ข่าววันใหม่ ไทยพีบีเอส ประจำวันพุธที่ 26 ต.ค. 59
ศตส.ประชุมเตรียมปรับแผนรองรับประชาชน
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กำชับทุกหน่วยงานร่วมบริหารจัดการในทุกมิติ ให้เกิดความเรียบร้อยและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีงาม ขณะที่นายกรัฐมนตรี ระบุถึงการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เพื่อให้การแสดงความอาลัย เกิดขึ้นตามความตั้งใจของประชาชนอย่างดีที่สุด
ประชาชนให้ความสนใจหนังสือเกี่ยวกับในหลวง
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 21 หรือ บุ๊คเอ็กซ์โปร ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 1 ล้าน 7 แสนคน โดยหนังสือที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ คือหนังสือพระราชนิพนธ์ พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เพลงฉ่อยถวายในหลวง
พสกนิกร อายุ 60 ปี ท่านหนึ่งในอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้แต่งและร้องเพลงฉ่อย ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความจงรักภักดี โดยตั้งความหวังไว้ว่า จะเดินทางไปถวายบังคมพระบรมศพสักครั้งในชีวิต ไปฟังบทเพลงฉ่อย จาก นางคมคาย ชุณตาล อายุ 60 ปี พสกนิกรจังหวัดชัยนาท
กลุ่มศิลปินร่วมเดินแสดงความอาลัย จ.กระบี่
การเดินเท้าของชาวออสเตรเลีย จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปกรุงเทพมหานคร เพื่อแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแรงบันดาลให้ประชาชนหลายคน เริ่มเดินเท้าเข้ากรุงเทพมหานครด้วยเช่นกัน
ปั่นจักรยาน-ขี่จักรยานยนต์ร่วมแสดงความอาลัย
นายสนิท คงแก้ว อายุ 42 ปี ชาวอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จอดรถจักรยานยนต์พ่วงข้างริมถนนสายเอเซีย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หลังขับรถนานหลายชั่วโมง มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อไปแสดงความอาลัย และเข้าเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาท ถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
จ.เชียงใหม่ เปิดนิทรรศการโครงการพระราชดำริวันนี้
จังหวัดเชียงใหม่จัดนิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ศิลปินเชียงรายสร้างผลงาน "พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ร.9"
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแรงบัลดาลใจให้นายสุวิทย์ ใจป้อม ศิลปินในจังหวัดเชียงราย มุ่งมั่นที่จะศึกษา และถ่ายทอดผลงานศิลปะเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ด้วยเทคนิคการวาดพระบรมฉายาลักษณ์ ในรูปแบบต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับ ซึ่งผลงานบางส่วน กว่า 500 ภาพ ได้รับการคัดสรร จัดทำเป็นหนังสือ 84 พรรษา 84 พระบรมสาทิสลักษณ์ ถวายพ่อของแผ่นดิน
กาพย์เห่เรือกับความสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ซึ่งเป็นราชประเพณีไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการเสด็จไปทอดผ้ากฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และพิธีสำคัญๆ เช่น การฉลองสิริราชสมบัติ การเตรียมการพระราชพิธี มีหลายหน้าที่สำคัญ หนึ่งในนั้นคือบทกาพย์เห่เรือ ซึ่งผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้มาทำหน้าที่ ต้องผ่านคณะกรรมการหารือร่วมหลายฝ่าย วันนี้ได้รับเกียรติจาก นาวาเอก(พิเศษ) ทองย้อย แสงสินชัย อดีตผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ผู้ประพันธ์บทกาพย์เห่เรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ถึง 6 คราว มาร่วมพูดคุยถึงความสำคัญของพิธีนี้ และความสำคัญของบทกาพย์เห่เรือ
การแก้ปัญหาดิน เพื่อการทำเกษตรที่ยั่งยืน
ปัญหาหนึ่งของเกษตรกร คือดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแนวคิดในการนำหญ้าแฝก มาใช้ปรุงดิน ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่เพาะปลูกได้ และรู้จักการบำรุงดิน ให้เป็นต้นทุนทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
ติดตามรายการ "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06.00 - 08.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ข่าววันใหม่ ไทยพีบีเอส ประจำวันพุธที่ 26 ต.ค. 59
ศตส.ประชุมเตรียมปรับแผนรองรับประชาชน
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กำชับทุกหน่วยงานร่วมบริหารจัดการในทุกมิติ ให้เกิดความเรียบร้อยและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีงาม ขณะที่นายกรัฐมนตรี ระบุถึงการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เพื่อให้การแสดงความอาลัย เกิดขึ้นตามความตั้งใจของประชาชนอย่างดีที่สุด
ประชาชนให้ความสนใจหนังสือเกี่ยวกับในหลวง
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 21 หรือ บุ๊คเอ็กซ์โปร ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 1 ล้าน 7 แสนคน โดยหนังสือที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ คือหนังสือพระราชนิพนธ์ พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เพลงฉ่อยถวายในหลวง
พสกนิกร อายุ 60 ปี ท่านหนึ่งในอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้แต่งและร้องเพลงฉ่อย ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความจงรักภักดี โดยตั้งความหวังไว้ว่า จะเดินทางไปถวายบังคมพระบรมศพสักครั้งในชีวิต ไปฟังบทเพลงฉ่อย จาก นางคมคาย ชุณตาล อายุ 60 ปี พสกนิกรจังหวัดชัยนาท
กลุ่มศิลปินร่วมเดินแสดงความอาลัย จ.กระบี่
การเดินเท้าของชาวออสเตรเลีย จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปกรุงเทพมหานคร เพื่อแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแรงบันดาลให้ประชาชนหลายคน เริ่มเดินเท้าเข้ากรุงเทพมหานครด้วยเช่นกัน
ปั่นจักรยาน-ขี่จักรยานยนต์ร่วมแสดงความอาลัย
นายสนิท คงแก้ว อายุ 42 ปี ชาวอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จอดรถจักรยานยนต์พ่วงข้างริมถนนสายเอเซีย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หลังขับรถนานหลายชั่วโมง มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อไปแสดงความอาลัย และเข้าเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาท ถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
จ.เชียงใหม่ เปิดนิทรรศการโครงการพระราชดำริวันนี้
จังหวัดเชียงใหม่จัดนิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ศิลปินเชียงรายสร้างผลงาน "พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ร.9"
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแรงบัลดาลใจให้นายสุวิทย์ ใจป้อม ศิลปินในจังหวัดเชียงราย มุ่งมั่นที่จะศึกษา และถ่ายทอดผลงานศิลปะเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ด้วยเทคนิคการวาดพระบรมฉายาลักษณ์ ในรูปแบบต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับ ซึ่งผลงานบางส่วน กว่า 500 ภาพ ได้รับการคัดสรร จัดทำเป็นหนังสือ 84 พรรษา 84 พระบรมสาทิสลักษณ์ ถวายพ่อของแผ่นดิน
กาพย์เห่เรือกับความสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ซึ่งเป็นราชประเพณีไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการเสด็จไปทอดผ้ากฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และพิธีสำคัญๆ เช่น การฉลองสิริราชสมบัติ การเตรียมการพระราชพิธี มีหลายหน้าที่สำคัญ หนึ่งในนั้นคือบทกาพย์เห่เรือ ซึ่งผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้มาทำหน้าที่ ต้องผ่านคณะกรรมการหารือร่วมหลายฝ่าย วันนี้ได้รับเกียรติจาก นาวาเอก(พิเศษ) ทองย้อย แสงสินชัย อดีตผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ผู้ประพันธ์บทกาพย์เห่เรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ถึง 6 คราว มาร่วมพูดคุยถึงความสำคัญของพิธีนี้ และความสำคัญของบทกาพย์เห่เรือ
การแก้ปัญหาดิน เพื่อการทำเกษตรที่ยั่งยืน
ปัญหาหนึ่งของเกษตรกร คือดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแนวคิดในการนำหญ้าแฝก มาใช้ปรุงดิน ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่เพาะปลูกได้ และรู้จักการบำรุงดิน ให้เป็นต้นทุนทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
ติดตามรายการ "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06.00 - 08.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live