*** รายการท่องโลกกว้าง เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
อุทยานแห่งชาตินาฮูเวลบูตา ผืนป่าใหญ่บนเทือกเขาชายฝั่งประเทศชิลี คือบ้านของ 1 ใน 3 ไม้สัญลักษณ์ของทวีปอเมริกา ที่มีชื่อภาษาถิ่นว่า อะโรกานา และชื่อภาษาไทยว่า ต้นสนหางลิง หรือสนชิลี ในอุทยานแห่งนี้ สนชิลีมีอายุเกือบ 1,600 ปี สูงถึง 40 เมตร ด้วยความเป็นพรรณไม้โบราณ บรรพบุรุษถือกำเนิดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มันจึงเปรียบเสมือนฟอสซิลมีชีวิต ความพิเศษคือเป็นไม้แยกเพศ เพศผู้กับเพศเมีย ด้วยเหตุนี้ สนชิลีจึงต้องพึ่งพาพันธมิตรในการช่วยผสมเกสรกระจายพันธุ์ และในทางกลับกัน การมีอยู่ของมันก็ได้เป็นที่พึ่งที่อาศัยของสัตว์หลายร้อยชนิด เฉพาะแมลงก็มากเกิน 70 ชนิด ปัจจุบัน สนชิลี ที่เป็นไม้ประจำชาติชิลี ถือเป็นไม้เสี่ยงสูญพันธุ์ สาเหตุมาจากการลักลอบตัดโค่นไม้ใหญ่ การเกิดไฟป่าฝีมือมนุษย์ และการที่ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานลดน้อยถอยลง ซึ่งหมายถึง พันธมิตรสัตว์ที่จะช่วยกระจายพันธุ์ก็มีน้อยลงไปด้วย กระนั้น มันก็ยืนหยัดผ่านฤดูกาลปีแล้วปีเล่า ภายในเขตอุทยานที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนเพียง 17 องศาเซลเซียส ไม่ว่าในหิมะเยียบเย็น ในสายฝน-กระหน่ำ ในอากาศฤดูร้อนที่ขาดความชื้น สนชิลีก็ยังหยั่งรากอย่างมั่นคง เหยียดลำต้นสูงลิบอย่างสง่างาม ในที่มั่นสุดท้ายของมันบนโลกใบนี้
ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 18.00 - 18.50 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
*** รายการท่องโลกกว้าง เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
อุทยานแห่งชาตินาฮูเวลบูตา ผืนป่าใหญ่บนเทือกเขาชายฝั่งประเทศชิลี คือบ้านของ 1 ใน 3 ไม้สัญลักษณ์ของทวีปอเมริกา ที่มีชื่อภาษาถิ่นว่า อะโรกานา และชื่อภาษาไทยว่า ต้นสนหางลิง หรือสนชิลี ในอุทยานแห่งนี้ สนชิลีมีอายุเกือบ 1,600 ปี สูงถึง 40 เมตร ด้วยความเป็นพรรณไม้โบราณ บรรพบุรุษถือกำเนิดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มันจึงเปรียบเสมือนฟอสซิลมีชีวิต ความพิเศษคือเป็นไม้แยกเพศ เพศผู้กับเพศเมีย ด้วยเหตุนี้ สนชิลีจึงต้องพึ่งพาพันธมิตรในการช่วยผสมเกสรกระจายพันธุ์ และในทางกลับกัน การมีอยู่ของมันก็ได้เป็นที่พึ่งที่อาศัยของสัตว์หลายร้อยชนิด เฉพาะแมลงก็มากเกิน 70 ชนิด ปัจจุบัน สนชิลี ที่เป็นไม้ประจำชาติชิลี ถือเป็นไม้เสี่ยงสูญพันธุ์ สาเหตุมาจากการลักลอบตัดโค่นไม้ใหญ่ การเกิดไฟป่าฝีมือมนุษย์ และการที่ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานลดน้อยถอยลง ซึ่งหมายถึง พันธมิตรสัตว์ที่จะช่วยกระจายพันธุ์ก็มีน้อยลงไปด้วย กระนั้น มันก็ยืนหยัดผ่านฤดูกาลปีแล้วปีเล่า ภายในเขตอุทยานที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนเพียง 17 องศาเซลเซียส ไม่ว่าในหิมะเยียบเย็น ในสายฝน-กระหน่ำ ในอากาศฤดูร้อนที่ขาดความชื้น สนชิลีก็ยังหยั่งรากอย่างมั่นคง เหยียดลำต้นสูงลิบอย่างสง่างาม ในที่มั่นสุดท้ายของมันบนโลกใบนี้
ติดตามชมรายการท่องโลกกว้าง วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 18.00 - 18.50 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live