ในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐได้ส่งเสริมให้หนังไทยกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของประเทศ ทำให้มีหนังไทยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น แต่กลับมีงานวิจัยที่ระบุว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานในกองถ่ายมักถูกมองข้ามและถูกเอาเปรียบ จากการพูดคุยกับ อาจารย์ณัฐนันท์ เทียมเมฆ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า
หนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่มักนำมาปรับใช้กันใน "กองถ่าย" โดยเฉพาะในต่างประเทศ คือเอกสาร budget top sheet หรือเอกสารที่เอาไว้กําหนดงบประมาณ โดยงบประมาณที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ซึ่งด้วยลักษณะแนวปฏิบัติของกองถ่ายแบบนี้ เกิดการแบ่งทีมงานเป็น 2 ประเภท คือ ทีมงานเหนือเส้น (Above the line Crew) และทีมงานใต้เส้น (Below the line Crew) จากการสํารวจแรงงานทีมงานใต้เส้น (Below the line Crew) พบว่ามีคุณภาพชีวิตที่อาจจะไม่ได้ดีมากนัก และปัญหาต่าง ๆ ก็ถูกขมวดในคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่
โดยปัญหาเหล่านี้มีปัจจัยที่เกิดขึ้น 3 ด้านด้วยกัน คือ ปัจจัยด้านการผลิต, ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และปัจจัยเชิงโครงสร้าง ที่ทั้ง 3 ปัจจัยนี้เกื้อหนุนให้กันและกันจนเกิดเป็นปัญหาต่าง ๆ
หากเราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อชีวิตของแรงงาน แต่ยังจะส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของภาพยนตร์ไทยไปไกลมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ชมในปัจจุบันไม่ได้สนใจเพียงแค่คุณภาพของภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังให้ความสําคัญกับคนทํางานเบื้องหลังมากขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเพื่อให้ภาพยนตร์ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็น Soft Power ที่แข็งแกร่ง การเอาใจใส่ต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานในกองถ่ายเป็นสิ่งที่สําคัญเป็นอย่างยิ่ง
ติดตามในรายการ The Resources วิจัยใกล้ตัว วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 21.55 - 22.05 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐได้ส่งเสริมให้หนังไทยกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของประเทศ ทำให้มีหนังไทยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น แต่กลับมีงานวิจัยที่ระบุว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานในกองถ่ายมักถูกมองข้ามและถูกเอาเปรียบ จากการพูดคุยกับ อาจารย์ณัฐนันท์ เทียมเมฆ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า
หนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่มักนำมาปรับใช้กันใน "กองถ่าย" โดยเฉพาะในต่างประเทศ คือเอกสาร budget top sheet หรือเอกสารที่เอาไว้กําหนดงบประมาณ โดยงบประมาณที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ซึ่งด้วยลักษณะแนวปฏิบัติของกองถ่ายแบบนี้ เกิดการแบ่งทีมงานเป็น 2 ประเภท คือ ทีมงานเหนือเส้น (Above the line Crew) และทีมงานใต้เส้น (Below the line Crew) จากการสํารวจแรงงานทีมงานใต้เส้น (Below the line Crew) พบว่ามีคุณภาพชีวิตที่อาจจะไม่ได้ดีมากนัก และปัญหาต่าง ๆ ก็ถูกขมวดในคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่
โดยปัญหาเหล่านี้มีปัจจัยที่เกิดขึ้น 3 ด้านด้วยกัน คือ ปัจจัยด้านการผลิต, ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และปัจจัยเชิงโครงสร้าง ที่ทั้ง 3 ปัจจัยนี้เกื้อหนุนให้กันและกันจนเกิดเป็นปัญหาต่าง ๆ
หากเราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อชีวิตของแรงงาน แต่ยังจะส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของภาพยนตร์ไทยไปไกลมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ชมในปัจจุบันไม่ได้สนใจเพียงแค่คุณภาพของภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังให้ความสําคัญกับคนทํางานเบื้องหลังมากขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเพื่อให้ภาพยนตร์ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็น Soft Power ที่แข็งแกร่ง การเอาใจใส่ต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานในกองถ่ายเป็นสิ่งที่สําคัญเป็นอย่างยิ่ง
ติดตามในรายการ The Resources วิจัยใกล้ตัว วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 21.55 - 22.05 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live