บ้านตาโมม ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพทำนา ผู้คนที่นี่เป็นคนไทยชาติพันธุ์กูยหรือส่วย มีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ และมีความเชื่อความศรัทธาในการรักษาประเพณีอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะวันสารทกูยหรือสารทส่วย ซึ่งจะทำในวันขึ้น 14 ค่ำและ 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
การเตรียมงานเทศกาลวันสารทสำคัญมาก สิ่งของต้องเตรียมมีมากโดยต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า เพราะมีทั้งของกิน ของใช้ ของสด ของแห้ง โดยเฉพาะอาหารการกินนั้นจะมากเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ทั้งการเซ่นไหว้ และนำไปใส่กระบุงวันสารท ซึ่งอาหารนั้นมีทั้งอาหารคาว อาหารหวาน และล้วนแต่เป็นอาหารที่บรรพบุรุษ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบกิน จำพวกขนม เช่น ขนมโช้ก, ขนมโกร้ย, ขนมดอกจอก, ข้าวพอง และอาหารต่าง ๆ เช่น กบ, หนู, ปลา, ปลาไหล, เนื้อวัว, เนื้อหมู ซึ่งต้องปิ้ง ย่าง นึ่ง หรือแกง เพราะเป็นการประกอบอาหารของคนสมัยก่อนที่น้ำมันเป็นของหายาก
ป้านิยม พลศรี บอกว่า "ปีหนึ่งมีเพียงครั้งเดียวที่จะได้ทำบุญใหญ่ให้พ่อแม่ อาหารที่พ่อแม่เคยชอบกิน ยากลำบากแค่ไหนก็จะหา ทำแล้วมีความสุข"
"วันเซ่นไหว้" เป็นวันที่ลูกหลานคนบ้านตาโมมจากที่ต่าง ๆ ทุกเพศ ทุกวัย กลับมารวมตัวกัน เพื่อนำอาหารมากมายที่เตรียมไว้ ไปเซ่นไหว้อัฐิของบรรพบุรุษ พ่อแม่ ญาติพี่น้องชาวบ้านตาโมมผู้ล่วงลับไปแล้วที่เจดีย์ บริเวณรอบ ๆ กำแพงวัดเต่าทองซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน การเซ่นไหว้จะทำทั้งวัน ซึ่งจะมีการนิมนต์พระมาสวดมาติกาบังสุกุล
นอกจากการเซ่นที่วัดแล้ว ในเวลาเย็นถึงค่ำ จะรวมลูกหลานอีกครั้งที่บ้านหลังที่พ่อแม่หรือบรรพบุรุษเคยอยู่ก่อนเสียชีวิต เป็นการเซ่นไหว้แบบครอบครัว เมื่อเสร็จพิธีจะรับประทานอาหารที่นำมาเซ่นด้วยกัน ผู้ใหญ่บ้านศุภสรณ์ ชัยนนท์ บอกว่าถือเป็นช่วงเวลาที่ญาติพี่น้องได้พบปะพูดคุย ได้แสดงให้ผู้ล่วงลับได้เห็นว่าลูกหลานมีความเป็นหนึ่งเดียว
วันสำคัญที่ทุกครอบครัวจะเตรียมกระบุงซึ่งทำมาจากไม้ไผ่ ใส่ข้าวของเครื่องใช้ ของกิน อาหารคาวหวานอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นของสำหรับคนตาย ใส่ให้เต็มกระบุง ทั้งของสดของแห้ง ของกิน ของใช้ ตั้งแต่เสื้อผ้า รองเท้า ขัน เงิน ไฟแช็ค สบู่ ยาสระผม ความพิเศษคือห่อด้วยใบตองและมัดด้วยด้ายสีขาว และที่ขาดไม่ได้คือ พืชประเภทหัวและแตกหน่อ ไม่ว่าจะเป็น กระชาย ข่า ว่านไฟ ตะไคร้ หน่อไม้ โดยจะเขียนชื่อผู้ตายไว้ในกระดาษเสียบไปในกระบุง เสร็จแล้วพระสงฆ์จะทำมาติกาสวดบังสุกุล ลูกหลานนั้นจะกรวดน้ำ เรียกพ่อแม่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้มารับของที่นำมาให้ จะมีการเรียกชื่อตามสลากที่ได้เขียนไป โดยคณะกรรมการหมู่บ้านจะเป็นคนอ่าน เช่น "สาก สากนาย... และนาง.... ผัวเมียลูกเต้า มีข้าวปลาอาหารอุทิศให้พ่อ...แม่...กระบุงหนึ่งใหญ่ ๆ" เวลาเดียวกันผู้ที่อุทิศก็จะยกกระบุงชูสูงขึ้น เพื่อให้ผีบรรพบุรุษที่รออยู่บริเวณนั้นได้เห็นและเข้ามารับเอาของไป พร้อมเรียกให้พ่อแม่มารับ สลากจะถูกอ่านจนครบทุกคน ทำพิธีกรวดน้ำ แล้วนำไปแห่รอบอุโบสถ 3 รอบ โดยตอนที่แห่นั้นส่วนใหญ่จะนิยมยกทูนหัว เพราะถือเป็นของที่เอามาทำบุญ จากนั้นเมื่อแห่เสร็จสิ่งของทั้งหมดจะแจกจ่ายให้คนอื่นทั้งหมด เจ้าของสิ่งของกระบุงจะไม่นำของเหล่านั้นกลับมาเข้าบ้านของตนเองเด็ดขาด เป็นประเพณีของชาวกูยที่สืบทอดกันมา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านตาโมม ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพทำนา ผู้คนที่นี่เป็นคนไทยชาติพันธุ์กูยหรือส่วย มีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ และมีความเชื่อความศรัทธาในการรักษาประเพณีอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะวันสารทกูยหรือสารทส่วย ซึ่งจะทำในวันขึ้น 14 ค่ำและ 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
การเตรียมงานเทศกาลวันสารทสำคัญมาก สิ่งของต้องเตรียมมีมากโดยต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า เพราะมีทั้งของกิน ของใช้ ของสด ของแห้ง โดยเฉพาะอาหารการกินนั้นจะมากเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ทั้งการเซ่นไหว้ และนำไปใส่กระบุงวันสารท ซึ่งอาหารนั้นมีทั้งอาหารคาว อาหารหวาน และล้วนแต่เป็นอาหารที่บรรพบุรุษ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบกิน จำพวกขนม เช่น ขนมโช้ก, ขนมโกร้ย, ขนมดอกจอก, ข้าวพอง และอาหารต่าง ๆ เช่น กบ, หนู, ปลา, ปลาไหล, เนื้อวัว, เนื้อหมู ซึ่งต้องปิ้ง ย่าง นึ่ง หรือแกง เพราะเป็นการประกอบอาหารของคนสมัยก่อนที่น้ำมันเป็นของหายาก
ป้านิยม พลศรี บอกว่า "ปีหนึ่งมีเพียงครั้งเดียวที่จะได้ทำบุญใหญ่ให้พ่อแม่ อาหารที่พ่อแม่เคยชอบกิน ยากลำบากแค่ไหนก็จะหา ทำแล้วมีความสุข"
"วันเซ่นไหว้" เป็นวันที่ลูกหลานคนบ้านตาโมมจากที่ต่าง ๆ ทุกเพศ ทุกวัย กลับมารวมตัวกัน เพื่อนำอาหารมากมายที่เตรียมไว้ ไปเซ่นไหว้อัฐิของบรรพบุรุษ พ่อแม่ ญาติพี่น้องชาวบ้านตาโมมผู้ล่วงลับไปแล้วที่เจดีย์ บริเวณรอบ ๆ กำแพงวัดเต่าทองซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน การเซ่นไหว้จะทำทั้งวัน ซึ่งจะมีการนิมนต์พระมาสวดมาติกาบังสุกุล
นอกจากการเซ่นที่วัดแล้ว ในเวลาเย็นถึงค่ำ จะรวมลูกหลานอีกครั้งที่บ้านหลังที่พ่อแม่หรือบรรพบุรุษเคยอยู่ก่อนเสียชีวิต เป็นการเซ่นไหว้แบบครอบครัว เมื่อเสร็จพิธีจะรับประทานอาหารที่นำมาเซ่นด้วยกัน ผู้ใหญ่บ้านศุภสรณ์ ชัยนนท์ บอกว่าถือเป็นช่วงเวลาที่ญาติพี่น้องได้พบปะพูดคุย ได้แสดงให้ผู้ล่วงลับได้เห็นว่าลูกหลานมีความเป็นหนึ่งเดียว
วันสำคัญที่ทุกครอบครัวจะเตรียมกระบุงซึ่งทำมาจากไม้ไผ่ ใส่ข้าวของเครื่องใช้ ของกิน อาหารคาวหวานอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นของสำหรับคนตาย ใส่ให้เต็มกระบุง ทั้งของสดของแห้ง ของกิน ของใช้ ตั้งแต่เสื้อผ้า รองเท้า ขัน เงิน ไฟแช็ค สบู่ ยาสระผม ความพิเศษคือห่อด้วยใบตองและมัดด้วยด้ายสีขาว และที่ขาดไม่ได้คือ พืชประเภทหัวและแตกหน่อ ไม่ว่าจะเป็น กระชาย ข่า ว่านไฟ ตะไคร้ หน่อไม้ โดยจะเขียนชื่อผู้ตายไว้ในกระดาษเสียบไปในกระบุง เสร็จแล้วพระสงฆ์จะทำมาติกาสวดบังสุกุล ลูกหลานนั้นจะกรวดน้ำ เรียกพ่อแม่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้มารับของที่นำมาให้ จะมีการเรียกชื่อตามสลากที่ได้เขียนไป โดยคณะกรรมการหมู่บ้านจะเป็นคนอ่าน เช่น "สาก สากนาย... และนาง.... ผัวเมียลูกเต้า มีข้าวปลาอาหารอุทิศให้พ่อ...แม่...กระบุงหนึ่งใหญ่ ๆ" เวลาเดียวกันผู้ที่อุทิศก็จะยกกระบุงชูสูงขึ้น เพื่อให้ผีบรรพบุรุษที่รออยู่บริเวณนั้นได้เห็นและเข้ามารับเอาของไป พร้อมเรียกให้พ่อแม่มารับ สลากจะถูกอ่านจนครบทุกคน ทำพิธีกรวดน้ำ แล้วนำไปแห่รอบอุโบสถ 3 รอบ โดยตอนที่แห่นั้นส่วนใหญ่จะนิยมยกทูนหัว เพราะถือเป็นของที่เอามาทำบุญ จากนั้นเมื่อแห่เสร็จสิ่งของทั้งหมดจะแจกจ่ายให้คนอื่นทั้งหมด เจ้าของสิ่งของกระบุงจะไม่นำของเหล่านั้นกลับมาเข้าบ้านของตนเองเด็ดขาด เป็นประเพณีของชาวกูยที่สืบทอดกันมา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live