หลังจากเมืองสงขลา หรือ ซิงกอรา ที่หัวเขาแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกทําลายลงไปแล้ว ประชาชนที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่บริเวณฝั่งแหลมสนซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของหัวเขาแดง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 มีผู้คนเข้ามาอาศัยหนาแน่นขึ้น แต่พื้นที่แหลมสนคับแคบไม่สามารถขยับขยายเมืองได้ และประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภค จึงทำให้มีการย้ายเมืองข้ามฟากทะเลสาบสงขลามายังฝั่งตำบลบ่อยาง
ย้อนไปดูเรื่องราวสงขลาในอดีต บ้านเมืองบนปลายแผ่นดินคาบสมุทรสทิงพระที่เรียกว่า “หัวเขาแดง” ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา พื้นที่ตรงนี้ถือได้ว่าเป็นจุดยุธศาสตร์สำคัญในเส้นทางทางการค้า บนคาบสมุทรมลายู และเป็นชัยภูมิที่ดีเหมาะสมในการทำท่าเรือ เป็นสถานีการค้าขนาดใหญ่ เป็นที่รู้จักจากโลกตะวันตก ในนาม “ซิงกอรา”
พื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา มีการเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่เป็นหลักแหล่งมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล แต่เรื่องราวของการเกิดขึ้นของเมืองโคกเมืองวัดเขียนบางแก้วและเมืองสทิงพระ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 นั้นกลับเลือนลางหายไป ในความเป็นจริงแล้ว...ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่หลายภาคส่วน อาจจะยังไม่เห็นความสำคัญ
นาฏกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ จากรากงดงามของงานศิลป์ สู่งานด้านดนตรี การละคร จนบรรจบสู่ศาสตร์ภาพยนตร์ สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเรื่องราวนี้คือ “วังลดาวัลย์” หรือวังแดง ถือเป็นต้นกำเนิดของวงปี่พาทย์ประจำวัง ทั้งยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งเป็นต้นราชสกุลยุคล อีกทั้งบุคคลสำคัญในราชสกุลยุคลหลายท่านก็ได้สืบสานงานศิลป์ การดนตรี การละคร และภาพยนตร์ จนมีชื่อเสียงและสร้างคุณค่าในหน้าประวัติศาสตร์จวบจนปัจจุบัน
วังบางขุนพรหมถือเป็นวังที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของการส่งเสริมการศึกษาจนมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี" แต่นอกจากนี้วังบางขุนพรหมยังโดดเด่นอย่างมากในเรื่องมหรสพ การดนตรี จากรากสู่เราจะพาทุกคนไปสำรวจความงดงามของวังบางขุนพรหมผ่านเรื่องราวความเป็นมาต่าง ๆ อันเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์
สำรวจความเป็นมาในอีกมุมของวังหน้ากับการวางรากฐานการศึกษาด้านนาฏกรรม จากการตั้ง “โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์” สู่ “โรงเรียนนาฏศิลป” และพัฒนาเป็น “วิทยาลัยนาฏศิลป” อันเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพ ในด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และมีการขยาย “วิทยาลัยนาฏศิลป” ออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ยังคงสำรวจเรื่องราวในพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ “วังหน้า” โดยมีใจความอยู่ที่การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบ้านเมืองในยุคสยามใหม่ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา สยามเกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาบ้านเมืองอย่างเด่นชัด ทั้งจากการเข้ามาของชาติตะวันตก รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ จนเรียกได้ว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของยุคสยามใหม่ การเปลี่ยนผ่านในห่วงเวลาเหล่านั้นมีเสน่ห์ที่น่าสนใจมากมายเกิดขึ้น
“วังหน้า” หรือพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอดีตนั้นถือเป็นต้นกำเนิดของงานศิลป์ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโขนและละคร จากรากสู่เราชวนทุกคนมาทำรู้จักกับ “วังหน้า” ในหลากหลายความหมาย ความสำคัญ และบทบาทหน้าที่ในอดีต แม้ว่าในช่วงต้นรัชสมัยดังกล่าวยังมีการรบ - การศึกอยู่ แต่ศิลปะการละครในช่วงเวลานั้นกลับเป็นยุคที่รุ่งโรจน์และเฟื่องฟู เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?
หลังช่วงปี 2500 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการพัฒนาบ้านเมืองในหลายด้าน บางคนอาจมองเห็นความเสื่อมถอย บางคนก็มองเป็นเรื่องปกติของการพัฒนา จากรากสู่เราพาไปพบและพูดคุยกับผู้คนรุ่นปัจจุบันที่ อ. แกลง จ.ระยอง และ จ.จันทบุรี ที่ต่างหาทางออกให้กับอาชีพ ให้กับชีวิตโดยเชื่อมโยงคุณค่าเดิมของภูมินิเวศน์ในพื้นที่ และสังคมวัฒนธรรมในอดีตกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
“ภาคตะวันออก” นอกจากจะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ยังมีทำเลที่ดี เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และอยู่ติดอ่าวไทยซึ่งเป็นช่องทางเข้า-ออกในการขนส่งสินค้าทางทะเล รัฐในหลายยุคสมัยที่ผ่านมาจึงพยายามพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศ ด้านนึงก็ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่อีกด้านก็มีวิถีชีวิตดั้งเดิมและทรัพยากรทางธรรมชาติต้องตกเป็นผู้เสียสละจากเรื่องนี้
“บางละมุง” เป็นอำเภอที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ชายทะเลทางทิศใต้ของจังหวัด จากอดีตเป็นจุดจอดเรือที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงทุกวันนี้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมโดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยา ไปสำรวจความเป็นมาอันมีจุดเปลี่ยนสำคัญจากการสร้างท่าเรือน้ำลึก “ท่าเรือแหลมฉบัง” ที่เปลี่ยนแปลงวิถีผู้คนไปอย่างมากมายจวบจนปัจจุบัน
เมื่อพูดถึงสัตหีบ สิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึงอาจเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างชายหาด และทะเลที่มีความสวยงาม สะอาด และอุดมสมบูรณ์ แต่อีกสิ่งที่หลายคนนึกถึงคือ “ทหารเรือ” เพราะที่นี่คือฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จากอดีตป่ารกไข่ป่าชุกชุม ก้าวสู่เมืองแห่งทัพเรือได้อย่างไร ? สัตหีบก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร ? เหตุใดจึงกลายเป็นพื้นที่สำคัญได้
“เมืองชลบุรี” คงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่หลายคนชื่นชอบ ทั้งเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญที่มีความโดดเด่นในหลายด้าน ทั้งยังอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ทว่าคุณรู้จักเมืองแห่งนี้มากแค่ไหน รากจากสู่เราขอพาคุณผู้ชมตามติด “ตังตัง” พิธีกรสาวไปทำความรู้จัก “ชลบุรี” ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ที่โคกพนมดี ทวารวดี ต่อเนื่องปลายกรุงศรีอยุธยาที่เมืองบางปลาสร้อย บางพระ บางละมุง จนถึง “ชลบุรี” ในปัจจุบัน
ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย เมื่อในภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีที่ไม่พบร่องรอยของงานมหรสพตามฤดูกาลจากเกษตรกรรม แต่กลับพบการเล่นละครชาตรีที่เรียกกันว่า “เท่งตุ๊ก” หรือ “เท่งกรุ๊ก” จากรากสู่เราขอพาทุกคนไปชมละครเท่งตุ๊กที่จันทบุรี จากต้นกำเนิดครูคนแรก สู่บทบาทสำคัญทางความเชื่อในปัจจุบัน
หากจะนึกถึงอาหารประจำจังหวัดจันทบุรี คุณจะนึกถึงเมนูไหน หมูชะมวง เส้นจันท์ผัดปู ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเลียง หรืออาจจะนึกถึงอาหารจีน อาหารทะเล อาหารป่านานาชนิด นี่คือความหลากหลายเมนูที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมเชื้อชาติที่หลอมรวมกับธรรมชาติพื้นถิ่น จากรากสู่เราพาทุกคนไปสำรวจเรื่องราวของผู้คนและสังคมคนเมืองจันทร์ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่อยู่ในเมนูอาหารเหล่านั้น
หนึ่งในเรื่องราวที่ชาวจังหวัดจันทบุรีภาคภูมิใจคือการที่เมืองแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ที่เรารู้จักในนาม “วังสวนบ้านแก้ว” ทั้งยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญ คือการสังเกตและศึกษาชีวิตของชาวจันทบุรี โดยเฉพาะการทอเสื่อที่เรียกกันว่า “เสื่อจันทบูรณ์” และได้มีการพัฒนาจนเป็นที่รู้จักในชื่อ “เสื่อสมเด็จฯ” ชวนให้สงสัย ฉากหลังของเรื่องราวอันเปี่ยมเสน่ห์นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ?
ย้อนประวัติศาสตร์ “ปากน้ำประแส” อ.แกลง จ.ระยอง ชุมชนที่มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ผ่านความรุ่งเรืองและร่วงโรย ทั้งในฐานะเมืองท่าสำคัญสู่ยุคแรกเริ่มของการประมงเชิงพาณิชย์ จนกลับมาอีกครั้งในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่มีรากทางประวัติศาสตร์และทรัพยากรทางธรรมชาติที่น่าค้นหา “ประแส” ในปัจจุบันและอนาคตจะก้าวต่อไปอย่างไร ?
ท่องไปในประวัติศาสตร์การทำสวนในจันทบุรี “อัญมณีแห่งภาคตะวันออก” นับแต่แรกเริ่มของการส่งออกของป่าเข้าสู่ส่วนกลางในสมัยกรุงศรีอยุธยา สู่ช่วงเริ่มแรกของการทำเกษตรอุตสาหกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 จวบจนปัจจุบันที่เมืองจันทบุรีกลายเป็นแหล่งผลิตทุเรียนสำคัญส่งออกไปยังประเทศจีน พืชสวนและผู้คนจากอดีตจวบจนปัจจุบันมีความสัมพันธ์ถึงกันอย่างไร
หากพูดถึงเมืองศรีราชา หลายคนคงนึกถึงซอสศรีราชาหรือสับปะรดศรีราชา ที่เป็นของขึ้นชื่อที่มีชื่อเมืองต่อท้าย ทว่าเรื่องราวในอดีตของเมืองขึ้นชื่อนี้กลับเริ่มต้นจากการเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์จนกลายเป็นพื้นที่ป่าสัมปทานสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศที่รู้จักกันในชื่อป่าไม้กระยาเลย “จากรากสู่เรา” จะพาทุกคนไปสัมผัสจุดเริ่มต้นของเมืองศรีราชา จากป่าสู่เมือง การเติบโตผ่านวันเวลาเป็นอย่างไร
จังหวัดจันทบุรีมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นเมืองท่าและเมืองหน้าด้านสำคัญ ชาวญวนที่นับถือคริสต์และพุทธถือเป็นอีกกลุ่มชนสำคัญที่อพยพย้ายถิ่นมายังพื้นแห่งนี้ ชีวิตของชาวเวียดนามในไทย เข้ามาด้วยเหตุผลตั้งแต่ถูกกวาดต้อนมา กระทั่งอพยพย้ายประเทศจากความขัดแย้งทางการเมือง สีสันแห่งชีวิตเหล่านี้เต็มไปด้วยจากต่อสู้ที่ “จากรากสู่เรา” จะพาทุกคนไปสัมผัสถึงเรื่องราวชีวิตผ่านการกาลเวลาที่เติมเต็มท่วงทำนองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
ย้อนรอย ร.ศ. 112 ในมุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสบุกยึดจันทบุรีเป็นช่วงเวลาถึง 11 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและด้านสังคมมากมาย แต่กลับไม่มีการปะทะกับคนในพื้นที่จนลุกลาม นี่คือช่วงเวลาที่สยามเกือบจะกลายเป็นประเทศอาณานิคมอย่างฉิวเฉียดมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจันทบุรีนี้ได้บ้าง ?
จันทบุรีรวมถึงพื้นที่ภาคตะวันออกมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศ หลังสงคราม “อานามสยามยุทธ” อันเป็นฉากสำคัญหนึ่งของพื้นที่แห่งนี้ การสร้างเมืองเพื่อรับศึกนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่ตามมา เหตุใดเกิดสงครามแต่กลับมีความรุ่งเรือง ? รากสู่เราจะพาไปค้นหาคำตอบกัน