นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วิจัยทางเคมี เปลี่ยนวัสดุธรรมชาติที่เป็นของเสียทางการเกษตร เช่น แกลบ ฟางข้าว และชานอ้อย ให้กลายเป็นอัญมณีแก้วเซรามิกที่มีมูลค่าสูง
ผลงานการวิจัยของ นักศึกษาปริญญาตรี ปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเซรามิก ด้วยการคำนวณสูตรเคมีของสารประกอบและสังเคราะห์ตามหลักวิศวกรรมเซรามิก อัญมณีแก้วเซรามิกที่ได้จะมีสีสันตามธรรมชาติของวัสดุ ปราศจากสารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้งาน
โครงการนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้ ซึ่งปัจจุบัน แกลบที่ไปซื้อมาในราคากิโลกรัมละ 4 บาท สามารถนำมาทำเป็นอัญมณีได้ประมาณ 20 เม็ด โดยอัญมณีแต่ละเม็ดสามารถขายได้อย่างน้อย 1,200 บาท หรือคิดเป็นแกลบ 1 กิโลกรัม เมื่อนำมาทำเป็นอัญมณีแล้วจะได้ราคาสูงถึง 24,000 บาท
ผลการทดลองพบว่า อัญมณีแก้วเซรามิกที่ได้มีคุณสมบัติแข็งแกร่ง ทนทาน และเหมาะสมสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ สีของอัญมณีแก้วยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามอุณหภูมิการเผา โดยการเผาที่อุณหภูมิต่ำจะให้สีแดงคล้ำคล้ายโกเมน ขณะที่การเผาที่อุณหภูมิสูงจะได้สีใส สีของอัญมณียังขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่พืชดูดซับไว้ เช่น เหล็ก นิกเกิล คอปเปอร์ และแมงกานีส
กระบวนการนี้ไม่เพียงเพิ่มมูลค่าให้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แต่ยังสะท้อนถึงศักยภาพของวิศวกรรมเซรามิกในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า ต่อยอดสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ทางทีมวิจัยฯ ได้ทำการยื่นขออนุสิทธิบัตร และเตรียมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติ ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา
นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วิจัยทางเคมี เปลี่ยนวัสดุธรรมชาติที่เป็นของเสียทางการเกษตร เช่น แกลบ ฟางข้าว และชานอ้อย ให้กลายเป็นอัญมณีแก้วเซรามิกที่มีมูลค่าสูง
ผลงานการวิจัยของ นักศึกษาปริญญาตรี ปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเซรามิก ด้วยการคำนวณสูตรเคมีของสารประกอบและสังเคราะห์ตามหลักวิศวกรรมเซรามิก อัญมณีแก้วเซรามิกที่ได้จะมีสีสันตามธรรมชาติของวัสดุ ปราศจากสารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้งาน
โครงการนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้ ซึ่งปัจจุบัน แกลบที่ไปซื้อมาในราคากิโลกรัมละ 4 บาท สามารถนำมาทำเป็นอัญมณีได้ประมาณ 20 เม็ด โดยอัญมณีแต่ละเม็ดสามารถขายได้อย่างน้อย 1,200 บาท หรือคิดเป็นแกลบ 1 กิโลกรัม เมื่อนำมาทำเป็นอัญมณีแล้วจะได้ราคาสูงถึง 24,000 บาท
ผลการทดลองพบว่า อัญมณีแก้วเซรามิกที่ได้มีคุณสมบัติแข็งแกร่ง ทนทาน และเหมาะสมสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ สีของอัญมณีแก้วยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามอุณหภูมิการเผา โดยการเผาที่อุณหภูมิต่ำจะให้สีแดงคล้ำคล้ายโกเมน ขณะที่การเผาที่อุณหภูมิสูงจะได้สีใส สีของอัญมณียังขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่พืชดูดซับไว้ เช่น เหล็ก นิกเกิล คอปเปอร์ และแมงกานีส
กระบวนการนี้ไม่เพียงเพิ่มมูลค่าให้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แต่ยังสะท้อนถึงศักยภาพของวิศวกรรมเซรามิกในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า ต่อยอดสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ทางทีมวิจัยฯ ได้ทำการยื่นขออนุสิทธิบัตร และเตรียมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติ ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา