เมื่อเริ่มรู้สึกว่ามีความเครียดหรือมีอารมณ์ร่วมกับข่าวมากจนเกินไป ควรจะทำอย่างไร ติดตามความรู้จาก ดร. นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิตและรองผู้อำนวยการกองบริหาร ระบบบริการสุขภาพจิต ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
ความเครียด การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เร่งรีบ กินเร็ว กินอาหารมื้อดึกบ่อย ๆ หรือชอบกินอาหารแปรรูป พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลให้วัยทำงานมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง ท้องผูก เรอบ่อย ซึ่งเป็นผลมาจากอาหารไม่ย่อย และอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ติดตามความรู้จาก นพ.วรวัฒน์ แสงวิภาสนภาพร แพทย์เฉพาะทาง สาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.จุฬาภรณ์
ความเครียด นอกจากจะกระทบต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ซึ่งความรุนแรงมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงมาก ติดตามคำแนะนำในการรับมือจากความเครียดให้ถูกวิธี เพื่อการมีหัวใจที่แข็งแรง
ทำความรู้จักกับสมองส่วน "Hippocampus" ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บความจำ หากได้รับความเสียหาย หรือทำงานได้ไม่ดี จะไม่สามารถสร้างความจำได้ พบว่าในผู้ที่มีอายุน้อย แต่มีความเครียดและวิตกกังวล ส่วนใหญ่มักมีอาการหลงลืมง่ายขึ้น เนื่องจากความเครียดมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของสมองในระบบความจำ