นายวิฑูรย์ เก่งงาน ทนายความของนายวรัตน์พล พาพนักงานบริษัทดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด 6 คน เข้าพบพนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน เพื่อลงบันทึกประจำวัน หลังจากเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ บก.ปคบ. เข้าตรวจค้น 11 จุด ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทดิไอคอน พร้อมยึดของกลาง และเชิญตัวพนักงาน 10 คน เข้ามาสอบปากคำ นานกว่า 8 ชั่วโมง ในฐานะพยาน แต่ถูกยึดโทรศัพท์มือถือ ทำให้ครอบครัวไม่สามารถติดต่อได้ นายวิฑูรย์ เปิดเผยว่า ไม่ได้สงสัยการทำหน้าที่ของตำรวจ แต่ทราบว่าพนักงานที่ถูกเชิญตัวไปสอบปากคำ ถูกบังคับให้เซ็นยินยอม เพราะกลัวว่าหากไม่ให้ความร่วมมือ จะไม่ได้กลับบ้าน และบรรยากาศในห้องสอบปากคำ ท่าทาง และคำพูดบางอย่าง ทำให้พนักงานรู้สึกกดดัน
แม้คดี “ดิไอคอนกรุ๊ป” จะไม่ได้เป็นคดีแชร์ลูกโซ่ลำดับต้น ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เป็นการตอกย้ำว่า ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยผ่านไป กลยุทธ์แชร์ลูกโซ่ก็ยังใช้ได้ตลอด นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า “แชร์ลูกโซ่” ที่ถือเป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกให้นำเงินมาลงทุน โดยจูงใจว่าจะได้ผลตอบแทนสูง ๆ ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่มีการนำเงินไปลงทุน เพียงแค่นำเงินจากสมาชิกรายหนึ่งไปจ่ายผลตอบแทนให้สมาชิกอีกรายหนึ่งเป็นทอด ๆ แชร์ลูกโซ่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Ponzi Scheme ซึ่งตั้งตามชื่อของ ชาร์ลส์ พอนซี (Charles Ponzi) ที่กลายเป็นคนดังในทางฉาวจากการใช้แลร์ลูกโซ่หลอกเงินคนอื่นในช่วงปี 1920 พอนซีเคยให้สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนคนที่นำเงินมาลงทุนกับเขา 50% ของเงินต้น ภายใน 45 วัน และ 100% ภายใน 3 เดือน แต่สุดท้ายแชร์ลูกโซ่ของเขาก็ล้มลง สร้างความเสียหายราว 20 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะนั้น
เมื่อวานนี้ (17 ต.ค. 67) ตำรวจสอบสวนกลาง นำหมายจับเข้าควบคุมตัว "บอสพอล" คดีดิไอคอนกรุ๊ป ไปสอบสวนกองบังคับการปราบปราม เบื้องต้นโดนข้อหาฉ้อโกงประชาชน , พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ขณะที่ออกหมายจับรวม 18 คน "กันต์-มิน-แซม" โดนด้วย แต่หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ การปรากฏตัวผ่านสื่อของนายพอลในช่วงตลอดหลายวันที่ผ่านมา มีหลายจุดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการตอบคำถาม รวมถึงการแสดงออกทางอารมณ์ในแต่ละครั้ง ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่า นี่คือวิธีการสื่อสาร เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผูกพันทางกฎหมายหรือไม่ ตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือ บอสพอล มีโอกาสพบสื่อมวลชน 3 ครั้ง ครั้งแรก ไปพบตำรวจ ปคบ. ต่อมาครั้งที่ 2 ออกรายการโหนกระแส ทางช่อง 3 และวันเดียวกัน ออกรายการ กับ THE STANDARD โดยแต่ละครั้ง มีการสื่อสารผ่านการตอบคำถามสื่อมวลชนที่แตกต่างกัน
กรณีคลิปเสียงสนทนากันของบิ๊กบอสรายหนึ่ง กับนักการเมืองพรรคใหญ่ที่ให้ช่วยวิ่งเต้นคดีนี้ โดยเสนอจ่าย 30 ล้าน พร้อมค่าเลี้ยงดูอีกเดือนละแสน แลกกับการเปิดทางและให้ช่วยเคลียร์กับตำรวจยศใหญ่ที่มีอำนาจคนหนึ่ง ทำให้นักข่าวพยายามสอบถามนักการเมืองหลาย ๆ คน หนึ่งในนั้น คือ นายสามารถ เจนชัยจิตวนิช รองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ และได้รับการยืนยันไม่ใช่เสียงตัวเอง ในคลิป พร้อมระบุว่าหากบุคคลใดพาดพิง จะดำเนินการทางกฎหมายทันที