กรณี ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกสร ผ่านข้อกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทยร่วมกระทำการด้วยการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ทำให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บอกว่า “เป็นข่าวดี” พร้อมยอมรับว่า เป็นภูมิคุ้มกันรัฐบาลได้ด้วย นี่เป็นสิ่งที่ นายทักษิณอาจรู้มาก่อนหรือไม่ จากนัยการให้สัมภาษณ์วานนี้ (21 พ.ย. 67) ที่บอกว่า “25 ปีที่ผ่านมา มีทั้งนรกและสวรรค์ ตอนนี้ขออยู่บนพื้นดิน ไม่เอาสวรรค์-ไม่เอานรก รัฐบาลผสมมีพรรคร่วมฯ มีข้อตกลงร่วมกันหลายสิ่ง นายกรัฐมนตรี อาจจะเป็นเวอร์ชั่นที่ 2 ของผม” และความมั่นใจของนายกฯ ที่รัฐบาลชุดนี้จะอยู่ครบเทอม
ลุ้น “ศาลรัฐธรรมนูญ” จะมีมติว่าจะ “รับหรือไม่รับ” ? คำร้องของธีรยุทธ์ สุวรรณเกษร ว่า “ทักษิณ ชินวัตร” และ “พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิและเสรีภาพ นำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 49 หรือไม่
วันนี้ (19 พ.ย. 67) พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณี #ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ โดยยืนยันว่า #ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีอีกคนหนึ่ง ที่จะกลับไทย มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมว่า เบื้องต้นยังไม่ได้รับการประสานมา แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีทักษิณโมเดล รองรับตามที่วิเคราะห์กัน
วันนี้ (18 พ.ย. 67) นายสนธิญา สวัสดี นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ยื่นหนังสือขอให้ กกต. ตรวจสอบกรณี “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี โดยสงสัยว่า #ทักษิณ ถือสัญชาติไทย-มอนเตเนโกร หรือสัญชาติอื่นด้วยหรือไม่ เพราะอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
ไม่ใช่แค่อุดรธานี แต่มีรายงานว่า อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เตรียมจะ "ออนทัวร์" ไปช่วยผู้สมัครอีกหลาย ๆ จังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อไทย-ทักษิณ กำลังวางยุทธศาสตร์และเดินเกมการเมืองอย่างไร ร่วมวิเคราะห์กับ รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรการเมืองฯ นิด้า
ผ่านไปวันแรก สำหรับการขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียง ของนายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้ง นายก อบจ. อุดรธานี ของนายศราวุธ เพชรพนมพร นอกจากจะขอคะแนนเสียงจากชาวอุดรสนับสนุนให้เลือกในศราวุธแล้ว ยังใช้โอกาสนี้ ประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่หาเสียงการเมืองครั้งแรกรอบ 18 ปี นายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงของนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัคร นายก อบจ.อุดรธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย นายทักษิณบอกชาวอุดรผมกลับมาแล้ว "คิดฮอดชาวอุดรหลายเด้อ" และการมาปราศรัยครั้งนี้ต้องการขอบคุณชาวอุดรที่ไม่เคยลืมกัน ช่วงหนึ่งยังออดอ้อนบอกแม้จะแก่แล้วแต่หัวใจสะออน
รศ. ตระกูล มีชัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางไป จ.อุดรธานี เพื่อช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี จากพรรคเพื่อไทย เป้าหมายอาจไม่ใช่แค่ชัยชนะการได้นายก อบจ.อุดรธานี เพราะจริง ๆ ยังไงก็ชนะอยู่แล้ว แต่อาจมีเป้าหมายอื่นที่ใหญ่กว่า เพราะจากกำหนดเดินทางต่อ เพื่อไปช่วยหาเสียงในสุรินทร์ อุบลราชธานี หรือมุ่งอีสานทั้งหมด เหล่านี้คือการแสดงพลังบารมีของตัวเองให้ชาวอีสานรู้ว่ายังมีบทบาทอยู่ หากเกิดอุบัติทางการเมือง รัฐบาลต้องยุบสภาฯ เขาก็พร้อมจะกวาดที่นั่ง พร้อมลงเลือกตั้ง
วันนี้ (11 พ.ย. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีการเจรจา MOU44 ไทย-กัมพูชา ว่ารัฐบาลจะพยายามเร่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (JTC) เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิ์ในทะเลไทย-กัมพูชาตามกรอบ MOU2544 ทั้งนี้ การขับเคลื่อนของคณะกรรมการ JTC จะไม่ยืดเยื้อ และไม่สะดุด ดังนั้นขอให้ทุกฝ่ายอย่าทำเรื่องนี้ให้เป็นประเด็นทางการเมือง กลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์ขอให้จบได้แล้ว ก่อนปฏิเสธกระแสข่าว นายทักษิณ ชินวัตร โทรศัพท์พูดคุยกับ สมเด็จฮุน เซน เพื่อแบ่งผลโยชน์ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ในทะเล ก่อนย้ำว่าไม่มีดีลลับใด ๆ ทั้งสิ้น ด้วยอ้างอิงว่า นายทักษิณ ไม่ได้มีบทบาท-หน้าที่ จะเข้าดีลลับได้อย่างไร ดังนั้นเรื่องนี้ขอให้จบได้แล้ว
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณีนายทักษิณ ชินวัตร เตรียมลงพื้นที่ช่วย นายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ในนามพรรคเพื่อไทย หาเสียงเลือกตั้งวันที่ 13-14 พ.ย.นี้ ซึ่งการเลือกตั้งจะมีวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย. ว่า นายทักษิณ ตั้งใจจะลงพื้นที่และไปพบปะประชาชนที่เคยสนับสนุน แต่จะสามารถดึงความเชื่อมั่นของพรรคเพื่อไทยให้กลับคืนมาได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผลตอบรับของประชาชน นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่าแม้นายทักษิณจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง แต่เชื่อว่ายังคงสามารถช่วยผู้สมัครหาเสียง โดยไม่มีข้อติดขัดเรื่องกฎหมาย และมั่นใจว่าวิธีการหาเสียงในรูปแบบนี้จะส่งผลดีต่อผู้สมัคร และการเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งต่อ ๆ ไป
วันนี้ (8 พ.ย. 67) รศ. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรการเมืองฯ นิด้า มองการสอบข้อเท็จจริง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร พักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ หลัง กมธ.ความมั่นคงฯ ของสภาผู้แทนราษฎร เรียกสอบหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง พบข้อสงสัยหลายอย่าง ตั้งแต่ไม่รู้ว่าหมอหรือพยาบาลคนใดในเรือนจำ ที่เห็นชอบให้ส่งนายทักษิณออกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ไม่มีใครยอมรับ และบอกว่าเป็นคนไหน ผู้บัญชาการเรือนจำที่ต้องเซ็นเอกสารให้นายทักษิณออก ก็ไม่มาพบ กมธ.ความมั่นคงฯ เช่นเดียวกับตอนไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจแล้ว ก็ไม่พบว่ามีหมอคนไหน หรือไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นหมอรักษาให้นายทักษิณ เรื่องนี้ยิ่งสอบยิ่งพบเรื่องแปลกประหลาด
เป็นวาระสำคัญที่ครอบครัวชินวัตรต้องจับจ้อง นอกเหนือจากภาระงานของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ยังมีคำร้องให้ตรวจสอบการเข้าพักรักษาตัวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดที่เกี่ยวข้องพยายามเรียกสอบ เช่นเดียวกับองค์กรอิสระ ตอนนี้ทุกฝ่ายคาดหวังหลักฐานชิ้นสำคัญคือ เวชระเบียน ที่เก็บประวัติการรักษาผู้ป่วย แต่สุดท้ายจะออกหน้าไหน วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
จับตาความเคลื่อนไหวหลังการพบกันระหว่าง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายเนวิน ชิดชอบ จะเป็นการเคลียร์ใจกับประโยค “มันจบแล้วครับนาย” สู่ดีลทางการเมืองเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่ วิเคราะห์ไปกับ เสาวลักษณ์ วัฒนศิลป์ บรรณาธิการข่าวการเมือง
กรณีรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทย เดินหน้าดำเนินการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหนึ่งในประเด็นจะแก้ไขคือ จริยธรรมนักการเมือง โดยมีพรรคประชาชน พรรคคะแนนเสียงสูงสุดจากฝ่ายค้านแสดงความเห็นด้วยนั้น ได้เกิดข้อครหาจากพรรคร่วมรัฐบาล แสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย อีกทั้งยังมีอดีตวุฒิสภา และบรรดานักร้องเรียนทางการเมือง เริ่มไปร้องเรียนแล้ว บรรยากาศจะคล้าย ๆ กับตอนเดินหน้าร่างกฎหมายนิรโทษกรรม จนเป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองปี 2557 และรัฐประหารหรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส