กกพ.เผยยังมีภาระหนี้ เงินบาทผันผวน ไฟฟ้าพลังน้ำนำเข้าลดลง-ต้นทุนไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น คาดหน้าร้อนความต้องการใช้ไฟพุ่ง 71,000 ล้านบีทียู ส่งผลให้ยังลดค่าไฟเอฟทีไม่ได้ เสนอ 3 ทางเลือก ค่าไฟงวด พ.ค. - ส.ค.ยังอยู่ที่ 4.15 – 5.16 บาท
โลกออนไลน์แชร์ภาพสำนักสงฆ์แห่งหนึ่ง ที่ จ.นครราชสีมา ขอรับบริจาคค่าไฟ หลังค้างค่าไฟจนเกือบถูกตัด ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ หลังพบว่าทางวัดนำเงินไปจ่ายค่าโปรโมตกิจกรรมในเฟซบุ๊ก เพื่อให้ประชาชนมาบริจาค ล่าสุดทางหัวหน้าสำนักสงฆ์ ออกมาเปิดใจอ้างว่า โพสต์ดังกล่าวเป็นโพสต์เก่า ยืนยันไม่ได้ขอรับบริจาคมานานแล้ว
กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะให้รัฐบาลดำเนินนโยบายปรับลดราคาพลังงาน เพื่อเป็นการลดค่าครองชีพให้ประชาชน โดยจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 3.70 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันค่าไฟฟ้างวด เดือน ม.ค.- เม.ย. 68 จะอยู่ที่หน่วยละ 4.15 บาท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เร่งศึกษาช่องลดค่าไฟเหลือ 3.70 บาทต่อ หน่วย ขณะที่ เอกชน สนับสนุน ขอให้รัฐบาลทำได้จริงอย่างที่พูดไว้
ประเทศไทยมีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมพลังงานสะอาด แต่จะเกิดขึ้นได้จริงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ แผน PDP ซึ่งตอนนี้กำลังมีการปรับปรุงใหม่ ในชื่อร่าง PDP 2024 จะนำไปสู่เป้าหมายพลังงานสะอาด และค่าไฟถูกลงหรือไม่ ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "นครฮีลใจ" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyHealingCities
ที่ประชุม กกพ. มีมติตรึงอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั่วประเทศ ที่เรียกเก็บกับประชาชน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2567 อยู่ที่ระดับหน่วยละ 4.18 บาท ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกินหน่วยละ 300 หน่วย มีประมาณ 17.7 ล้านครัวเรือน ยังคงเรียกเก็บในอัตราหน่วยละ 3.99 บาท ตามเดิม
การพิจารณาอัตราค่าเอฟที งวดปลายปี (กันยายน-ธันวาคม 2567) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ( กกพ.) เปิดเผย ต้นทุนค่าไฟจะเพิ่มขึ้นอีก ประมาณหน่วยละ 46 -182 สตางค์/หน่วย ปัจจัยหลักที่ส่งผลทำให้ค่าไฟพุ่งสูงขึ้น มาจากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และการทยอยคืนภาระหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ทีดีอาร์ไอ ประเมินความเสี่ยงการสู้รบในเมียนมา อาจส่งผลกระทบนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าในไทย และค่าเอฟที อาจเพิ่มขึ้น พร้อมเสนอ เร่งปรับแผนพลังงานหนุนใช้พลังงานสะอาด ลดการพึ่งพาต่างประเทศ โดยสนับสนุนให้ภาคครัวเรือนติดตั้งโซลาร์และขายไฟเข้าสู่ระบบได้
ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนบางวันทะลุเกิน 40 องศา หลายบ้านจึงตกอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นเป็นเท่าตัว ประเด็นค่าไฟฟ้า จึงถูกนำกลับมาพูดถึงอีกครั้ง ซึ่งเอกชนบางราย บอกว่า ค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถเอกชน และน่าจะได้ผลเร็ว ไม่แพ้ ดิจิทัลวอลเล็ต
ผู้ประกอบการ และห้างสรรพสินค้าบริเวณย่านราชประสงค์ พร้อมใจกันดับไฟเพื่อร่วมกิจกรรมรวมพลังปิดไฟ 1 ชั่วโมงลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2024) พร้อมกับ อีกหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และ สถานที่สำคัญอื่น ๆ รวมถึงเมือง อีก 7,000 เมืองทั่วโลก ในวันที่ 23 มีนาคม 2567 ระหว่างช่วงเวลา 20.30 น. - 21.30 น. เพื่อให้เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงกระตุ้นและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง พบว่า กิจกรรมปีนี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 24.65 เมกะวัตต์ เปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้า เมื่อวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2567 ในช่วงเวลาเดียวกัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 11 ตัน และสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 130,182 บาท