วันนี้เป็นวันแรกของวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนา สภาพการจราจรมุ่งหน้าสู่เหนือ อีสานหลายจุด เริ่มติดสะสมแล้ว ขณะที่ปั๊มน้ำมันตามเส้นทางการเดินทาง มีประชาชนใช้บริการจำนวนมาก รวมถึงสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ที่เมื่อวานเกิดเหตุขัดข้องของระบบชาร์จ
ประเทศไทยติดอันดับ 1 ของโลก ที่มีอัตราผู้ใช้จักรยานยนต์ เสียชีวิตต่อปีมากที่สุด โดยทุก ๆ 34 นาที ไทยจะมีผู้ใช้รถจักรยานยนต์ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย 1 คน โดยเฉพาะช่วงปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ ที่การเดินทางใช้ความเร็ว - คนขับขี่มักจะเมา ก็ยิ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่ม ในปี 67 มีหลายปัจจัยทั้งการเพิ่มวันฉลอง ยิ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอุบัติเหตุ และการสูญเสียเพิ่มนอกและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ครองสถิติการเสียชีวิตต่อปีในประเทศ สูงมากที่สุด เฉลี่ย 900 คนต่อปี ติดตามชมรายการสถานีประชาชนย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/101032
กรมทางหลวงชนบท เตรียมความพร้อมรองรับเส้นจุดตัด - จุดทางเลี่ยง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน พร้อมแนะนำจุดเช็คอินท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 ติดตามชมรายการสถานีประชาชนย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/101032
สงกรานต์ 21 วัน เป็นอีกหนึ่งแผนผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ที่จะดันสงกรานต์ให้เป็นเทศกาลระดับโลก คาดการณ์ว่าจะช่วยเพิ่มนักท่องเที่ยว และส่งผลให้มีเงินสะพัดในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ในมุมมองนักวิชาการ สะท้อนว่า สงกรานต์ 21 วัน ยังไม่เป็นรูปธรรม ตัวเลขนักท่องเที่ยว และเม็ดเงิน ไม่น่าจะเคลมว่าเป็นผลงานรัฐบาลได้ เพราะมีปัจจัยจากเรื่องอื่น ๆ ร่วมด้วย
จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่าในแต่ละปีมีอัตราการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน และมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพยายามฆ่าตัวตาย 6 คน/ชั่วโมง รวมทั้งปีอาจมีมากกว่า 53,000 คน และเสียชีวิตราว 4,000 คน ถือว่าเป็นอัตราที่สูง และน่าเป็นห่วง แล้วทำไมช่วงสงกรานต์จึงเป็นช่วงที่มีสถิติการฆ่าตัวตายสูงที่สุด อะไรเป็นสาเหตุ และจะสังเกตตนเองและคนใกล้ชิดอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสีย ร่วมพูดคุย กับ นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai