กรณี นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง ถูกยิงเสียชีวิตภายในบ้าน นายสุนทร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี โดยผู้ติดตามนายสุนทร ให้การยอมรับว่าเป็นผู้ก่อเหตุ นี่ไม่ใช่คดีความแรกที่สมาชิกครอบครัววิลาวัลย์ต้องตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาทางคดี และถ้าไล่เรียงกัน หลายคดีที่ครอบครัวนี้ต้องเผชิญ ล้วนเป็นคดีใหญ่ทั้งสิ้น ในส่วนคดีล่าสุด แม้ตำรวจจะยังไม่ปักใจไปที่ต้นเหตุเรื่องไหน แต่คนเพ่งเล็งไปที่การเมืองท้องถิ่นมากเป็นพิเศษ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับพรรคเพื่อไทยเสร็จแล้ว เตรียมให้ สส.พิจารณา ตรงนี้เกิดคำถามมากมายว่าเป็นการปูทางพา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับประเทศไทย โดยไม่ต้องเข้าเรือนจำหรือไม่ และอาจทำให้พรรคเพื่อไทยเผชิญชะตากรรมเดิม คือ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบสุดซอยในปี 2557 หรือไม่ ยังมีกฎหมายอีกฉบับของพรรคเพื่อไทย ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงไม่น้อยคือ กฎหมายจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่ถูกยื่นโดยอดีตขุนพลนิรโทษกรรมสุดซอย “ประยุทธ์ ศิริพานิชย์” สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นี่อาจเป็นเดิมพันครั้งสำคัญของเพื่อไทย ทั้งกับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับกองทัพ และแกนนำมวลชนบางฝ่าย ที่เฝ้ารอเชื้อไฟทางการเมือง
กรณี #ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ถูกตำรวจควบคุมตัว เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะนี่คือทนายคนดังที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเสียเอง และทำให้หลายคนเชื่อมโยงกับคดีดัง อย่างคดีดิไอคอนกรุ๊ป เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเรียกตบทรัพย์ 2 คดีนี้เชื่อมโยงกันหรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
เป็นวาระสำคัญที่ครอบครัวชินวัตรต้องจับจ้อง นอกเหนือจากภาระงานของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ยังมีคำร้องให้ตรวจสอบการเข้าพักรักษาตัวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดที่เกี่ยวข้องพยายามเรียกสอบ เช่นเดียวกับองค์กรอิสระ ตอนนี้ทุกฝ่ายคาดหวังหลักฐานชิ้นสำคัญคือ เวชระเบียน ที่เก็บประวัติการรักษาผู้ป่วย แต่สุดท้ายจะออกหน้าไหน วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
ท่าทีของพรรคเพื่อไทยต่อปลายทางกฎหมายนิรโทษกรรมถูกตั้งคำถามเยอะ ส่วนหนึ่งมาจากผู้สนับสนุนในกลุ่มคนเสื้อแดงบางปีก ที่คาดหวังการผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้แบบรวมเอามาตรา 112 เข้าไปด้วย กระแสวิจารณ์จากอดีตคนกันเองมาแรง เพราะ สส.เพื่อไทยร้อยกว่าคน โหวตสวนมติพรรคเมื่อสัปดาห์ก่อน ถ้าเพื่อไทยต้องการรับข้อสังเกตของกรรมาธิการจริงตามที่กล่าวอ้าง ก็ถือว่าการสวนมติพรรคร้อยกว่าคนนี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก ? วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
กรณีรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทย เดินหน้าดำเนินการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหนึ่งในประเด็นจะแก้ไขคือ จริยธรรมนักการเมือง โดยมีพรรคประชาชน พรรคคะแนนเสียงสูงสุดจากฝ่ายค้านแสดงความเห็นด้วยนั้น ได้เกิดข้อครหาจากพรรคร่วมรัฐบาล แสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย อีกทั้งยังมีอดีตวุฒิสภา และบรรดานักร้องเรียนทางการเมือง เริ่มไปร้องเรียนแล้ว บรรยากาศจะคล้าย ๆ กับตอนเดินหน้าร่างกฎหมายนิรโทษกรรม จนเป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองปี 2557 และรัฐประหารหรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
2 โผรัฐมนตรีที่ถูกเสนอโดยกลุ่ม ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งประกาศแยกตัว กับโผตามแถลงการณ์ของพรรคพลังประชารัฐ ยังคงสะท้อนถึงความขัดแย้ง เจรจาไม่ลงตัว วัดใจพรรคเพื่อไทย แกนนำรัฐบาล จะตัดสินใจอย่างไร จะจอดรอ ให้ศึกในพรรคเคลียร์ให้จบก่อน หรือเลือกฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หรือจะชวนพรรคอื่นที่แต่งตัวรอนานแล้วเข้ามาแทน เพื่อไปต่อ วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ. 1.22 แสนล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอเพื่อใช้การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทแล้ว เท่ากับว่าจากนี้รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการนี้เต็มสูบ ท่ามกลางความกังวลของหลายฝ่าย สุดท้ายโครงการจะเป็นไปตามคาดหวังของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลหรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
ปรากฏการณ์แพร่ระบาด “ปลาหมอคางดำ” ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ หรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่กำลังรุกรานหลายแหล่งน้ำในประเทศไทย ปลาหมอคางดำ อาจไปไล่กินสัตว์น้ำท้องถิ่นได้หลายอย่าง แต่ยังพอเหลือบ่อ เหลืออุปกรณ์เครื่องมือ พอที่เจ้าของจะกลับมาฟื้นได้ ทว่าหากเป็น “นักการเมืองคางดำ” ร้ายกาจกว่าเยอะ เพราะกินไม่เหลือ ทั้งงบประมาณ สิ่งปลูกสร้าง มักเข้าไปเกาะกินแทรกแซงและเรียกรับผลประโยชน์ในโครงการก่อสร้างของรัฐ นักการเมืองคางดำคือใคร ทำไมถึงน่ากลัว วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
จับสัญญาณการเมืองผ่านดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล วานนี้ (15 ก.ค. 67) ที่บ้านปาร์คนายเลิศ ซึ่งมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลมากันพร้อมหน้า ยกเว้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรค พปชร. ไม่มา ที่น่าจับตาคือ นายเศรษฐาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแบบสงวนท่าที แตกต่างจากแกนนำพรรคเพื่อไทยที่ต่างแสดงความยินดี กรณีกระแสข่าวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมาช่วยงานการเมืองหลังพ้นโทษในเดือน ส.ค.นี้ จะสะท้อนถึงอะไร วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
นายเศรษฐา ทวีสิน ออกตัวตั้งแต่สมัยมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ ๆ ว่าจะเป็นนายกฯ ที่ทำงานหนัก ไม่มีวันหยุดพัก ถึงขั้นทำห้องนอนไว้ที่ทำเนียบรัฐบาล อีกทั้งยังขยันลงพื้นที่ ซึ่งนายกฯ ให้เหตุผลว่าไปรับฟังเสียงประชาชน และเดินทางไปต่างประเทศ ได้ถูกตั้งคำถามทำไมนายกฯ ไม่ค่อยเข้าทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางบริหารราชการแผ่นดิน กระทั่งคนการเมืองในพรรคเดียวกัน ก็วิจารณ์ไม่มีผลงานจับต้องได้ ยืนยันโดยผลโพลความนิยมรายไตรมาส คะแนนนิยมไม่สู้ดี เกิดอะไรขึ้นกับนายเศรษฐา วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
การลาออกของ “วัน อยู่บำรุง” จากตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีสาธารณสุข และเตรียมลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย เหตุเพราะไปปรากฏตัวฝั่งคู่แข่งกับ พล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ในวันเลือกตั้งนายก อบจ.ปทุมธานี ทำให้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่าง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ไม่พอใจ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการแตกแยกอย่างจริงจัง ระหว่างตระกูลตระกูล “ชินวัตร” กับ “อยู่บำรุง” สมทบกับคำให้สัมภาษณ์ของ น.ส.แพทองธาร จะไม่เข้าไปเคลียร์ใจที่บ้านบางบอน เป็นครั้งที่ 2 สุดท้ายแล้ว ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งปัจจุบันเป็น สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จะตัดสินใจอย่างไร วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
จับตาสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ ภายหลัง กกต.ประกาศรับรอง ว่าจะทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชนและประเทศชาติอย่างไร หลังมีข้อครหามากว่าหลายคน เป็นตัวแทนของกลุ่มบ้านใหญ่ทางการเมือง บางคนวุฒิการศึกษาต่ำ บางคนประกอบอาชีพไม่ตรงตามกลุ่มอาชีพ สว. เมื่อตอนสมัคร ทว่ายังไม่ควรด้อยค่า สว.ชุดใหม่ เพราะสุดท้ายอาจได้คนเก่ง ๆ เหมือนตอนเลือก สว. ปี 2543 ก็เป็นได้ วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
การลงพื้นที่ของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นอกจากจะถูกจับจ้องจากขั้วตรงข้ามทางการเมือง ล่าสุดยังถูกจับจ้องจากคนฝั่งเดียวกัน โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย หลังจาก วรชัย เหมะ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ลงพื้นที่บ่อย แต่ทำไมไร้ผลงานที่จับต้องได้ จนเกิดการตอบโต้กันภายในพรรคเพื่อไทย ประเด็นดังกล่าว ประชาชนบางกลุ่มบางฝ่ายก็เคยตั้งคำถามกันมาก่อนแล้ว แต่พอคนฝั่งเดียวกันเป็นผู้พูด ดูเหมือนแรงสะเทือนจะมากกว่า วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
ยังไม่ชัดเจนว่า นายชาญ พวงเพ็ชร์ ว่าที่ นายก อบจ.ปทุมธานี ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ หลังรับตำแหน่งหรือไม่ ภายหลังถูกกล่าวหา คดีทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ ตั้งแต่ปี 2555 โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 รับฟ้องคดี เรื่องนี้มีความเห็นหลากหลาย อย่าง กกต.จังหวัดปทุมธานี ยืนยันว่า นายชาญ ไม่ได้ขาดคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เลขาฯ กฤษฎีกา ยืนยันว่า เมื่อรับตำแหน่งแล้ว ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล เห็นว่าเรื่องนี้ต้องรอให้ศาล เป็นผู้ตัดสิน
คดีทางการเมืองคดีใหญ่ ๆ กำลังก้าวถึงจุดสำคัญ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา ผลสรุปของ 4 คดีใหญ่ สุดท้ายแล้วใครได้ประโยชน์ จะใช้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่ ที่ได้ประกันตัววงเงินเพียง 500,000 บาท ในคดีอาญา ม.112 หรือจะเป็นพรรคก้าวไกล หรือนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ที่ยังมีเวลาชี้แจงต่อไปอีก แต่ทั้งหมดนี้ประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับใคร ? มาฟังวิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
วันนี้ (18 มิ.ย. 67) ถูกจับตาว่าเป็นวันอังคารเดือด เพราะมี 4 เรื่องใหญ่ที่อาจทำให้ทิศทางการเมืองเปลี่ยนไป ทั้งเรื่อง นายทักษิณ ชินวัตร ถูกอัยการสูงสุดสั่งฟ้องคดี ม.112 จะได้รับการประกันตัวหรือไม่ รวมถึงที่ศาลรัฐธรรมนูญอีก 3 คดี ได้แก่ การชี้ชะตา พ.ร.ป.เลือก สว. ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?, การนัดพิจารณาคดียุบพรรคก้าวไกล และนัดพิจารณาคดีคุณสมบัติ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กรณีแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี กระทั่งในสภาผู้แทนราษฎรเอง ก็มีการประชุมวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ พิจารณา วาระ 1 แม้คงไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะชี้ชัดกันวันนี้ แต่ทุกเรื่องล้วนเกี่ยวข้องกับอนาคตทางการเมือง ซึ่งจะไปในทิศทางใด มาฟังวิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เตรียมร้องขอความเป็นธรรมต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ในคดี ม.112 โดยอ้างว่า พนักงานสอบสวนถูกข่มขู่จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้น เมื่อถอดความจากระเบียบร้องขอความเป็นธรรมของสำนักงานอัยการ สามารถไม่พิจารณาคำร้องก็ได้ หากเป็นการประวิงคดี คำถามคือ ใครเป็นคนตัดสินว่าการกระทำนั้น มีเจตนาประวิงเวลาหรือยื้อคดีออกไป และที่สำคัญคือตัดสินจากอะไร ทว่ามีความคิดเห็นจากฝั่งการเมืองและฝั่งอัยการ ฝั่งหนึ่งบอกว่าร้องได้ เพราะเป็นสิทธิ อีกฝั่งบอกว่า ร้องได้ครั้งเดียว หากเป็นแบบนั้น ก็น่าสนใจว่าเจตนาของการยื่น คืออะไร ? ติดตามการวิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา
แม้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.การคลัง พยายามยืนยันว่าประเทศไทย ณ ขณะนี้ มีนายกคนเดียวชื่อ คือ ตนเอง พูดหลายครั้งหลายคราตอบคำถามสื่อมวลชน ตั้งแต่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เริ่มขยับบทบาททางการเมืองมากขึ้น เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กระทั่งล่าสุดการพักโทษ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งทำให้คำถามนี้ดังถี่ขึ้นอีก