุกอย่างเหมือนรถพุ่มพวง เช่น แบยา และเด๊ะนะ เป็นคนขายของด้วยรถโชเล่ย์มายาวนาน ทุกวันจะเริ่มต้นจากการซื้อของ โดยเฉพาะอาหารทะเลตั้งแต่เช้ามืด หลังจากนั้น 08.00 น. ก็เริ่มออกขาย เส้นทางการขายนั้นคือขับไปตามอำเภอต่าง ๆ เช่น ยะหริ่ง โคกโพธิ์ หรือที่อื่น ๆ รถโชเล่ย์จะบริการถึงที่หน้าบ้าน เข้าไปทุกตรอกเล็ก ตรอกน้อย โดยคนที่รอซื้อส่วนใหญ่ก็คือ แม่บ้านที่ใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน ที่มักจะตั้งหน้าตั้งตารอทุกวัน แม้กำไรไม่มากนัก แต่การใส่ใจที่มีต่อลูกค้านั้นสุดยอดมากกว่ากำไร
วิถีการทำมาหากินของปัตตานีที่มีเสน่ห์อยู่มากและยังสืบทอดกันมายาวนานนั่นคืออาชีพขาย "ไก่กอและ กับ ข้าวหลาม" ซึ่งยังทำกินและขายกันทั้งหมู่บ้านมายาวนานกว่า 100 ปี โดยเฉพาะที่บ้านทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งยังมีคนเก่าแก่ที่ยังทำ เช่น เมาะซีตี ในวัย 96 ปี ก็ยังทำช่วยลูกหลานทำไก่กอและและข้าวหลามขาย เมาะซีตีบอกว่าทำสืบทอดจากพ่อแม่มาถึงรุ่น 4 แล้ว ผู้ใหญ่มะ ดิเรก หลำหวัง ผู้ใหญ่บ้านทุ่งพลา เล่าว่า "ไก่กอและ" คือไก่ย่างและมีน้ำแกงกะทิราด ย่างพลิกไปพลิกมาจนสุก สูตรก็แล้วแต่ใครจะทำอย่างไร คนที่นี่และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นที่นิยมในการกินมาก เพราะข้าวหลามกับไก่กอและมันจะเป็นของเหมือนกับข้าว กับน้ำพริกปลาทู ถ้ากินแบบไม่มีน้ำจิ้มไก่กอและจะไม่อร่อยเท่าไร แต่ถ้ากินคู่กันมันจะรสชาติกลมกล่อมอร่อย ปัจจุบันอาชีพขาย "ไก่กอและกับข้าวหลาม" กลายเป็นอาชีพหลักของหลายคน ซึ่งโรงทำข้าวหลามและไก่กอและส่วนใหญ่จะแยกจากตัวบ้าน เพราะควันเยอะ ไก่กอและกับข้าวหลามที่ทำเสร็จจากหมู่บ้านทุ่งพลา จะถูกเดลิเวอรีโดยคนในท้องถิ่นไปตามที่ต่าง ๆ ในภาคใต้ตอนล่าง เช่น จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.สงขลา เพราะมีชื่อเสียงมายาวนานและหากินยาก เอกลักษณ์การขายของคนที่นี่น่าสนใจมาก แม้จะต้องไปขายไกลแต่ ชาวบ้านบางคนก็ยังต้องเอาของนั้นใส่ "ทูนหัว" โดยวางบน "ผ้าม้วนทูน" แล้วก็เดินขาย ซึ่งของที่ขายจะใส่ในภาชนะที่เรียกว่า "กระเชอ" ราคาขายไก่กอและ เริ่มตั้งแต่ ไม้ละ 20 - 40 บาท ราคาขายข้าวหลามกระบอกละ 10 - 60 บาท สร้างรายได้ให้คนบ้านทุ่งพลาประมาณวันละ 2,000 บาท
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"ปัตตานี" เป็นจังหวัดที่ถูกขนานนามว่าเป็น "ดินแดนพหุวัฒนธรรม" ที่ชาวไทยพุทธ - มุสลิมและจีน อาศัยอยู่ร่วมกันและใช้ชีวิตแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ใครมาก็ต้องหลงเสน่ห์ในวิถีดั้งเดิมของผู้คนที่นี่
ปัตตานียังเป็นเมืองประมงที่ใหญ่แห่งหนึ่งของภาคใต้ ที่ท่าเทียบเรือประมงจังหวัดทุก ๆ เช้าที่นี่คึกคักไปด้วยเหล่าพ่อค้าแม่ค้าจากทั่วปัตตานีและใกล้เคียง จะมาซื้ออาหารทะเลสดที่สะพานปลา เราได้เห็นรถที่คนที่นี่เรียกว่า "รถโชเล่ย์" ที่ดูก็เหมือนกับรถซาเล้ง โดยเป็นการดัดแปลงรถมอเตอร์ไซค์ใส่พ่วงข้าง ใส่หลังคา ใส่ตะกร้าเป็นชั้น ๆ หลากหลายสีสันเพื่อไว้ใส่ของที่ขาย และตระเวนขายของ ทั้งของสดของแห้ง แทบทุกอย่างเหมือนรถพุ่มพวง เช่น แบยา และเด๊ะนะ เป็นคนขายของด้วยรถโชเล่ย์มายาวนาน ทุกวันจะเริ่มต้นจากการซื้อของ โดยเฉพาะอาหารทะเลตั้งแต่เช้ามืด หลังจากนั้น 08.00 น. ก็เริ่มออกขาย เส้นทางการขายนั้นคือขับไปตามอำเภอต่าง ๆ เช่น ยะหริ่ง โคกโพธิ์ หรือที่อื่น ๆ รถโชเล่ย์จะบริการถึงที่หน้าบ้าน เข้าไปทุกตรอกเล็ก ตรอกน้อย โดยคนที่รอซื้อส่วนใหญ่ก็คือ แม่บ้านที่ใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน ที่มักจะตั้งหน้าตั้งตารอทุกวัน แม้กำไรไม่มากนัก แต่การใส่ใจที่มีต่อลูกค้านั้นสุดยอดมากกว่ากำไร
วิถีการทำมาหากินของปัตตานีที่มีเสน่ห์อยู่มากและยังสืบทอดกันมายาวนานนั่นคืออาชีพขาย "ไก่กอและ กับ ข้าวหลาม" ซึ่งยังทำกินและขายกันทั้งหมู่บ้านมายาวนานกว่า 100 ปี โดยเฉพาะที่บ้านทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งยังมีคนเก่าแก่ที่ยังทำ เช่น เมาะซีตี ในวัย 96 ปี ก็ยังทำช่วยลูกหลานทำไก่กอและและข้าวหลามขาย เมาะซีตีบอกว่าทำสืบทอดจากพ่อแม่มาถึงรุ่น 4 แล้ว ผู้ใหญ่มะ ดิเรก หลำหวัง ผู้ใหญ่บ้านทุ่งพลา เล่าว่า "ไก่กอและ" คือไก่ย่างและมีน้ำแกงกะทิราด ย่างพลิกไปพลิกมาจนสุก สูตรก็แล้วแต่ใครจะทำอย่างไร คนที่นี่และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นที่นิยมในการกินมาก เพราะข้าวหลามกับไก่กอและมันจะเป็นของเหมือนกับข้าว กับน้ำพริกปลาทู ถ้ากินแบบไม่มีน้ำจิ้มไก่กอและจะไม่อร่อยเท่าไร แต่ถ้ากินคู่กันมันจะรสชาติกลมกล่อมอร่อย ปัจจุบันอาชีพขาย "ไก่กอและกับข้าวหลาม" กลายเป็นอาชีพหลักของหลายคน ซึ่งโรงทำข้าวหลามและไก่กอและส่วนใหญ่จะแยกจากตัวบ้าน เพราะควันเยอะ ไก่กอและกับข้าวหลามที่ทำเสร็จจากหมู่บ้านทุ่งพลา จะถูกเดลิเวอรีโดยคนในท้องถิ่นไปตามที่ต่าง ๆ ในภาคใต้ตอนล่าง เช่น จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.สงขลา เพราะมีชื่อเสียงมายาวนานและหากินยาก เอกลักษณ์การขายของคนที่นี่น่าสนใจมาก แม้จะต้องไปขายไกลแต่ ชาวบ้านบางคนก็ยังต้องเอาของนั้นใส่ "ทูนหัว" โดยวางบน "ผ้าม้วนทูน" แล้วก็เดินขาย ซึ่งของที่ขายจะใส่ในภาชนะที่เรียกว่า "กระเชอ" ราคาขายไก่กอและ เริ่มตั้งแต่ ไม้ละ 20 - 40 บาท ราคาขายข้าวหลามกระบอกละ 10 - 60 บาท สร้างรายได้ให้คนบ้านทุ่งพลาประมาณวันละ 2,000 บาท
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live