นักวิจัยกำลังทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่อาจจะกำจัดเชื้อเอชไอวี (HIV) ออกจากร่างกายได้ โดย CRISPR-Cas9 จะทำหน้าที่คล้าย "กรรไกร" เข้าไปตัดดีเอ็นเอส่วนที่ไม่ดีออกจากเซลล์ หรือทำให้เอชไอวีหมดฤทธิ์ แต่ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อร่างกายของมนุษย์จริงหรือไม่
เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า คริสเปอร์-แคสไนน์ (CRISPR-Cas9) ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2555 หรือ 12 ปีก่อน โดย ศ.เอ็มมานูเอล ชาร์เพนทิเยร์ ชาวฝรั่งเศส และ ศ.เจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวอเมริกัน นักชีวเคมีและพันธุศาสตร์ ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2563
หลักการคือการตัดต่อข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม โดยใช้คริสเปอร์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถเลียนแบบสารพันธุกรรมในระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับแคสไนน์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถตัดสายดีเอ็นเอ โดยคริสเปอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวนำทางแคสไนน์ ไปยังดีเอ็นเอส่วนที่ไม่ดี เพื่อให้แคสไนน์ตัดสายดีเอ็นเอออกจากเซลล์ หรือทำให้หมดฤทธิ์
เทคโนโลยีนี้คือการตัดต่อยีนที่มีความแม่นยำสูง ที่ผ่านมา คริสเปอร์-แคสไนน์ ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและสามารถรักษาโรคทางพันธุกรรมบางโรคได้แล้ว เช่น โรคธาลัสซีเมีย และโรคตาบอดจากพันธุกรรม
แต่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมส์ ซึ่งรายงานเรื่องโครงการทดสอบในครั้งนี้ระบุว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ในตอนนี้เป็นเพียง "ข้อพิสูจน์ของแนวคิด" ยังไม่ใช่วิธีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในวงกว้าง
ทั้งนี้ ผลการทดสอบเบื้องต้นกับอาสาสมัคร 3 คน ที่ติดเชื้อเอชไอวีและเข้ารับการทดสอบด้วยเทคโนโลยี "คริสเปอร์ - แคสไนน์" มาแล้ว 48 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง
นักวิจัยกำลังทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่อาจจะกำจัดเชื้อเอชไอวี (HIV) ออกจากร่างกายได้ โดย CRISPR-Cas9 จะทำหน้าที่คล้าย "กรรไกร" เข้าไปตัดดีเอ็นเอส่วนที่ไม่ดีออกจากเซลล์ หรือทำให้เอชไอวีหมดฤทธิ์ แต่ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อร่างกายของมนุษย์จริงหรือไม่
เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า คริสเปอร์-แคสไนน์ (CRISPR-Cas9) ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2555 หรือ 12 ปีก่อน โดย ศ.เอ็มมานูเอล ชาร์เพนทิเยร์ ชาวฝรั่งเศส และ ศ.เจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวอเมริกัน นักชีวเคมีและพันธุศาสตร์ ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2563
หลักการคือการตัดต่อข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม โดยใช้คริสเปอร์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถเลียนแบบสารพันธุกรรมในระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับแคสไนน์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถตัดสายดีเอ็นเอ โดยคริสเปอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวนำทางแคสไนน์ ไปยังดีเอ็นเอส่วนที่ไม่ดี เพื่อให้แคสไนน์ตัดสายดีเอ็นเอออกจากเซลล์ หรือทำให้หมดฤทธิ์
เทคโนโลยีนี้คือการตัดต่อยีนที่มีความแม่นยำสูง ที่ผ่านมา คริสเปอร์-แคสไนน์ ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและสามารถรักษาโรคทางพันธุกรรมบางโรคได้แล้ว เช่น โรคธาลัสซีเมีย และโรคตาบอดจากพันธุกรรม
แต่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมส์ ซึ่งรายงานเรื่องโครงการทดสอบในครั้งนี้ระบุว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ในตอนนี้เป็นเพียง "ข้อพิสูจน์ของแนวคิด" ยังไม่ใช่วิธีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในวงกว้าง
ทั้งนี้ ผลการทดสอบเบื้องต้นกับอาสาสมัคร 3 คน ที่ติดเชื้อเอชไอวีและเข้ารับการทดสอบด้วยเทคโนโลยี "คริสเปอร์ - แคสไนน์" มาแล้ว 48 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง