“บุคคลแห่งปี 2567” กลายเป็นกระแสที่มีการพูดถึง หลังเพจ กรรมกรข่าว อยากให้มีส่วนร่วมเสนอชื่อบนโลกออนไลน์ ปรากฏว่ามีชื่อของ นาย อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและเป็นผู้ต้องหาคดี 112 เป็นลำดับต้นๆ ในโลกโซเชียล หากมองข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ บุคคลแห่งปี จะเป็นระดับนักการเมือง แต่หากเป็นเสียงโหวตจาก ประชาชน ก็เคยโหวตเลือก อย่างคุณ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มาแล้ว ถ้าดูจากแนวโน้ม ก็คงจะหนีไม่พ้น ไปที่ผู้นำรัฐบาล อย่างนายกรัฐมนตรี แต่สิ่งที่นาย อานนท์ นำภา อยากจะได้มากที่สุดคงเป็นการประกันตัวออกมาสู้คดี หลังเคยมีจดหมายแสดงความคิดถึงไปยังครอบครัว
เปิดประชุมสภาที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็น ส.ส.ฝ่ายค้าน ออกโลงมาเฉ่ง หลัง นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กับรัฐมนตรีท่านอื่นไปตอบคำถาม จนประธานวิปฝ่ายรัฐบาล ต้องออกมายืนยันว่า นายก จะมาตอบคำถาม ขณะที่ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา ออกโรงมาเตือนสติ และเตือน รัฐบาล ต้องให้ความสำคัญกับสภาด้วย จึงเกิดการตั้งคำถามว่า ภารกิจสำคัญของนายกนั้น จะไม่สามารถแบ่งเวลามาตอบคำถามสภาได้เลยหรือ . ด้านของพลังประชารัฐ ที่เข้าร่วมในการหารือกับพรรคฝ่ายค้านเมื่อวานนี้(19ธ.ค.67)ต้องจับตาสถานะว่า จะมีบทบาทอย่างไร หรือจะเป็นฝ่ายค้านหรือไม่ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า การมีตำแหน่ง ส.ส.ของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคนั้นเพียงเพื่อปกป้องตัวเองจากกฏหมายเท่านั้น
กรณี นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง ถูกยิงเสียชีวิตภายในบ้าน นายสุนทร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี โดยผู้ติดตามนายสุนทร ให้การยอมรับว่าเป็นผู้ก่อเหตุ นี่ไม่ใช่คดีความแรกที่สมาชิกครอบครัววิลาวัลย์ต้องตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาทางคดี และถ้าไล่เรียงกัน หลายคดีที่ครอบครัวนี้ต้องเผชิญ ล้วนเป็นคดีใหญ่ทั้งสิ้น ในส่วนคดีล่าสุด แม้ตำรวจจะยังไม่ปักใจไปที่ต้นเหตุเรื่องไหน แต่คนเพ่งเล็งไปที่การเมืองท้องถิ่นมากเป็นพิเศษ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
กรณีพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ขับ 20 สส. ก๊วน ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งคาดการณ์ว่าจุดหมายต่อไปของ 20 สส. คือ พรรคกล้าธรรม ของ นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ หัวหน้าพรรคกล้าธรรม เป็นเรื่องไม่พลิกความคาดหมาย แต่ก็มีข้อสังเกตว่า การเจรจาที่ชื่นมื่นตอบตกลงกันในเงื่อนไขใด จะเกี่ยวข้องกับคดีภูนับดาว ที่หวานใจบิ๊กการเมืองถูกกล่าวหารุกที่ดิน ส.ป.ก.หรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
การผลักดันร่างกฎหมายจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีหลักการต้านการทำรัฐประหาร กำลังถูกตั้งคำถามว่าจะใช้ได้จริงหรือไม่ แม้ยังคงต้องลุ้นกันอีกยาว ๆ เพราะมีฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยในรัฐบาล น่าจับตาว่าแม้จะมีคำปฏิเสธจากบิ๊กเพื่อไทย ว่าเรื่องนี้เป็นเพียงความเห็นของ สส.คนเดียว แต่นักวิเคราะห์การเมืองประเมินว่าร่างกฎหมายสำคัญแบบนี้ มีหรือจะไม่ผ่านหูผ่านตาผู้ใหญ่ในพรรคมาก่อน ? จะเป็นแค้นฝังหุ่น หรืออยากลูบคมอะไร แต่เรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นการจัดการโครงสร้างอำนาจ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องประชาชน ที่หลายภาคส่วนอยากให้รัฐบาลทำมากกว่า ในช่วงที่รัฐบาลถูกมองว่ายังไม่ค่อยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับพรรคเพื่อไทยเสร็จแล้ว เตรียมให้ สส.พิจารณา ตรงนี้เกิดคำถามมากมายว่าเป็นการปูทางพา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับประเทศไทย โดยไม่ต้องเข้าเรือนจำหรือไม่ และอาจทำให้พรรคเพื่อไทยเผชิญชะตากรรมเดิม คือ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบสุดซอยในปี 2557 หรือไม่ ยังมีกฎหมายอีกฉบับของพรรคเพื่อไทย ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงไม่น้อยคือ กฎหมายจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่ถูกยื่นโดยอดีตขุนพลนิรโทษกรรมสุดซอย “ประยุทธ์ ศิริพานิชย์” สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นี่อาจเป็นเดิมพันครั้งสำคัญของเพื่อไทย ทั้งกับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับกองทัพ และแกนนำมวลชนบางฝ่าย ที่เฝ้ารอเชื้อไฟทางการเมือง
ต้องยอมรับว่าการบริหารงานท้องถิ่น เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญการสู่การเมืองระดับชาติ ต้องยอมรับว่าหนีไม่พ้นเรื่องของอำนาจ บารมีเป็นปัจจัยที่สำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่น จะมี"บ้านใหญ่"เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยตลอด ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
กรณี #ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ถูกตำรวจควบคุมตัว เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะนี่คือทนายคนดังที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเสียเอง และทำให้หลายคนเชื่อมโยงกับคดีดัง อย่างคดีดิไอคอนกรุ๊ป เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเรียกตบทรัพย์ 2 คดีนี้เชื่อมโยงกันหรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
เป็นวาระสำคัญที่ครอบครัวชินวัตรต้องจับจ้อง นอกเหนือจากภาระงานของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ยังมีคำร้องให้ตรวจสอบการเข้าพักรักษาตัวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดที่เกี่ยวข้องพยายามเรียกสอบ เช่นเดียวกับองค์กรอิสระ ตอนนี้ทุกฝ่ายคาดหวังหลักฐานชิ้นสำคัญคือ เวชระเบียน ที่เก็บประวัติการรักษาผู้ป่วย แต่สุดท้ายจะออกหน้าไหน วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
จับตาคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เดิมทีนัดหมายประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดคนใหม่ วันนี้ (4 พ.ย. 67) แต่ล่าสุดเลื่อนออกไป 11 พ.ย. 67 ท่ามกลางการนัดหมายชุมนมคัดค้านที่หน้าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องนี้แม้รัฐบาลจะบอกว่าไม่รู้เรื่อง กรณีการส่งชื่อ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ร่วมชิง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชื่อนี้ทำงานกับพรรคเพื่อไทยมายาวนาน และมีแนวคิดนโยบายการเงินในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล เป้าหมายที่แท้จริงของเรื่องนี้คืออะไร วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
กรณีการออกมาแถลงข่าวของ พล.ต.ท. ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) สะเทือนไปทั้งยุทธภพการเมือง นอกจาก “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” ชิงลาออกจากพรรค ทำให้พรรคพ้นข้อครหาไปแล้ว ยังโยนระเบิดไปยังพรรคเพื่อไทยรับช่วงต่อ ตัวย่อต่าง ๆ ที่ พล.ต.ท. ปิยะ กล่าวอ้างว่าเป็นนักการเมืองที่มีความเชื่อมโยงคดีดิไอคอนกรุ๊ป ทำเอาคนพรรคเพื่อไทยเนื้อเต้นต้องรีบออกมาชี้แจง จะเป็นการเมืองแบบใส่ร้าย หรือแง้มข้อเท็จจริงเพื่อโต้กลับทางการเมือง วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
กรณีบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป ที่ส่วนหนึ่งโยงไปถึงนักการเมืองในพรรคพลังประชารัฐ กรณีเรียกรับเงินเพื่อเวลามีปัญหาจะเคลียร์ในชั้นกรรมาธิการให้นั้น ถ้าเป็นไปตามนัดหมาย วันนี้พรรคพลังประชารัฐ จะมีการพิจารณาสมาชิกภาพของสมาชิกพรรค ที่ถูกพาดพิงชื่อไปโยงกับคดีดังกล่าว กรณีดังกล่าวทำให้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เสมือนถูกรุมกินโต๊ะ ทั้งจากคนนอกพรรค คนในพรรค ทว่า อาจมีความช่วยเหลืออย่างลับ ๆ ในกลุ่มพี่น้อง 3 ป. ซึ่งมีสัมพันธภาพแน่นแฟ้นกว่าที่หลายคนคิด วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
ท่าทีของพรรคเพื่อไทยต่อปลายทางกฎหมายนิรโทษกรรมถูกตั้งคำถามเยอะ ส่วนหนึ่งมาจากผู้สนับสนุนในกลุ่มคนเสื้อแดงบางปีก ที่คาดหวังการผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้แบบรวมเอามาตรา 112 เข้าไปด้วย กระแสวิจารณ์จากอดีตคนกันเองมาแรง เพราะ สส.เพื่อไทยร้อยกว่าคน โหวตสวนมติพรรคเมื่อสัปดาห์ก่อน ถ้าเพื่อไทยต้องการรับข้อสังเกตของกรรมาธิการจริงตามที่กล่าวอ้าง ก็ถือว่าการสวนมติพรรคร้อยกว่าคนนี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก ? วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
เปิดตัววันนี้ (27 ก.ย. 67) แล้วกับหนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” เขียนโดย รศ. ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมาถูกกองทัพโดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ตั้งคำถามถึงความไม่เหมาะสม ความคลาดเคลื่อนของข้อมูล และยกเป็นหนังสือต้องห้าม การมีอยู่ของ กอ.รมน. ถูกตั้งคำถามอีกครั้ง โดยเฉพาะการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี พบว่า 10 ปี (2566-2566) ได้งบฯ รวมมากกว่า 1 แสนล้านบาท ทั้งที่ภารกิจจบไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ากองทัพจะขยับทางไหน เป็นประเด็นที่ นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ในฐานะ ผอ.กอ.รมน. จะปฏิเสธ ไม่รู้ ไม่เห็นไม่ได้
กรณี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งสัญญาณถอยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 อันสืบเนื่องมาจากพรรคภูมิใจไทยเปลี่ยนท่าทีไม่เห็นด้วย แม้จะยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่กระทบความสัมพันธ์พรรคร่วมรัฐบาล ล่าสุดเสียงส่วนใหญ่ในกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ วุฒิสภา (สว.) ก็เปลี่ยนท่าที กลับมาใช้เงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ฉะนั้นแทบจะชัดเจนแล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ คงไม่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ และการเลือกตั้งในปี 2570 รวมถึงการเลือก สว.ในครั้งถัดไป ยังใช้กติกาเดิม
กรณีรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทย เดินหน้าดำเนินการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหนึ่งในประเด็นจะแก้ไขคือ จริยธรรมนักการเมือง โดยมีพรรคประชาชน พรรคคะแนนเสียงสูงสุดจากฝ่ายค้านแสดงความเห็นด้วยนั้น ได้เกิดข้อครหาจากพรรคร่วมรัฐบาล แสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย อีกทั้งยังมีอดีตวุฒิสภา และบรรดานักร้องเรียนทางการเมือง เริ่มไปร้องเรียนแล้ว บรรยากาศจะคล้าย ๆ กับตอนเดินหน้าร่างกฎหมายนิรโทษกรรม จนเป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองปี 2557 และรัฐประหารหรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
2 โผรัฐมนตรีที่ถูกเสนอโดยกลุ่ม ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งประกาศแยกตัว กับโผตามแถลงการณ์ของพรรคพลังประชารัฐ ยังคงสะท้อนถึงความขัดแย้ง เจรจาไม่ลงตัว วัดใจพรรคเพื่อไทย แกนนำรัฐบาล จะตัดสินใจอย่างไร จะจอดรอ ให้ศึกในพรรคเคลียร์ให้จบก่อน หรือเลือกฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หรือจะชวนพรรคอื่นที่แต่งตัวรอนานแล้วเข้ามาแทน เพื่อไปต่อ วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
สถานการณ์ฝุ่นตลบในพรรคพลังประชารัฐ ระหว่าง พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ภายหลังการส่งชื่อเป็นรัฐมนตรีของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ทว่าระหว่าง 2 ฝั่วชักเย่อ สส.ในพรรค ปรากฏว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ส่งสัญญาณถ้าจะมาต้องมาทั้งตัว หรือนัยคือ ต้องมาทั้งพรรค ทั้งฝั่งบิ๊กป้อม กับสหายผู้กอง จึงต้องจับตาว่ากระจกที่ร้าว จะกลับมาประสานอีกครั้งหรือไม่ ?
บทเรียนจาก นายเศรษฐา ทวีสิน ที่ต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปมจากการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี ทำให้การแต่งตั้งคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ต้องเข้มข้นขึ้น ไหนจะเรื่องคุณสมบัติรัฐมนตรี ล่าสุดยังพบกระแสข่าวมีคลื่นใต้น้ำในพรรคพลังประชารัฐ หลังจากมีกระแสข่าวว่า พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เคลียร์ใจกับ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เรียบร้อยแล้ว ชื่อของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ถูกพูดถึงอีกครั้งจะหลุดหรือไม่หลุด ? ขณะที่ นายสันติ พร้อมพัฒน์ ที่มีข่าวว่าจะมาเสียบตำแหน่งแทน ก็ถูกกระแสข่าวสมัยเรียน ม.รามคำแหง ที่อาจสะเทือนเรื่องคุณสมบัติรัฐมนตรี จะเป็นเกมน้องรักหักเหลี่ยมโหดกันเอง เร็ว ๆ นี้ คงได้รู้กัน
เส้นทางของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 จะโรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะมีที่ปรึกษาที่ดีอย่างอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร พร้อมมีทีมงานที่ดี หรือไม่ อีกไม่นานคงจะได้รู้กัน ทว่าก็มีกระแสข่าวว่า นี่อาจเป็นการเตรียมเช็กบิลครั้งใหญ่ตระกูลชินวัตรอีกรอบหรือไม่ จากนโยบายเสี่ยง ๆ ของรัฐบาล เช่น “ดิจิทัลวอลเล็ต” ที่นายกฯ บอกว่าจะเดินหน้าต่อ รวมถึง “แลนด์บริดจ์” ที่ใช้งบประมาณมหาศาล กระทบชุมชนและสภาพแวดล้อม ซึ่งล่าสุดก็มีกระแสข่าวว่าว่ากลุ่มบุคคลเริ่มไปกว้านซื้อที่ดินรอแล้ว และ “เอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์” ที่มุ่งมั่นเดินหน้า ทั้งที่ไม่ใช่นโยบายหาเสียง และไม่เคยมีรัฐบาลไหนคิดทำมาก่อน อาจเป็นความเสี่ยงที่ไปเข้าทางกลุ่มอำนาจเดิม ที่แม้จะทำทีสนับสนุน แต่ก็รอเช็กบิลอยู่หรือไม่ ?
พลิกหลายตลบ กว่าจะได้ชื่อ “อิ๊งค์ - แพทองธาร ชินวัตร” ที่พรรคร่วมรัฐบาล เตรียมเสนอชื่อให้โหวตเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี วันนี้ (16 ส.ค. 67) ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย เพราะช้าเร็ว อย่างไรก็ต้องมีวันนี้ เพียงแต่ว่าวันแห่งความฝัน มาเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ การขึ้นขี่หลังเสือครั้งนี้ จะพร้อมหรือไม่ แต่สิ่งที่ต้องเจอแน่ ๆ คือ เกมการเมือง สารพัดขวากหนาม และอุปสรรคน้อยใหญ่รออยู่ โดยเฉพาะนโยบายที่เคยหาเสียงไว้อย่างดิจิทัลวอลเล็ต นี่จึงเป็นการเทหมดหน้าตักและเดิมพันตระกูลชินวัตรอีกครั้ง
ทุกอย่างเกิดขึ้นในวันเดียว ตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฐานผิดจริยธรรมร้ายแรง จากนั้นไม่กี่ชั่วโมง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เชิญแกนนำของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลมาหารือ ก่อนสรุปผลอย่างรวดเร็วเสนอชื่อ นายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ ให้เป็นนายกฯ โดยจะมีการโหวตเลือกในวันที่ 16 ส.ค. นี้ ทว่าดีลครั้งนี้เพื่อไทยอาจมีรายจ่ายที่แพงกว่าเดิม ?
ทุกอย่างเกิดขึ้นในสัปดาห์เดียวกัน ตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคก้าวไกล พร้อมตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค ก่อนนำมาซึ่งการเปิดตัวพรรคประชาชน และผู้นำทัพคนใหม่คือ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ยอดสมัครสมาชิกพรรคประชาชน กับยอดบริจาคเงินไปได้สวยเลย ข้อมูล ณ วันที่ 13 ส.ค. 67 ยอดสมัครสมาชิกพรรคประชาชนเกือบ 50,000 คน จากเป้าหมาย 100,000 คน ใน 1 เดือน ส่วนยอดบริจาคใกล้แตะ 25 ล้านบาท จากเป้าหมาย 10 ล้านบาท อาจเป็นการตอกย้ำวาทกรรมตายสิบเกิดแสน
มีฉากการเมืองอันสำคัญที่ต้องติดตามหลังจากนี้ โดยเฉพาะสัญญาณที่จะปรากฎในงานเลี้ยงวันคล้ายวันเกิดอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่จะเปิดบ้านจันทร์ส่องหล้ารับแขกคนสนิท ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงนับถอยหลังหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นนับถอนหลังสู่การชี้ขาดอนาคตพรรคก้าวไกล นับถอยหลังสู่การชี้ขาดอนาคตของนายกฯเศรษฐา รวมถึงนับถอยหลังสู่การพ้นโทษ ของนายทักษิณเอง ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส