พาไปรู้จักเกษตรกรคนรุ่นใหม่ “ศุภเศรษฐ์ กิตติพล” ผู้ต่อยอดการแปรรูปไม้กฤษณา พัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง กว่าร้อยรายการ เช่น เครื่องหอม, สเปรย์ฉีดหมอน, ยาดม, บาร์มสมุนไพร, น้ำมันนวด, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า, เซรั่ม, น้ำตบ, สบู่ล้างหน้า, ครีมอาบน้ำ, ราคาหลักร้อยบาท จำหน่ายที่ฟาร์มและผ่านเพจมีสุขฟาร์ม ความสำเร็จนี้สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา ต.กะเฉด อ.เมืองระยอง อีกทั้งยังต่อยอดสร้างคาเฟ่กลางป่ากฤษณา เปิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
พาไปชม “ซาลาเปาโกหลอ” แป้งนุ่มไส้ฉ่ำ อร่อยทุกคำด้วยสูตรโบราณ เป็นซาลาเปาของดีเมืองตรัง ที่ร้านโกปี๊โกหลอ สี่แยกวังตอ ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง ร้านกาแฟแห่งนี้มีเมนูหลากหลายที่ขึ้นชื่อ และเป็นที่ถูกปากของนักกินทั้งหลาย ด้วยเอกลักษณ์ด้วยรสชาติของอาหารที่ยังคงความเป็นสูตรโบราณ
ช่วงของดีทั่วไทย พาไปชมผลงานของอดีตพนักงานบริษัท ที่ลาออกกลับบ้านเกิด ที่ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ไปประกอบอาชีพทำงาช้างเทียม ยอดสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก ใครจะรู้จุดเริ่มต้นมาจากการดูจากสื่อออนไลน์ จากนั้นลองผิดลองถูกจนได้งาช้างเทียมที่สวยงาม เสมือนจริง มีความเป็นธรรมชาติ เป็นความสำเร็จของตนเองที่สร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัว อีกทั้งยังสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย
อีกไอเดียสร้างรายได้คือ เลี้ยงกบเนื้อในกะละมัง พบว่าโตเร็ว เนื้อแน่น และผิวพรรณดูสะอาดสะอ้าน เป็นวิธีการเลี้ยงกบของ นางชนัญทิชา อันธิวกุล อายุ 62 ปี เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน บ้านช่องโค ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หลังเคยลงทุนเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์มาแล้ว แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ กบโตช้า กบเนื้อเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก ขณะนี้มีชาวบ้านสนใจมาดูวิธีการเลี้ยง เพื่อนำไปแบบอย่างสร้างอาชีพเสริมในครัวเรือน ช่วงนี้มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ทำให้เธอมีรายได้เฉลี่ยเดือนละกว่า 15,000-20,000 บาท
พาไปชมการปลูกมันแกวอินทรีย์ ของเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มันแกวอินทรีย์และผัก ต.ห้วยเตย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม ลดต้นทุนการปลูกด้วยการผลิตเมล็ดพันธุ์เอง ดูแลด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ PGS วางแผนการปลูกให้มีผลผลิตขายในช่วงปีใหม่ได้ราคาดี ซึ่งมันแกวยังเป็นพืช GI ของ จ.มหาสารคาม รู้จักกันในนาม มันแกวบรบือ จุดเด่น ผลสวยใหญ่ เนื้อขาว รสชาติหวาน มัน กรอบ
ตุ๊กตาและกระถางดินเผาหลากหลายรูปทรงลงสีสันให้สวยงาม ดูน่ารัก ผลงานทั้งหมดนี้ไม่ได้มาจากช่างปั้นช่างศิลปะใด ๆทั้งสิ้น แต่มาจากฝีมือพยาบาลสาว น.ส.อรอนงค์ กาฬภักดี และ นายวรรณกร ตั้งประเสริฐ ชาวบ้าน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ที่เริ่มต้นทำตุ๊กตาปั้นดินเผาเพื่อหารายได้เป็นอาชีพเสริม แต่ด้วยกระแสตอบรับดีเกินคาด จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาทำเป็นอาชีพอย่างจริงจัง
ช่วงของดีทั่วไทยพาไปชมผลิตภัณฑ์ “กล้วยตากคำโต” ของขึ้นชื่อของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรชาวเวียง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น ที่ขายดี โดยนำกล้วยน้ำว้าที่ปลูกภายในพื้นที่มาแปรรูป เริ่มทำเมื่อปี 2562 สมาชิก 7 คน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 30 คน การปลูกวางแผนให้กล้วยมีผลผลิตออกทั้งปี กล้วยมีทั้งผลสดและนำไปแปรรูป ทั้งกล้วยตาก ผงแป้งกล้วย น้ำกล้วยไซเดอร์ สร้างเศรษฐกิจชุมชน และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
บรรยากาศการท่องเที่ยวที่ บ้านมุง จังหวัดพิษณุโลก สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมกำลังสวยงามพร้อมรับนักท่องเที่ยวกันแล้ว ผู้ประกอบการในชุมชนต่างเตรียมพร้อม กระทั่งการเตรียมพื้นที่ให้สวยงามด้วยการ นำควายมาตัดหญ้าตามแบบวิถีชาวบ้านโบราณ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อย่างอื่น พร้อมรับนักท่องเที่ยว
เป็นอีกคนที่ลาออกจากงานประจำ กลับไปทำเกษตรที่บ้านเกิดกับ “ชมรชต พิจิตร” เจ้าของมอร์ฟาร์ม ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่นำเข้าวัวสายพันธุ์แองโกล-วาตูซี หรือวัวเขายาว ซึ่งเป็นวัวสวยงามจากต่างประเทศ นำมาเลี้ยงควบคู่กับวัวพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้ เพาะขยายพันธุ์และส่งขายให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ชื่นชอบวัวสวยงาม ปัจจุบันเป็นที่นิยม และสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว
อาหารในหมวดอาหารทะเลที่มีสารอาหารสูง เหมาะส่งเสริมให้เพาะเลี้ยง กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านทุ่งริ้น จังหวัดสตูล จึงต่อยอดสินค้าชุมชนสู่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก อาหารท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่ม หลังพบปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง
กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่แล้ว แต่ยิ่งนำมาผสมกับธัญพืช ก็ยิ่งได้สารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น พาไปชม อดีตสาวออร์แกไนเซอร์ “ปาริชาติ หงษ์ชากรณ์” หรือพี่บ๊วย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนหัวกล้วย ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย สร้างสรรค์เมนูจากกล้วย ทำเป็นกล้วยอบธัญพืช ทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ และยังใช้กล้วยจากเกษตรกรในพื้นที่
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง จ.ระยอง พื้นที่ต้นแบบทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ที่ผู้ใหญ่ “สมศักดิ์ เครือวัลย์” เป็นผู้ก่อตั้ง ปัจจุบันลูกสาว “วรรณิภา เครือวัลย์” ซึ่งเป็นเกษตรกรคนรุ่นใหม่ได้สานต่อ เพื่อให้ที่นี่เป็นพื้นที่สร้างอาชีพ เน้นให้พึ่งพาตนเอง แบบยั่งยืน สำหรับศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ให้บริการความรู้กับประชาชน เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สอนการปรับปรุงบำรุงดิน สร้างอาชีพ สร้างผู้นำต้นแบบของการพึ่งตนเอง การผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งเลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชสมุนไพร
ช่วงของดีทั่วไทย พาไปดูนวัตกรรมจากลูกสำรอง นวัตกรรมที่ใหม่ที่นำเนื้อของลูกสำรอง มาเพิ่มมูลค่าทำเป็น น้ำสำรองซูเปอร์ฟู้ด ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนครัวแม่ฉัน by นานา จังหวัดระยอง พร้อมนำผักเคล และเห็ด มาเป็นส่วนผสม กลายเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ได้เสียงตอบรับจากลูกค้า กลุ่มคนรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี
ชาวประมงชุมชนบ้านทุ่งน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พาชม “ถ้ำลอด” ถ้ำโบราณ ตั้งอยู่ริมทะเลบ้านทุ่งน้อย ปากถ้ำเล็กต้องนั่งลงและเข้าไปได้ทีละคน แต่ด้านในเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ ชุมชนอยากให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สามารถเดินทางมาได้ตั้งแต่เดือนเมษายน-เดือนกันยายน ช่วงน้ำทะเลลง
ปัจจุบันการใช้เรือสัญจรน้อยลง เพราะวิถีชีวิตริมแม่น้ำลำคลองที่เปลี่ยนไป แต่ช่วงนี้กลับมีเริ่มชาวบ้านเริ่มนำเรือไม้ออกมาซ่อมแซม เพราะเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำ โดยเฉพาะที่อู่ซ่อมเรือของช่างพื้นบ้าน ในตําบลโพประจักษ์ อําเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี มีงานซ่อมเรือเข้ามาต่อเนื่อง
ช่วงของดีทั่วไทย พาไปดูผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสไตล์ชิโบริย้อมสีธรรมชาติ เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายลงบนผ้า โดยการกันสี ไม่ให้ซึมเข้าไปในลายผ้า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมัดย้อมผ้าน่านบ้านนาสา ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน แม้สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ แต่สามารถพัฒนาลวดลายให้ทันสมัย และรับผลิตตามแบบที่ลูกค้าต้องการ
ของดีทั่วไทย พาไปชมของดีอำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช คือสวนโกโก้ลุงเล็ก ซึ่ง “สวง เงินเปีย” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สวนโกโก้ลุงเล็ก เป็นผู้นำเข้ามาจากมาเลเซีย โกโก้ที่นี่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะมีกลิ่นหอม และมีเมล็ดที่ใหญ่ ปัจจุบันนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น คุกกี้ บราวนี่ ทองม้วนโกโก้ เค้กกล้วยหอม โกโก้นิป โกโก้นัด ผงโกโก้ ฯลฯ ราคาตั้งแต่หลักสิบถึงหลักร้อยบาท ส่งทั่วประเทศ สร้างงานสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นคนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นศูนย์เรียนรู้ และเป็นต้นแบบด้านปลูกโกโก้ให้กับเกษตรกรที่สนใจ โดยปลูกแปรรูปแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
พาไปดูคุณตาวัย 74 ปี “ประเสริฐ พวกพล” ชาวจังหวัดตรัง ที่ยังคงทำงานอยู่ แต่ความน่าทึ่งคือ เป็นงานปีนต้นไม้ ด้วยการปีนต้นสะตอสูงนับ 10 เมตร ซึ่งคุณตาประเสริฐจริง ๆ มีลูกดูแลอย่างดี ลูกก็บอกให้เลิกปีนเพราะเป็นห่วง แต่คุณตาก็ยืนยันว่า ขอทำอาชีพนี้ต่อไป เพราะถ้าไม่ได้ปีนจะรู้สึกหงุดหงิด คล้ายจะไม่สบายทุกที ส่วนเคล็ดลับอายุยืนและแข็งแรงไม่มีอะไรมาก คุณตาประเสริฐเข้านอนเร็วตั้งแต่ 20.00 น. นอกนั้นใช้ชีวิตปกติ ในสภาพอากาศดีตามธรรมชาติ