บ้านหนองกลับ ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เป็นชุมชนขนาดใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนา มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จึงมีวิถีชิวิตที่ผูกพันกับการทำมาหากินอย่างลึกซึ้ง มีการเรียกสินสอดที่สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยให้ลูกหลาน มีความภาคภูมิใจในรถอีกอีแต๋นหรือรถไทยแลนด์คู่ครอบครัว
ผู้ใหญ่สำเริง เตือนสติ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองกลับ บอกว่าคนหนองกลับมีภาษาถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และมีธรรมเนียมการเรียกสินสอดที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือ หากลูกสาวจะแต่งงาน เถ้าแก่จะเรียกค่าสินสอดเป็นบ้านหนึ่งหลัง หรือเรียก "บ้านสินสอด" ซึ่งขนาดของบ้านแล้วแต่ฐานะและความสามารถของฝ่ายเจ้าบ่าว โดยนับจากจำนวนเสาเรือน ตั้งแต่ 9 - 16 ต้น ส่วนเงินนั้นเรียกพอเป็นพิธี เช่น บ้านหนึ่งหลัง เงิน 49 บาท, บ้านหนึ่งหลัง เงิน 99 บาท
สมชาย กันจิตร (จ๊อก) และรัตติพร กันจิตร (ฝ้าย) อายุ 26 ปี เพิ่งแต่งานได้เกือบ 3 ปี บอกว่าบ้านที่อยู่ก็เป็นบ้านสินสอดที่พวกเขาภูมิใจและหากมีลูกสาวก็จะเรียกสินสอดแบบนี้ และให้ลูกปลูกบ้านใกล้ ๆ กัน
สมศักดิ์ รอดทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลับ เล่าว่าเกือบร้อยละ 90 ของบ้านเรือนที่นี่เป็นบ้านสินสอด บ้านส่วนใหญ่จะปลูกใกล้กับบ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งในบริเวณเดียวกันอาจจะมีบ้านปลูกติดกันมากถึง 4 - 5 หลัง และธรรมเนียมการเรียกบ้านสินสอดที่สืบทอดกันมายาวนานอีกทั้งยังได้รับการสานต่อโดยคนรุ่นใหม่นี้เอง ทำให้หนองกลับมีบ้านเรือนที่หนาแน่น หลังคาเกยกัน แน่นแบบที่ เรียกว่า "ไก่บินไม่ตก"
นอกจากความหนาแน่นของบ้านเรือนแล้ว หนองกลับยังหนาแน่นไปด้วยรถอีแต๋นหรือรถไทยแลนด์ จำนวนเกือบ 4,000 คัน เป็นรถในฝันใครอยากจะมีไว้ครอบครอง ที่ต้องมีแทบทุกบ้าน ขับได้ทั้งชายหญิง เพราะรถสารพัดประโยชน์ คันเดียวไปได้ทุกสภาพเส้นทาง โดยเฉพาะงานไร่งานนา นับว่าเป็นรถที่ขาดไม่ได้ เป็นรถที่ราคาไม่ถึง 500,000 แต่ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ารถกระบะคันงาม
วิถีการทำมาหากินของคนหนองกลับอีกอย่างที่มีชื่อเสียงคือ การทำกลอย ซึ่งเป็นกลอยที่หาได้ในธรรมชาติใกล้หมู่บ้าน โดยคนขุดกลอยมือหนึ่ง ก็คือลุงแปรง ศักดิ์สิทธิ์ อายุ 70 ปี ลุงบอกว่าขุดหากลอยมาขายตั้งแต่อายุ 17 ปี ทุกวันนี้ยังมีแรงขึ้นเขาไปขุดกับลูก ๆ หลาน ๆ แม้จะมีก้อนหินเป็นอุปสรรค แต่ประสบการณ์ของลุงและทีมงานก็สามารถขุดกลอยได้วันละหลายร้อยกิโลกรัม พอมีรายได้เสริม ที่สำคัญมีคนรับซื้ออยู่ในหมู่บ้านไม่ต้องไปขายไกล โดยคนซื้อก็คือ ป้าชดา ศักดิ์สิทธิ์ แลป้าสมร สุกกล้า เป็นทั้งคนรับซื้อและทำกลอยขาย บอกว่าป้าสองคนอาจจะเป็นคนทำกลอยคนสุดท้ายของหมู่บ้านเพราะการทำกลอยนั้นยุ่งยาก ใช้แรงแยอะ หลายขั้นตอน ทั้งปอก แช่ ล้าง 7-8 น้ำ ใช้เวลา 2 - 3 คืน กว่าจะสามารถนำไปกินไปขายได้
ป้าดา และป้าหมอน มีความสุขจากกลอย ทั้งในแง่รายได้และคำชมจากลูกค้าในด้านคุณภาพและรสชาติ แม้ป้า ๆ จะเสียดายที่ไม่มีผู้สืบทอด แต่ยังตั้งใจจะทำจนกว่าร่างกายจะสู้ไม่ไหว
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านหนองกลับ ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เป็นชุมชนขนาดใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนา มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จึงมีวิถีชิวิตที่ผูกพันกับการทำมาหากินอย่างลึกซึ้ง มีการเรียกสินสอดที่สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยให้ลูกหลาน มีความภาคภูมิใจในรถอีกอีแต๋นหรือรถไทยแลนด์คู่ครอบครัว
ผู้ใหญ่สำเริง เตือนสติ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองกลับ บอกว่าคนหนองกลับมีภาษาถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และมีธรรมเนียมการเรียกสินสอดที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือ หากลูกสาวจะแต่งงาน เถ้าแก่จะเรียกค่าสินสอดเป็นบ้านหนึ่งหลัง หรือเรียก "บ้านสินสอด" ซึ่งขนาดของบ้านแล้วแต่ฐานะและความสามารถของฝ่ายเจ้าบ่าว โดยนับจากจำนวนเสาเรือน ตั้งแต่ 9 - 16 ต้น ส่วนเงินนั้นเรียกพอเป็นพิธี เช่น บ้านหนึ่งหลัง เงิน 49 บาท, บ้านหนึ่งหลัง เงิน 99 บาท
สมชาย กันจิตร (จ๊อก) และรัตติพร กันจิตร (ฝ้าย) อายุ 26 ปี เพิ่งแต่งานได้เกือบ 3 ปี บอกว่าบ้านที่อยู่ก็เป็นบ้านสินสอดที่พวกเขาภูมิใจและหากมีลูกสาวก็จะเรียกสินสอดแบบนี้ และให้ลูกปลูกบ้านใกล้ ๆ กัน
สมศักดิ์ รอดทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลับ เล่าว่าเกือบร้อยละ 90 ของบ้านเรือนที่นี่เป็นบ้านสินสอด บ้านส่วนใหญ่จะปลูกใกล้กับบ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งในบริเวณเดียวกันอาจจะมีบ้านปลูกติดกันมากถึง 4 - 5 หลัง และธรรมเนียมการเรียกบ้านสินสอดที่สืบทอดกันมายาวนานอีกทั้งยังได้รับการสานต่อโดยคนรุ่นใหม่นี้เอง ทำให้หนองกลับมีบ้านเรือนที่หนาแน่น หลังคาเกยกัน แน่นแบบที่ เรียกว่า "ไก่บินไม่ตก"
นอกจากความหนาแน่นของบ้านเรือนแล้ว หนองกลับยังหนาแน่นไปด้วยรถอีแต๋นหรือรถไทยแลนด์ จำนวนเกือบ 4,000 คัน เป็นรถในฝันใครอยากจะมีไว้ครอบครอง ที่ต้องมีแทบทุกบ้าน ขับได้ทั้งชายหญิง เพราะรถสารพัดประโยชน์ คันเดียวไปได้ทุกสภาพเส้นทาง โดยเฉพาะงานไร่งานนา นับว่าเป็นรถที่ขาดไม่ได้ เป็นรถที่ราคาไม่ถึง 500,000 แต่ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ารถกระบะคันงาม
วิถีการทำมาหากินของคนหนองกลับอีกอย่างที่มีชื่อเสียงคือ การทำกลอย ซึ่งเป็นกลอยที่หาได้ในธรรมชาติใกล้หมู่บ้าน โดยคนขุดกลอยมือหนึ่ง ก็คือลุงแปรง ศักดิ์สิทธิ์ อายุ 70 ปี ลุงบอกว่าขุดหากลอยมาขายตั้งแต่อายุ 17 ปี ทุกวันนี้ยังมีแรงขึ้นเขาไปขุดกับลูก ๆ หลาน ๆ แม้จะมีก้อนหินเป็นอุปสรรค แต่ประสบการณ์ของลุงและทีมงานก็สามารถขุดกลอยได้วันละหลายร้อยกิโลกรัม พอมีรายได้เสริม ที่สำคัญมีคนรับซื้ออยู่ในหมู่บ้านไม่ต้องไปขายไกล โดยคนซื้อก็คือ ป้าชดา ศักดิ์สิทธิ์ แลป้าสมร สุกกล้า เป็นทั้งคนรับซื้อและทำกลอยขาย บอกว่าป้าสองคนอาจจะเป็นคนทำกลอยคนสุดท้ายของหมู่บ้านเพราะการทำกลอยนั้นยุ่งยาก ใช้แรงแยอะ หลายขั้นตอน ทั้งปอก แช่ ล้าง 7-8 น้ำ ใช้เวลา 2 - 3 คืน กว่าจะสามารถนำไปกินไปขายได้
ป้าดา และป้าหมอน มีความสุขจากกลอย ทั้งในแง่รายได้และคำชมจากลูกค้าในด้านคุณภาพและรสชาติ แม้ป้า ๆ จะเสียดายที่ไม่มีผู้สืบทอด แต่ยังตั้งใจจะทำจนกว่าร่างกายจะสู้ไม่ไหว
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live